การศึกษา ของ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

การเรียนการสอนวิชาแพทย์

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ชั้นเตรียมแพทย์ (ปี 1) ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ตามข้อตกลงกับกระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518) ให้นิสิตเตรียมแพทย์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นระยะเวลา 1 ปี การศึกษาจะอยู่ในความรับผิดชอบตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ชั้นปรีคลินิก (ปี 2-3) มีการจัดการเรียนการสอน ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (เดิมการเรียนการสอนใช้สถานที่สถาบันพยาธิวิทยา กรมแพทย์ทหารบก ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) เป็นเวลา 2ปีชั้นคลินิก (ปี 4-6) ใช้สถานที่ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นเวลา 3 ปี


เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้ปริญญา แพทยศาสตรบัณฑิต(พ.บ.)ของ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำหรับนักเรียนแพทย์ทหารที่ไม่ประสงค์จะศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต นักเรียนแพทย์ทหารมีสิทธิ์ที่จะได้รับปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งจะต้องมีการวัดและประเมินผลให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด โดยจะต้องศึกษาตามหลักสูตรในระดับชั้นเตรียมแพทย์และปรีคลินิก (ปี 1 – ปี 3) และจะต้องลงทะเบียน เรียนรายวิชา SCID490 Senior Project 6 (0-18-6) หน่วยกิต ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รายวิชาอื่นๆ จนมีจำนวนรายวิชาและหน่วยกิตรวมครบตามเกณฑ์ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต วิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต[17]

การฝึกวิชาทหารและเวชศาสตร์ทหาร

มีการจัด "วิชาทหาร"และ "เวชศาสตร์ทหาร" ไว้ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ดังนี้[18]

1.การฝึกพื้นฐานทางการทหาร เป็นการฝึกวินัยทหารทั่วไป บุคคลท่ามือเปล่า บุคคลท่าอาวุธ วิชาอาวุธศึกษา วิชาแผนที่และเข็มทิศ โดยฝึกวินัยทหารทั่วไปและบุคคลท่ามือเปล่าที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ส่วนบุคคลท่าอาวุธ วิชาอาวุธศึกษา วิชาแผนที่และเข็มทิศ จะทำการฝึกที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.)2.ทักษะทางการแพทย์ในสนามรบ เป็นการสอนการจัดกำลังพลของหมวดเสนารักษ์ การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บในสนามรบ ทบทวนการฝึกพื้นฐาน ฝึกการซุ่มโจมตีและเล็ดลอดหลบหนี โดยเรียนภาคทฤษฎีที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และฝึกภาคสนามที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า3.ปฏิบัติการเพชราวุธ เป็นการสอนในรายวิชา "เวชปฏิบัติการยุทธ" เป็นการฝึกการจัดการบริการสายแพทย์ในระดับหน่วยและระดับกองพล ภายใต้สถานการณ์จำลองการรบต่างๆทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นเวลาติดต่อกัน72ชั่วโมง เพื่อให้นักเรียนแพทย์ทหารได้ฝึกฝนและสัมผัสกับประสบการณ์การจัดหน่วย การดูแลผู้ป่วย และการส่งกลับผู้บาดเจ็บในสนามรบ ทั้งการใช้เปลสนาม รถพยาบาล รถศัลยกรรมเคลื่อนที่ และการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์*** หลักสูตรเสริมพิเศษหลักสูตรส่งทางอากาศ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ทหารพลร่ม เป็นวิชาเลือกจะเรียนร่วมกับนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ โรงเรียนสงครามพิเศษ ค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี การศึกษาฝึกฝนให้ นพท.และ นนร. มีความรู้และทักษะในการกระโดดร่มออกจากอากาศยาน เช่น ซี-47 ชีนุก CH-47 Chinook , เครื่องบิน ซี130

ใกล้เคียง

วิทยา วิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก วิทยาการหุ่นยนต์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vboard.ph... http://www.op.mahidol.ac.th/oraa/files/joined_inst... http://www9.si.mahidol.ac.th/ http://www.pcm.ac.th http://www.pcm.ac.th/ http://www.pcm.ac.th/control.php?&topgroupname=1&g... http://www.pcm.ac.th/control.php?&topgroupname=10&... http://www.pcm.ac.th/druweb/?q=node/100 http://www.pcm.ac.th/druweb/?q=node/123 http://www.pcm.ac.th/druweb/?q=node/14