การดำเนินการ ของ วิกิพีเดีย

มูลนิธิวิกิมีเดียและสาขาวิกิมีเดีย

วิกิพีเดียดำเนินการและได้รับสนับสนุนเงินทุนโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งยังได้ดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียอีกจำนวนหนึ่ง อาทิ วิกิพจนานุกรมและวิกิตำรา สาขาวิกิมีเดีย สมาคมผู้ใช้และผู้สนับสนุนโครงการวิกิมีเดียท้องถิ่น ยังได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการอีกด้วย

ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์

สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ของวิกิพีเดีย

วิกิพีเดียทำงานด้วยแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์พิเศษที่มีชื่อว่า มีเดียวิกิ ที่เป็นลักษณะโอเพนซอร์ซและซอฟต์แวร์เสรีแบบพิเศษ ทำงานผ่านการบริหารเว็บไซต์ที่เรียกว่าวิกิ ตัวซอฟต์แวร์เขียนขึ้นด้วยภาษาพีเอชพีที่ทำงานร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล[128] ตัวซอฟต์แวร์รวมคุณลักษณะด้านการเขียนโปรแกรมหลายอย่างเข้าไว้ด้วยกัน อย่างเช่น ภาษาแมโคร ตัวแปร และการรีไดเร็กยูอาร์แอล มีเดียวิกิอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและใช้ในโครงการวิกิมีเดียทั้งหมด เช่นเดียวกับโครงการวิกิอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ในช่วงแรก วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อยูสม็อดวิกิที่เขียนขึ้นในภาษาเพิร์ล โดยคลิฟฟอร์ด อดัมส์ (ระยะที่ 1) ซึ่งเดิมต้องใช้คาเมลเคสในการสร้างไฮเปอร์ลิงก์บทความ ส่วนลิงก์บทความที่เป็นวงเล็บคู่เข้ามาในภายหลัง จนกระทั่งเดือนมกราคม 2545 (ระยะที่ 2) วิกิพีเดียเปลี่ยนมาใช้เอนจินพีเอชพีวิกิร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ซึ่งซอฟต์แวร์นี้สร้างขึ้นเฉพาะสำหรับวิกิพีเดียโดยแมกนัส มันสเก ซอฟต์แวร์ระยะที่ 2 นี้ถูกดัดแปรบ่อยครั้งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ต่อมาในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน (ระยะที่ 3) วิกิพีเดียได้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ซึ่งเดิมเขียนขึ้นโดยลี แดเนียล คร็อกเกอร์ ส่วนขยายวิกิจำนวนมากถูกติดตั้ง[129] เพื่อเพิ่มระดับขีดความสามารถของซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 ส่วนขยายลูซีนถูกเพิ่มเข้าไปในการค้นหาเดิมของมีเดียวิกิ[130][131] และวิกิพีเดียเปลี่ยนจากมายเอสคิวแอลเป็นลูซีนสำหรับการค้นหา ปัจจุบันวิกิพีเดียใช้ลูซีนเสิร์ช 2.1[132] ซึ่งเขียนขึ้นด้วยภาษาจาวา และดำเนินการบนลูซีนไลบรารี 2.3[133]

วิกิพีเดียทำงานบนคลัสเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอูบุนตู) [134][135] และเครื่องโอเพนโซลาริสจำนวนหนึ่งสำหรับระบบแฟ้มเซตตะไบต์ ในช่วงระยะแรกวิกิพีเดียเก็บข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์เดี่ยวจนกระทั่งได้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมมัลติไทเออร์ และจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 300 แห่งในฟลอริดา และ 44 แห่งในอัมสเตอร์ดัม[136] โครงแบบนี้รวมไปถึงเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลหลักหนึ่งเครื่องที่ทำงานโดยใช้มายเอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลรองอีกหลายเครื่อง เว็บเซิร์ฟเวอร์ 21 เครื่องซึ่งทำงานบนอะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์สควิดแคชอีก 7 เครื่อง

