ศาสตราจารย์ในแต่ละประเทศ ของ ศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์ในประเทศไทย

ในประเทศไทย ตำแหน่งศาสตราจารย์ ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่งต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจมีวิธีพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ตามประเภทของศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ระดับสูงสุด เรียกว่า ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ (หรือศาสตราจารย์ในระดับ C-11 เดิม) [8] ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ สามารถใช้คำว่า ศาสตราจารย์ นำหน้าชื่อเพื่อลงชื่อในหนังสือ เอกสาร งานสารบรรณ เสมือนยศหรือคำนำหน้าชื่ออย่างอื่น [9][1]

การแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษที่แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เพื่อแต่งตั้งเช่นกัน

สำหรับตำแหน่งศาสตราภิชานอาจเป็นตำแหน่งที่มีกำหนดเวลา มักขึ้นกับปีงบประมาณหรือกองทุนศาสตราภิชานของมหาวิทยาลัยที่เชิญ ส่วนศาสตราจารย์กิตติเมธีในประเทศไทยเป็นตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาปฏิบัติ งานวิจัยและบริการวิชาการที่นอกเหนือและสูงกว่างานของศาสตราจารย์ประจำ เช่น กิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อย่างไรก็ดี ทั้งตำแหน่งศาสตราภิชานและศาสตราจารย์กิตติเมธี อาจมีเงื่อนไขในการดำรงตำแหน่งไม่เหมือนกัน เช่น ศาสตราภิชานของไทยมีวาระเพียงปีเดียว

อนึ่ง การใช้ชื่อ ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ "กิตติคุณ" ส่วนมหาวิทยาลัยมหิดล ใช้ "เกียรติคุณ" เป็นต้น ซึ่งความเป็นอาจารย์ประจำในกรณีนี้ หมายถึง การผูกพันเป็นการประจำกับคณะที่ขอแต่งตั้ง ต่างกับศาสตราจารย์เกษียณอายุที่ได้รับการต่ออายุราชการถึง 65 ปี ซึ่งถือเป็นการทำงานประจำเต็มเวลาปกติเหมือนอาจารย์ประจำทั่วไป ในประเทศไทยยังมีผู้เข้าใจว่า ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกทั่วไปเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้น โดยไม่ต้องเป็นศาสตราจารย์มาก่อนซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ศาสตรเมธาจารย์ในประเทศไทย ได้รับการพิจารณาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ได้ทุน ศาสตรเมธาจารย์ สวทช (NSTDA Chair Professor) โดยพิจารณาจากความสามารถทางการวิจัย สามารถเป็นแกนนำกลุ่มวิจัยขั้นสูง[10] โดยปัจจุบันมีผู้ได้รับการประกาศเป็นศาสตรเมธาจารย์ทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[11] ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[12] ศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวันเพ็ญ ชัยคำภา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล[13] และ ศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[14]

ศาสตราจารย์ของไทย ส่วนมากไม่มีผลงานในเชิงทฤษฎี แต่เป็นผลงานงานวิจัย พิสูจน์สมมติฐาน ที่ได้รับการยอมรับว่า 'ดีมาก' ถ้าเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับของไทย (เช่น ประวัติศาสตร์ไทย ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย โบราณคดี) ควรได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการของราชบัณฑิตสภา หรือวารสารวิชาการของสภาวิจัยแห่งชาติ มิใช่เพียงวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกามีตำแหน่งทางวิชาการหลักใน 3 ระดับ โดยศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสูงสุด ถัดจากนั้นก็จะเป็นรองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยในสหรัฐอเมริกาตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะเป็นตำแหน่งที่ได้รับเริ่มแรกหลังจากเข้าบรรจุทำงาน

ศาสตราจารย์ในประเทศญี่ปุ่น

ตำแหน่งการทำงานเต็มเวลาในวงการวิชาการ ศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ใช้ชื่อว่า เคียวจุ (ญี่ปุ่น: 教授 โรมาจิKyōju) โดยถัดมาเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่เรียกว่า จุนเคียวจุ (ญี่ปุ่น: 准教授 โรมาจิJunkyōju)

รางวัลราชบัณฑิต
ดูบทความหลักที่: ราชบัณฑิต

เป็นตำแหน่งทางวิชาการสูงสุดของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย ต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ มีเก้าอี้จำนวนจำกัด จะพ้นวาระก็ต้องเมื่อถึงแก่กรรมเท่านั้น ดังเช่น มี ๒ ตำแหน่งสำหรับ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งต้องคัดเลือกจากศาสตราจารย์ด้านแพทยศาสตร์ นับหลายร้อยคน จากหลายสิบสาขา มีบางกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญสูงสุดมิได้ทำงานในสถาบันการศึกษา จึงอาจไม่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ก็เป็นได้ ผู้ที่มีตำแหน่งดังกล่าว มีสิทธิที่จะคำว่า ราชบัณฑิต ต่อท้ายชื่อได้

จำนวนศาสตราจารย์ในประเทศไทย[15]

ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2561) ประเทศไทยมีจำนวนผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(ระบบนำเข้าข้อมูล) และให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในสังกัด โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ รวมทั้งสิ้น 1,041 คน แบ่งเป็นศาสตราจารย์ประจำ 804 คน ศาสตราจารย์พิเศษ 122 คน และศาสตราจารย์ญาณวิทย์ (ศาสตราจารย์ ระดับ 11 เดิม) 115 คน โดยจำแนกตามสังกัด ดังนี้[16]

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 247 คน
  2. มหาวิทยาลัยมหิดล 243 คน
  3. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 189 คน
  4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 135 คน
  5. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 88 คน
  6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 64 คน
  7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 62 คน
  8. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 37 คน
  9. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 22 คน
  10. มหาวิทยาลัยศิลปากร 22 คน
  11. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 20 คน
  12. มหาวิทยาลัยรามคำแหง 18 คน
  13. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 16 คน
  14. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 16 คน
  15. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 20 คน
  16. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 18 คน
  17. มหาวิทยาลัยนเรศวร 11 คน
  18. มหาวิทยาลัยสยาม 10 คน
  19. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 8 คน
  20. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 8 คน
  21. มหาวิทยาลัยบูรพา 6 คน
  22. มหาวิทยาลัยสยาม 5 คน
  23. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 5 คน
  24. วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ 5 คน
  25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 5 คน
  26. มหาวิทยาลัยรังสิต 4 คน
  27. มหาวิทยาลัยพายัพ 4 คน
  28. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 4 คน
  29. มหาวิทยาลัยทักษิณ 4 คน
  30. มหาวิทยาลัยคริสเตียน 3 คน
  31. มหาวิทยาลัยชินวัตร 3 คน
  32. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 3 คน
  33. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 3 คน
  34. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3 คน
  35. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 3 คน
  36. มหาวิทยาลัยพะเยา 7 คน
  37. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2 คน
  38. มหาวิทยาลัยเกริก 2 คน
  39. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2 คน
  40. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 2 คน
  41. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2 คน
  42. สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ 2 คน
  43. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 คน
  44. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2 คน
  45. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2 คน[17] [18]
  46. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 1 คน
  47. มหาวิทยาลัยนครพนม 1 คน
  48. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 1 คน
  49. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 1 คน
  50. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 1 คน
  51. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1 คน
  52. มหาวิทยาลัยศรีปทุม 1 คน
  53. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 1 คน
  54. วิทยาลัยนครราชสีมา 1 คน
  55. วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 1 คน
  56. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 1 คน
  57. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 1 คน
  58. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 1 คน
  59. โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 1 คน
  60. โรงเรียนนายเรือ 2 คน
  61. โรงเรียนนายเรืออากาศ 2 คน

ใกล้เคียง

ศาสตราจารย์ ศาสตรา ศรีปาน ศาสตราจารย์เอ็กซ์ ศาสตราคู่กู้แผ่นดิน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ศาสตรนิพนธ์ ศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศาสตราจารย์ฟอเตสคิว ศาสตราจารย์บันโด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสตราจารย์ http://61.19.241.70/rkj/uploadword/994.doc http://share.psu.ac.th/blog/faculty-senate/12668 http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?n... http://www.nap.mua.go.th/FacultyRecord/Report/Univ... http://www.nap.mua.go.th/FacultyRecord/index.aspx http://royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2343 http://royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2345 http://royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2346 http://royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2356 http://royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2357