ศาลอาญาปฏิวัติ
ศาลอาญาปฏิวัติ

ศาลอาญาปฏิวัติ

ศาลอาญาปฏิวัติ (ฝรั่งเศส: Tribunal révolutionnaire) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยสภากงว็องซียงแห่งชาติในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อใช้ไต่สวนนักโทษการเมือง และกลายเป็นหนึ่งในองค์กรทรงอำนาจที่สุดในสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว คดีที่ผ่านศาลนี้จะไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาศาลอาญาปฏิวัติเฉพาะกาลถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1792 หลังเกิดเหตุการณ์บุกพระราชวังตุยเลอรี เพื่อเป็นหลักประกันให้กับประเทศว่าบ้านเมืองยังมีกระบวนการทางกฎหมายเพื่อรับมือกับอาชญากรรมทางการเมืองและกบฎอยู่ และยังเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นใช้ระบบศาลเตี้ยตามอำเภอใจ ศาลอาญาปฏิวัติมีตุลาการห้าคน, อัยการหนึ่งคน, และรองอัยการสองคน ทั้งหมดถูกเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยสภา นอกจากนี้ ศาลยังมีคณะลูกขุนจำนวนสิบสองคน ถือเป็นพัฒนาการในระบบยุติธรรมของฝรั่งเศสซึ่งมีแบบอย่างมาจากกฎหมายอังกฤษ[1]ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1793 สภากงว็องซียงแห่งชาติได้แบ่งสำนักงานศาลออกเป็นสี่แห่งเพื่อรับมือกับการพิจารณาคดีที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมโหฬาร นอกจากนี้ สภายังกำหนดให้ลูกขุนทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งทางตรงโดยคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม หรือคณะกรรมาธิการความมั่นคงสูงสุด

ใกล้เคียง

ศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลอาญา (ประเทศไทย) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ศาลอาญาศึก ศาลอากาศเทวดา ศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวีย ศาลอาญาปฏิวัติ ศาลาเฉลิมกรุง ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ศาลาเฉลิมไทย