ล่าเถียว
ล่าเถียว

ล่าเถียว

ล่าเถียว (จีนตัวย่อ: 辣条; จีนตัวเต็ม: 辣條; แปลตรงตัว: "เส้นเผ็ด") เป็นขนมยอดนิยมของจีน ทำจากแป้งสาลีและพริก โดยผสมแป้งเข้ากับพริก เกลือ น้ำตาล น้ำ สีผสมอาหาร และอื่น ๆ แล้วอัดรีดด้วยอุณหภูมิสูง ก่อนผสมพริกและเครื่องปรุงอย่างอื่น ซึ่งรวมถึงสารกันเสีย[1] กระบวนการผลิตขนมนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงบางประการ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ สารเติมแต่งอาหารที่ใช้ เช่น ชาดลิ้นจี่ และอนามัยในการปรุง[1]ล่าเถียวเดิมเรียก "เมี่ยนจิน" (麵筋) กำเนิดขึ้นในอำเภอผิงเจียง มณฑลหูหนาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประวัติการผลิตซอสแห้ง ซอสเผ็ด และเต้าเจี้ยวเผ็ด อันเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของผิงเจียง จุดกำเนิดของล่าเถียวอยู่ใน ค.ศ. 1998 ซึ่งเป็นช่วงที่มีอุทกภัยในหูหนาน ทำให้ขาดแคลนผลิตผลทางเกษตรกรรม และทำให้เต้าเจี้ยว วัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมผลิตซอส มีการผลิตลดลงอย่างยิ่ง ส่งผลโดยตรงถึงการผลิตซอสแห้ง ชาวนาบางตระกูลจึงนำแป้งสาลีมาใช้แทนแป้งเต้าหู้ โดยนำแป้งนั้นมาบดอัด แล้วผสมพริก พริกไทย ขมิ้น น้ำตาล เกลือ น้ำมันพืช และอื่น ๆ จึงเกิดเป็นล่าเถียว ต่อมาใน ค.ศ. 1990 ล่าเถียวได้รับการเปิดตัวสู่สาธารณชนและกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วทั่วทั้งจีน แรกเริ่มวางขายในร้านเล็ก ๆ ก่อนขยายไปยังห้างสรรพสินค้า[1]ล่าเถียวเป็นที่นิยมถึงกับก่อให้เกิดคำติดปากหลายคำในหมู่ชาวจีน เช่น "กินล่าเถียวอันเดียวก็ทำให้อารมณ์เย็นลงได้"[1] อย่างไรก็ดี กระบวนการผลิตล่าเถียวนั้นเป็นปัญหามาตลอด ใน ค.ศ. 2019 ซีซีทีวีของจีนเปิดเผยผลการตรวจสอบว่า ล่าเถียวที่ผลิตในไคเฟิง หูหนาน ปนเปื้อนฝุ่นและจาระบีจากเครื่องจักร สารเติมแต่งที่ใช้ในล่าเถียวก็เห็นวางกองอยู่ตามพื้น และบางแห่งบรรจุล่าเถียวโดยใช้มือเปล่า และไม่สวมหน้ากาก เป็นต้น[2]

ล่าเถียว

ภูมิภาค อำเภอผิงเจียง มณฑลหูหนาน
ส่วนผสมที่มักใช้ ผงชูรส สารเติมแต่งอาหาร น้ำมันพืช
ประเภท ขนม
คุณค่าทางโภชนาการ(ต่อ100 กรัม serving)โปรตีนไขมันคาร์โบไฮเดรต
โปรตีน9.9 กรัม
ไขมัน14.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต48 กรัม
ไขมัน 14.4 กรัม
ส่วนผสมหลัก แป้งสาลี พริก เกลือ เครื่องเทศ
คาร์โบไฮเดรต 48 กรัม
โปรตีน 9.9 กรัม
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
พลังงาน(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม) 375 กิโลแคลอรี (1570 กิโลจูล)