วิกิพีเดียมีการเรียกใช้งานประมาณ 25,000 ถึง 60,000 หน้าต่อวินาที ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของแต่ละวัน[137] การเรียกใช้หน้านั้นจะถูกส่งไปยังชั้นฟรอนต์เอนด์ของเซิร์ฟเวอร์สควิดแคช[138] สถิติเพิ่มเติมนั้นจะสามารถเข้าถึงได้โดยขึ้นอยู่กับการติดตามเข้าถึงวิกิพีเดีย 3 เดือนที่เปิดเผยต่อสาธารณะ[139] การเรียกใช้งานที่ไม่สามารถดึงข้อมูลมาจากสควิดแคชได้ จะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์โหลดสมดุลซึ่งทำงานบนซอฟต์แวร์ลีนุกซ์เวอชวลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะส่งการเรียกใช้ต่อไปยังหนึ่งในเว็บเซิร์ฟเวอร์อะแพชีสำหรับหน้าที่ถูกแสดงจากฐานข้อมูล เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งหน้าตามที่ถูกเรียกใช้นั้น แสดงหน้าสำหรับทุกรุ่นภาษาของวิกิพีเดีย และเพื่อเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้น หน้าต่าง ๆ จะถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำแคชแบบกระจายจนกว่าจะใช้งานไม่ได้ ซึ่งทำให้หน้าที่กำลังแสดงนั้นถูกข้ามไปทั้งหมด เป็นการเข้าถึงหน้าที่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด คลัสเตอร์ขนาดใหญ่กว่าสองแห่งในเนเธอร์แลนด์และเกาหลี จัดการกับการเข้าชมวิกิพีเดียส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

รุ่นโทรศัพท์เคลื่อนที่

เดิมสื่อกลางของวิกิพีเดียที่จะให้ผู้ใช้อ่านและแก้ไขเนื้อหานั้นจะต้องใช้เว็บเบราว์เซอร์มาตรฐานใด ๆ ผ่านการติดต่ออินเทอร์เน็ตตายตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวิกิพีเดียสามารถเข้าถึงได้จากโมบายล์เว็บแล้ว

การเข้าถึงวิกิพีเดียจากมือถือสามารถกระทำได้นับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2547 ผ่านไวร์เลสแอปพลิเคชันโพรโทคอล (WAP) ผ่านบริการวาพีเดีย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 วิกิพีเดียภาษาอังกฤษได้เปิดตัว en.mobile.wikipedia.org เว็บไซต์อย่างเป็นทางการสำหรับอุปกรณ์ไร้สาย เมื่อปี พ.ศ. 2552 บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ[140] ที่ยูอาร์แอล en.m.wikipedia.org ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ทันสมัยขึ้น อย่างเช่น ไอโฟน อุปกรณ์แอนดรอยด์ หรือปาล์มพรี นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นอีกมากที่จะเข้าถึงวิกิพีเดียได้โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์และแอปพลิเคชันหลายอย่างได้ปรับปรุงการแสดงผลเนื้อหาวิกิพีเดียสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ขณะที่บางอย่างยังได้เพิ่มคุณลักษณะอื่นเข้าไปด้วย อย่างเช่น การใช้เมทาเดตาวิกิพีเดีย อย่างเช่น ภูมิสารสนเทศ[141][142]

ใกล้เคียง

วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา วิกิพีเดียภาษาอาหรับอียิปต์

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกิพีเดีย http://www.caslon.com.au/wikiprofile1.htm http://www.pcworld.idg.com.au/index.php/id;1866322... http://www.livenews.com.au/Articles/2008/09/09/Wik... http://m.smh.com.au/technology/technology-news/tec... http://www.parl.gc.ca/LEGISINFO/index.asp?Session=... http://www.aaronsw.com/weblog/whowriteswikipedia http://www.alexa.com/data/details/traffic_details/... http://www.alexa.com/site/ds/top_sites?ts_mode=glo... http://www.amazon.com/gp/reader/1594201536/ref=sib... http://androgeoid.com/2011/04/local-points-of-inte...