วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

บทความวิกิพีเดียควรยึดแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือเป็นหลัก ซึ่งทำให้แน่ใจว่ามุมมองส่วนใหญ่ทั้งหมดและส่วนน้อยที่สำคัญที่ปรากฏในแหล่งข้อมูลเหล่านั้นมีการกล่าวถึงคำว่า "แหล่งข้อมูล" ที่ใช้ในวิกิพีเดียมีสามความหมายที่เกี่ยวข้องกัน:สามข้อนี้สามารถกระทบต่อความน่าเชื่อถือได้ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออาจเป็นสิ่งตีพิมพ์ซึ่งมีกระบวนการพิมพ์เผยแพร่ที่น่าเชื่อถือ หรือผู้ประพันธ์ถูกมองว่าเชื่อถือได้ในเรื่องนั้น หรือทั้งคู่ ควรแสดงคุณสมบัติที่กำหนดเหล่านี้แก่ผู้อื่นความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลขึ้นอยู่กับบริบท ต้องมีการชั่งน้ำหนักแหล่งข้อมูลอย่างระมัดระวัง เพื่อตัดสินว่าแหล่งข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือสำหรับถ้อยแถลงที่ให้มา และเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในบริบทนั้นหรือไม่ โดยทั่วไป ยิ่งมีผู้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง วิเคราะห์ประเด็นข้อกฎหมาย และวิเคราะห์งานเขียนมากยิ่งขึ้นเท่าใด สิ่งพิมพ์เผยแพร่นั้นก็ยิ่งน่าเชื่อถือมากเท่านั้น แหล่งข้อมูลควรสนับสนุนสารสนเทศโดยตรงตามที่นำเสนอในบทความ และควรเหมาะสมกับข้ออ้าง หากหัวข้อใดไม่พบแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือกล่าวถึง วิกิพีเดียก็ไม่ควรมีบทความเกี่ยวกับหัวข้อนั้นแนวปฏิบัติในหน้านี้อภิปรายความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลหลากชนิด นโยบายว่าด้วยแหล่งข้อมูล คือ วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ ซึ่งต้องการการอ้างอิงในบรรทัดสำหรับเนื้อหาใด ๆ ที่ถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มจะถูกคัดค้าน และสำหรับข้อกล่าวอ้าง (quotation) ทั้งหมด นโยบายนี้บังคับใช้อย่างเข้มงวดกับทุกเนื้อหาในเนมสเปซหลัก บทความ รายชื่อ และส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ โดยไม่มีข้อยกเว้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา