วิกิพีเดีย:ใครเขียนวิกิพีเดีย

อาสาสมัครซึ่งร่วมเขียนวิกิพีเดียทุกคน ไม่มีความจำเป็นใด ๆ จะต้องรับการฝึกอย่างเป็นทางการก่อนการสร้างบทความใหม่หรือปรับปรุงบทความซึ่งมีอยู่เดิม วิกิพีเดียมีผู้ร่วมสร้างและแก้ไขบทความจากทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งมีความแตกต่างทั้งด้านวัยวุฒิและภูมิหลังอย่างกว้างขวาง บุคคลใดก็ตามซึ่งมีส่วนร่วมแก้ไขสารานุกรมแห่งนี้จะถูกเรียกว่า "ชาววิกิพีเดีย"นโยบายของวิกิพีเดีย คือ การเพิ่มเติมสารานุกรมแต่เฉพาะข้อเท็จจริงซึ่งสามารถยืนยันได้ และต้องไม่ใช่งานค้นคว้าต้นฉบับ รูปแบบของวิกิพีเดียกระตุ้นให้ผู้ร่วมแก้ไขจะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ซึ่งในบางครั้ง ชาววิกิพีเดียบางคนไม่ปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว อาจเป็นเพราะพวกเขาลืม หรืออาจไม่ทราบนโยบายดังกล่าว แต่การไม่เพิ่มแหล่งอ้างอิงลงในบทความ จะทำให้ผู้อ่านบทความไม่อาจพิสูจน์เนื้อหาซึ่งยังคงเป็นที่สงสัยได้ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้น ก็มักจะปรากฏแท็ก "{{อ้างอิง}}" ต่อท้ายข้อความที่เข้าข่ายดังกล่าว จนกว่าจะมีการเพิ่มเติมแหล่งอ้างอิงลงไป เมื่อจำนวนผู้ที่มีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลในหัวเรื่องเดียวกันมีจำนวนเพิ่มขึ้น กรณีพิพาทก็จะเกิดขึ้นตามมา คุณลักษณะหนึ่งอันเป็นประโยชน์ของวิกิพีเดีย คือการแท็กบทความทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อพิพาทเกี่ยวกับความเป็นกลาง ซึ่งการแท็กบทความในหัวข้อที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกัน นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งหัวข้อซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือหัวข้ออื่นซึ่งมีความเห็นผิดแผกไปเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ในการที่จะยุติข้อพิพาทดังกล่าว ผู้ร่วมแก้ไขซึ่งมีความสนใจปัญหาจะร่วมแบ่งปันมุมมองของแต่ละคนในหน้าอภิปรายของบทความนั้น พวกเขาจะพยายามที่จะบรรลุความเป็นเอกฉันท์ เพื่อที่มุมมองอันสมเหตุสมผลของแต่ละคนจะได้รับการนำเสนออย่างยุติธรรม นี่จะเป็นการทำให้วิกิพีเดียไม่เป็นเพียงแต่เป็นสถานที่สำหรับรวบรวมข้อมูลเท่านั้น แต่จะเป็นสถานที่สำหรับการร่วมมือทำงานระหว่างบุคคลทั้งหลายอีกด้วยผู้ใช้วิกิพีเดียจำนวนมากพิจารณาหน้าประวัติของบทความเพื่อประเมินตัวเลข และภาพรวมของผู้ร่วมแก้ไขบทความ คุณอาจจะพิจารณาหน้าอภิปรายของบทความใดก็ตามได้ เพื่อสังเกตการตอบรับของผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขคนอื่นเกี่ยวกับหัวข้อนั้นบทความจำนวนหนึ่งซึ่งได้รับการแก้ไขโดยผู้ใช้หลายคนได้ถูกแสดงในรายชื่อของบทความคัดสรร เหตที่บทความเหล่านี้ได้รับสถานะ "คัดสรร" เนื่องจากพวกมันได้รับการพิจารณาว่ามีคุณภาพสูง (อย่างไรก็ตาม คุณภาพของมันอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา ผู้ใช้สามารถเสนอถอดถอนบทความดังกล่าวได้ หากเห็นว่ามีคุณภาพด้อยเกินไป)หนทางที่ดีที่สุดในการตัดสินใจว่าเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งมีความถูกต้องหรือไม่ คือการหาแหล่งข้อมูลซึ่งเป็นกลางและสามารถเชื่อถือได้เพื่อการยืนยันข้อความดังกล่าว อย่างเช่น หนังสือ บทความนิตยสาร ข่าวทางโทรทัศน์ หรือเว็บไซต์

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาไซลีเชีย วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา