การใช้ข้อปฏิบัติในศาสนาเพื่อการรักษา ของ ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

มากกว่าพันปีแล้ว ที่มีการใช้ข้อปฏิบัติทางพุทธศาสนาทั่วโลกเพื่อจุดประสงค์ที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเมื่อเร็ว ๆ นี้ นักจิตวิทยาคลินิกชาวตะวันตก นักทฤษฎี และนักวิจัยได้รวมข้อปฏิบัติของพุทธในวิธีจิตบำบัดมากมายที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะแล้ว คือรวมการฝึกสติโดยตรงเป็นเทคนิคการรักษาทางจิต[28]และโดยอ้อม ๆ แล้ว จิตบำบัดที่อาศัยการเปลี่ยนความคิด (cognitive restructuring) มีหลักคล้ายกับการกำจัดความทุกข์ในศาสนาพุทธ

การฝึกสติ

ดร. ฟรอมม์[29]:49-52แยกแยะวิธีการเจริญทักษะสองอย่างที่ใช้ในการบำบัด คือ

  1. Autosuggestion (การแนะนำตัวเองหรือสะกดจิตตัวเอง) เพื่อให้ผ่อนคลาย
  2. การเจริญกรรมฐานที่ "ให้เกิด อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ในระดับที่สูงขึ้น สั้น ๆ ก็คือ ช่วยให้มีชีวิตในระดับสูงขึ้น"

ดร. ฟรอมม์แสดงที่มาของเทคนิกหลังกว่ามาจากการฝึกสติในศาสนาพุทธ[lower-alpha 10]

วิธีการรักษาที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ สองอย่างที่ใช้เทคนิคการเจริญสติของพุทธศาสนาก็คือ การลดความเครียดอาศัยสติ (Mindfulness-based Stress Reduction ตัวย่อ MBSR) ของ ศ.ดร.จอน คาแบต-ซินน์ และพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical behavior therapy ตัวย่อ DBT) ของ ศ.ดร.มาชา ไลน์แฮนการบำบัดเด่นอื่น ๆ ที่ใช้สติรวมทั้งการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (Acceptance and Commitment Therapy ตัวย่อ ACT) ของ ศ.ดร.สตีเวน ซี. เฮย์สการฝึกการปรับตัว (Adaptation Practice) ของจิตแพทย์และคนพุทธเซน คือ นพ. คลิฟ เชอร์สล็อกและการบำบัดความคิดอาศัยสติ (Mindfulness-based Cognitive Therapy ตัวย่อ MBCT)[31]

นักวิจัยการรักษาพบว่า การฝึกสติของศาสนาพุทธช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และความผิดปกติทางบุคลิกภาพบางอย่าง

การลดความเครียดอาศัยสติ (MBSR)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: การลดความเครียดอาศัยสติ

ดร. คาแบต-ซินน์ได้พัฒนาโปรแกรม MBSR ยาว 8 สัปดาห์โดยใช้ระยะเวลากว่า 10 ปี ในการรักษาคนไข้ 4,000 คนที่ศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์[32]:1เขาได้เขียนกล่าวถึง MBSR ไว้ว่า

"งาน" นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกเป็นปกติอย่างมีวินัยในการสำนึกจากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง หรือที่เรียกว่า สติ เป็นการยอมรับทุก ๆ ขณะที่คุณรู้สึก ไม่ว่าจะดี ชั่ว หรือไม่น่ารักนี้เป็นแก่นสารของการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยภัยพิบัติ[32]:11

ดร. คาแบต-ซินน์ผู้เคยปฏิบัติตามแนวพุทธเซนกล่าวไว้ว่า[lower-alpha 11]

แม้ว่าในเวลานี้การฝึกสติโดยมากจะสอนและปฏิบัติในบริบทของศาสนาพุทธ แต่ว่า สาระของมันเป็นเรื่องสากลมันไม่ใช่เรื่องบังเอิญว่าการเจริญสติเป็นคำสอนที่มาจากศาสนาพุทธ ที่ธุระหลักเป็นการเปลื้องความทุกข์และกำจัดความเข้าใจผิด[33]:12-13ในด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์เพื่อรักษา มีข้อพิสูจน์แล้วว่า MBSR มีประโยชน์ต่อคนไข้โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล แต่ (จริง ๆ แล้ว) โปรแกรมมุ่งหมายช่วยทุกคนที่ประสบกับความเครียด/ความทุกข์ในระดับสำคัญ

หลักของโปรแกรมอยู่ที่การฝึกอบรมจิตตามแนวทางพุทธอย่างกวดขันโดยไม่รวมเอาศาสนาพุทธ (นี่เป็นสำนวนที่ผมชอบใช้) และโยคะ[34]

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (DBT)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

เมื่อกล่าวถึง DBT ผู้ปฏิบัติพุทธแบบเซน[lower-alpha 12]ดร. ไลน์แฮน[35]กล่าวว่า

ดังที่ชื่อของมันแสดง ลักษณะสำคัญที่สุดของมันคือการเน้นเรื่อง "วิภาษวิธี" ซึ่งก็คือ การสมานฉันท์สิ่งตรงข้ามโดยเป็นการสังเคราะห์อย่างต่อเนื่อง...การเน้นเรื่องการยอมรับโดยเป็นตัวถ่วงดุลต่อความเปลี่ยนแปลง มาจากการรวมมุมมองโดยตรงจากข้อปฏิบัติของโลกตะวันออก (เซน) กับข้อปฏิบัติทางจิตวิทยาของโลกตะวันตก

และได้กล่าวคล้าย ๆ กันอีกว่า[36]:63

ทักษะเกี่ยวกับสติเป็นเรื่องหลักของ DBT เป็นทักษะที่สอนเป็นอย่างแรกและทบทวน ... ทุก ๆ อาทิตย์ ... ทักษะเป็นการปฏิบัติอบรมจิตในรูปแบบของจิตวิทยาและพฤติกรรมนิยมที่มาจากการฝึกจิตวิญญาณของโลกตะวันออก ซึ่งดิฉันได้รับมาจากการปฏิบัติของเซนมากที่สุด

งานศึกษาทางคลินิกที่มีกลุ่มควบคุม ได้แสดงประสิทธิผลของ DBT ต่อคนไข้ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD)[lower-alpha 13]

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT)

ส่วนการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) ไม่ได้มาจากศาสนาพุทธโดยตรง แต่แนวคิตต่าง ๆ บ่อยครั้งจะขนานกับของศาสนาพุทธและความเชื่อทางรหัสยลัทธิอื่น ๆ[39][40]ผู้ริเริ่ม ACT ได้กำหนดนิยามไว้ว่า เป็นวิธีที่ "ใช้กระบวนการยอมรับ กระบวนการทางสติ กระบวนการตกลงใจที่จะทำ และกระบวนการเริ่มพฤติกรรม ที่ช่วยปรับใจให้เข้ากับสถานการณ์ได้"[41]

สติใน ACT หมายถึงการรวมด้านต่าง ๆ 4 ด้านของแบบจำลองการปรับใจให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ ACT ประยุกต์ใช้ คือ

  1. การยอมรับ คือ การเปิดใจต่อและการรับมือกับประสบการณ์ปัจจุบัน
  2. การปลดภัยจากความคิด คือ การใส่ใจกระบวนการความคิดตามที่เป็นไป แทนที่จะปฏิสัมพันธ์อย่างอัตโนมัติกับเหตุการณ์ตามความคาดหมาย การตัดสินดีชั่ว และการตีความ
  3. อยู่กับปัจจุบัน คือ การใส่ใจในโลกภายในภายนอกอย่างยืดหยุ่นได้ ลื่นไหลได้ และอย่างสมัครใจ
  4. ความรู้สึกที่เหนือตน หรือ ตนโดยเป็นบริบท (self as context) คือเป็นความรู้สึกทางจิตวิญญาณที่เชื่อมต่อกันที่รักษาความสำนึกเกี่ยวกับ "ตัวเอง/ที่นี่/เดี๋ยวนี้" และการเชื่อมต่อกับ "คนอื่น/ที่โน่น/ตอนนั้น"[41]

ด้านต่าง ๆ ของสติใน ACT เหล่านี้ อ้างว่ามาจาก Relational Frame Theory (ตัวย่อ RFT) ซึ่งเป็นโปรแกรมงานวิจัยเกี่ยวกับภาษาและการรู้คิดที่เป็นฐานของ ACTยกตัวอย่างเช่น ตนโดยเป็นบริบท (self as context) มาจากความสัมพันธ์แบบชี้เฉพาะของคำ (deictic verbal relation) เช่น ฉัน/คุณ ที่นี่/ที่โน่น ซึ่งงานวิจัย RFT แสดงว่าช่วยสร้างทักษะการเปลี่ยนมุมมองและการเชื่อมต่อกับบุคคลอื่น[42][43]

หนังสือแบบช่วยตัวเองเกี่ยวกับ ACT (เช่น[44])และวิธีการแบบ ACT อื่นที่ทดสอบแล้ว จะสอนการฝึกการพินิจพิจารณา แต่ถ้าใช้นิยามนี้ของคำว่าสติ ทักษะการปลดภัยจากความคิด เช่นการกล่าวคำซ้ำ ๆ (คือ จากความคิดที่มีปัญหา ให้กลั่นความมาให้เหลือคำเดียว แล้วกล่าวคำซ้ำ ๆ ให้ได้ยินเป็นเวลา 30 วินาที) ก็ยังมองว่าเป็นวิธีการทางสติด้วย

การฝึกการปรับตัว

จิตแพทย์ชาวอังกฤษ นพ. คลิฟ เชอร์สล็อก ที่ฝึกการปฏิบัติแบบเซนจากสำนักรินไซ ได้พัฒนาการฝึกการปรับตัว (Adaptation Practice ตัวย่อ Ap) ในปี 2520 มีฐานจากข้อปฏิบัติและการอบรมจิตแบบเซนที่ฝึกสติ/ความสำนึกอย่างลึกซึ้งในชีวิตประจำวัน มีการใช้การฝึกการปรับตัวเพื่อบรรเทาความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความโกรธ ความเครียด และปัญหาทางอารมณ์อย่างอื่นในระยะยาว

การเปลี่ยนความคิด

ศ. ดร. แอลเบิรต์ เอลลิส ผู้เรียกได้ว่าเป็น "คุณปู่ของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT)" ได้เขียนไว้ว่า

หลักการหลายอย่างที่รวมอยู่ในทฤษฎีของ Rational emotive behavior therapy (ตัวย่อ REBT) ไม่ใช่เรื่องใหม่บางอย่างจริง ๆ ดั้งเดิมมาจากหลายพันปีก่อน โดยเฉพาะจากนักปรัชญาลัทธิสโตอิกชาวกรีกและโรมัน เช่น Epictetus และมาร์กุส เอาเรลิอุส และจากนักคิดลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา (ดู Suzuki 1956[45],Watts 1959[46])[47][lower-alpha 14]

ตัวอย่างหนึ่งก็คือ พุทธศาสนากำหนดว่าความโกรธและพยาบาทเป็นเครื่องขวางกั้นการพัฒนาทางจิต (ดู นิวรณ์ สังโยชน์ และกิเลส)วิธีแก้ความโกรธที่สามัญก็คือการพินิจพิเคราะห์อย่างต่อเนื่องโดยเป็นความคิดที่ประกอบด้วยความเมตตา นี่คล้ายกับการใช้เทคนิค CBT ที่เรียกว่า การฝึกอารมณ์ (emotional training) ซึ่ง ดร.เอลลิส[49]:86-87ได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ให้คิดถึงประสบการณ์ที่มีความสุขอย่างยิ่งกับบุคคลที่คุณตอนนี้กำลังรู้สึกโกรธเมื่อคุณได้จินตนาการถึงประสบการณ์ความสุขเช่นนี้ และได้ความรู้สึกที่ดีกว่าปกติ ที่รู้สึกอบอุ่น เกี่ยวกับบุคคลนั้นโดยเป็นผลของการระลึกถึงความจำ ให้ทำอย่างนี้ต่อไปให้ระลึกถึงประสบการณ์แห่งความสุขและความรู้สึกดี ๆ และพยายามทำความรู้สึกเหล่านี้ให้เหนือกว่าความรู้สึกเป็นศัตรู[lower-alpha 15]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา http://www.newcollege.utoronto.ca/academics/new-co... http://www.ahalmaas.com/PDF/culture_narcissism.pdf http://www.bhantekovida.com/inquiring/bhante-kovid... http://danbhai.com/rnpsa/winnicott_ego_distortion.... http://www.emotionalcompetency.com/papers/empathyd... http://gradworks.umi.com/31/87/3187903.html http://www.academia.edu/663726/Oliver_Kress_-_A_ne... http://www.naropa.edu/academics/gsp/grad/contempla... http://www.buddhanet.net/compassion.htm http://www.buddhanet.net/depth.htm