วิกฤตการณ์การเมืองไทย_พ.ศ._2548–2553

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553 เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองซึ่งต่อต้าน และสนับสนุน ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยวิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อ[1][2][3] เสถียรภาพทางการเมืองในไทย[4] ทั้งยังสะท้อนภาพความไม่เสมอภาคและความแตกแยกระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท[5] การละเมิดพระราชอำนาจ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[6] และผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้บั่นทอนเสถียรภาพทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548ในปี 2548 เริ่มมีการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เนื่องจากข้อกล่าวหาการบริหารประเทศของรัฐบาลที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และได้ขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้น โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่มีสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้นำ แต่หลังจากนั้นก็มีกลุ่มคนที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีออกมาเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดความเห็นต่างทางการเมือง มีผู้บาดเจ็บสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย 5 ราย และต่อมาเกิดรัฐประหาร ส่งผลให้ฝ่ายทหารในนามคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) (ภายหลังเปลี่ยนเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เข้าควบคุมอำนาจการปกครองและมีบทบาททางการเมือง ต่อมาคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี 2549-2550 ซึ่งในช่วงดังกล่าว มีกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารหลายกลุ่ม กลุ่มที่มีชื่อเสียง คือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยกล่าวหาว่า พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร และต้องการขับไล่ คมช. และรัฐบาลต่อมา พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางการเมืองกับทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 และจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลับมาชุมนุมอีกครั้ง ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้บุกยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิเพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง ก่อนยุติการชุมนุมเมื่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชนผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม 2551 ปรากฏว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือก ทำให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. เดิมคือ นปก.) กลับมาชุมนุมอีกครั้งในปี 2552 และ 2553 เพื่อกดดันให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ หลังจากนั้นยังไม่มีการชุมนุมจากกลุ่มการเมืองต่าง ๆ พักหนึ่ง จนในปี 2556 ได้เกิดวิกฤตการณ์การเมืองรอบใหม่

ใกล้เคียง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการณ์การเมืองไทย_พ.ศ._2548–2553 http://www.theage.com.au/articles/2009/04/14/12394... http://www.theage.com.au/news/business/thai-pm-rin... http://www.abc.net.au/news/stories/2010/05/17/2900... http://english.peopledaily.com.cn/200609/21/eng200... http://www.2bangkok.com/highfeb112006news.shtml http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/whiteco... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/495111 http://bangkokpost.com/breakingnews/170009/stringe... http://bangkokpost.com/breakingnews/170025/udd-den...