วัฒนธรรมหย่างเฉา
วัฒนธรรมหย่างเฉา

วัฒนธรรมหย่างเฉา

วัฒนธรรมหย่างเฉา (อักษรจีน: 仰韶文化, อังกฤษ: Yangshao Culture) เป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ที่สำคัญที่กระจายโดยทั่วไปตลอดริมฝั่งตอนกลางของ แม่น้ำหวง ในประเทศจีน มีอายุในช่วงประมาณ 5,000 ถึง 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ปัจจุบันมีการค้นพบแหล่งโบราณคดีของวัฒนธรรมหย่างเฉาหลายพันแห่งในประเทศจีน ส่วนใหญ่ในมณฑลเหอหนาน ส่านซี และ ชานซี วัฒนธรรมนี้ได้รับการตั้งชื่อตามแหล่งขุดสำรวจที่ค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2464 ในหมู่บ้านหย่างเฉาในเขตซานเหมินเซียของมณฑลเหอหนาน โดย โยฮัน กุนนาร์ แอนเดอร์สัน นักธรณีวิทยาชาวสวีเดน[1] การค้นพบนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดโบราณคดีจีนสมัยใหม่ งานวิจัยล่าสุดระบุว่า ภาษาชิโน - ทิเบต มีต้นกำเนิดร่วมกันกับ วัฒนธรรมสือชาน (Cishan culture), วัฒนธรรมหย่างเฉา และ หรือ วัฒนธรรมหม่าเจียเหยา (Majiayao culture)

วัฒนธรรมหย่างเฉา

ภูมิภาค ที่ราบสูงดินเหลือง
ก่อนหน้า วัฒนธรรม Peiligang, วัฒนธรรม Dadiwan, วัฒนธรรม Cishan
สมัย ยุคหินใหม่
ชื่อภาษาท้องถิ่น 仰韶文化
ช่วงเวลา 5,000 ถึง 3,000 ปีก่อนคริสตกาล
ถัดไป วัฒนธรรมหลงชาน
แหล่งโบราณคดีสำคัญ ปั้นพัว (Banpo), เจียงไจ้ (Jiangzhai)