วรรณกรรมไทย

วรรณกรรมไทย คือ งานเขียนที่เกิดจาก ภาษา ความคิด จินตนาการ และสภาพสังคม สื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองที่ประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาไทย โดยมีเอกลักษณ์ของการใช้ภาษาแบบไทย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการประดิษฐ์สร้างสรรค์วรรณคดี และเป็นสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้ลักษณะวรรณคดีของชาติในแต่ละยุคแตกต่างกัน วรรณคดีไทยที่ปรากฏขึ้นในสมัยสุโขทัยเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 มีลักษณะที่สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นตอนที่ชาวไทย หรือชาวสยาม ได้เริ่มพัฒนาภาษาของตนขึ้นอย่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างไปจากภาษาของชนที่พูดภาษาขร้า-ไทเผ่าอื่น โดยเริ่มมีหลักฐานปรากฏชัดราวสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และเริ่มการปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง คนไทยกำลังแสวงหาลักษณะเฉพาะของชาติ วรรณคดีสุโขทัยก็ได้สะท้อนความจริงนี้ และได้บันทึกถึงสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นต้นเค้าของลักษณะไทย เช่น การบันทึกในศิลาจารึกเรื่องการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย โดยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่สาม เมื่อ พ.ศ. 1826 การประกาศใช้กฎหมายมรดก กฎหมายการค้าระเบียบและสิทธิการฟ้องร้องคดีศาล การนำพุทธศาสนามาอบรมปลูกฝัง เพื่อให้เป็นศาสนาประจำชาติ การประพฤติธรรมอย่างเคร่งครัดอันเป็นต้นเค้าของประเพณีต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ดังนี้เป็นต้นเมื่อชาติไทยมีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างดีแล้ว ลักษณะของวรรณคดีไทยก็เปลี่ยนจากรูปแบบการบันทึกและจากวรรณคดีศาสนา เป็นวรรณคดีสะเทือนอารมณ์ พร้อมด้วยศิลปะการแต่งที่ประณีตลึกซึ้งขึ้น และเมื่อคนไทยติดต่อกับชนชาติยุโรป ก็สามารถรับความคิดทางวรรณคดีของยุโรปได้โดยคงลักษณะความเป็นไทยไว้เป็นอย่างดีความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมและวรรณคดี[1]วรรณกรรม คือ งานเขียน งานหนังสือ บทประพันธ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ เหล่านี้ล้วนเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้นวรรณคดี คือ วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่า มีกลวิธีการแต่งที่ดี มีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ เช่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี เป็นต้นการแบ่งยุควรรณกรรมวรรณคดีไทยมีประวัติยาวนานนับได้ตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น ซึ่งมีอยู่ในรูปแบบแห่งวรรณกรรมมุขปาฐะ (คือวรรณกรรมที่เล่าสืบต่อกันมา) และวรรณกรรมลายลักษณ์ (คือวรรณกรรมที่เขียนไว้เป็นตัวอักษร) ในที่นี้สมควรกล่าวถึงเฉพาะวรรณกรรมลายลักษณ์ ที่นักวรรณคดีไทยยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นของไทยแท้ ๆ โดยแบ่งได้เป็น 5 สมัย ดังนี้