ศาสนาพุทธและจิตวิเคราะห์ ของ ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

ครูสอนการปฏิบัติ ผู้รักษา และนักเขียนรวมทั้ง ดี. ที. ซูซูกิ, คาร์ล ยุง, เอริก ฟรอมม์, แอลัน วัตส์, Tara Brach, Jack Kornfield, Joseph Goldstein, และ Sharon Salzberg ได้พยายามเชื่อมและรวมจิตวิเคราะห์กับคำสอนจากพุทธศาสนาทนายอังกฤษนักเขียนหนังสือพุทธคนหนึ่งเรียกการร่วมมือกันในกลางคริสต์ทศวรรษที่ 20 ของนักจิตวิเคราะห์และนักวิชาการทางพุทธศาสนาว่าเป็นการประชุมกันของ

พลังสองอย่างที่มีอำนาจมากที่สุดที่กำลังทำงานในด้านจิตของชาวตะวันตกในปัจจุบัน"[17]:ปกหลัง

แต่ว่าหลังจากนั้น ผู้ปฏิบัติตามศาสนาพุทธได้แสดงความเป็นห่วงว่า การมองพุทธศาสนาผ่านเล็นของจิตวิทยาชาวตะวันตกทำคำสอนการพ้นทุกข์ของพระพุทธเจ้าให้เสื่อมลง[ต้องการอ้างอิง]

ซูซูกิ

คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในการเผยแพร่ศาสนาพุทธในโลกตะวันตกก็คือ นักวิชาการพุทธเซนชาวญี่ปุ่น ดี. ที. ซูซูกิ โดยร่วมมือกับจิตแพทย์ นพ. คาร์ล ยุง และนักจิตวิทยา ศ. ดร. เอริก ฟรอมม์ และมีอิทธิพลต่อนักปรัชญา ดร. มาร์ติน ไฮเดกเกอร์[ต้องการอ้างอิง]

ซูซุกิและยุง (2491)

นพ. คาร์ล ยุง เขียนคำนำในหนังสือของซูซูกิ คือ ศาสนาพุทธเซนเบื้องต้น (Introduction to Zen Buddhism)[18][lower-alpha 6]ซึ่งเขาเน้นประสบการณ์การรู้แจ้งที่เซนเรียกว่า ซาโตริ (悟り) ว่าเป็น "การแปรสภาพไปสู่เอกภาพที่ไม่มีอะไรเสมอ" สำหรับนักปฏิบัติแบบเซนและแม้ว่าจะยอมรับถึงความความพยายามที่ไม่สมบูรณ์ของชาวตะวันตกที่จะเข้าใจซาโตริผ่านแนวคิดทางปัญญาของชาวตะวันตก[lower-alpha 7]

ซูซูกิและฟรอมม์ (2500)

โดยอ้างการร่วมมือกันระหว่าง นพ. ยุง กับซูซูกิ รวมทั้งความพยายามของคนอื่น นักปรัชญามนุษยนิยมและนักจิตวิเคราะห์ ศ. ดร. เอริก ฟรอมม์ ให้ข้อสังเกตว่า

มีความสนใจที่ชัดเจนและเพิ่มขึ้นในพุทธศาสนาแบบเซนจากบรรดานักจิตวิเคราะห์[17]:77-78[lower-alpha 8]

ในปี 2500 ซูซูกิ ดร. ฟรอมม์ และนักจิตวิเคราะห์อื่น ๆ ได้ร่วมมือกันทำเวิ้ร์กฉ้อปเรื่อง "ศาสนาพุทธเซนกับจิตวิเคราะห์" ในเมือง Cuernavaca ประเทศเม็กซิโก[lower-alpha 9]ในการเสนอของเขาที่เวิ้ร์กฉ้อป ดร. ฟรอมม์ประกาศว่า

จิตวิเคราะห์เป็นตัวแสดงวิกฤติการณ์ทางจิตวิญญาณของคนตะวันตกโดยเฉพาะ และเป็นการพยายามหาทางออก[17]:80

เข้าอ้างว่า ตอนต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 คนไข้จิตวิเคราะห์เสาะหาการรักษาเพราะอาการเหมือนป่วยที่ขัดขวางกิจกรรมทางสังคมแต่โดยกลางทศวรรษ คนไข้โดยมากไม่แสดงอาการอะไรให้ปรากฏ และดำเนินกิจกรรมไปด้วยดี แต่กลับมีปัญหากับ "ความไม่มีชีวิตชีวาของใจ" และว่า

ความทุกข์ที่สามัญคือ ความเหินห่างจากตนเอง จากเพื่อนมนุษย์ และจากธรรมชาติ เป็นความสำนึกว่า ชีวิตกำลังหมดไปเหมือนกับทรายไหลออกจากมือ และตนจะตายอย่างยังไม่ได้ใช้ชีวิต และว่า ตนอยู่ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์แต่กลับไร้ความสุข[17]:85-86

ดร. ฟรอมม์กล่าวต่อไปโดยถอดคำของซูซูกิอย่างกว้าง ๆ ว่า

เซนเป็นศิลปะใน "การเห็นธรรมชาติในตน" เป็นวิธีดำเนิน "จากความเป็นทาสไปสู่อิสระ" เป็นการ "ปลดปล่อยพลังธรรมชาติของตน" ... และกระตุ้นให้เราแสดงสมรรถภาพทาง "ความสุขและความรัก"[17]:115[...]สิ่งที่กล่าวได้ยิ่งกว่าแน่นอนก็คือความรู้และความสนใจเรื่องเซน สามารถมีอิทธิพลที่ไพบูลย์ต่อและช่วยอธิบายทฤษฎีและเทคนิคทางจิตวิเคราะห์เซน แม้ว่าจะมีวิธีต่างจากจิตวิเคราะห์ สามารถช่วยทำอะไร ๆ ให้ชัดเจน เพิ่มความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของปัญญา และเพิ่มความเข้าใจว่าการเห็นเป็นอะไร ความคิดสร้างสรรค์เป็นอะไร การข้ามความมัวหมองทางใจและความคิดผิด ๆ ที่เป็นผลที่เลี่ยงไม่ได้จากประสบการณ์ที่มีการแยกกันระหว่างผู้รู้-สิ่งที่รู้[17]:140

เดวิด เบรเซียร์

เดวิด เบรเซียร์เป็นนักจิตบำบัดที่ผสมเทคนิคจิตบำบัดกับศาสนาพุทธเบรเซียร์ได้ชี้ว่ามีคำแปลได้หลายอย่างสำหรับคำบาลีว่าอริยสัจ 4 ซึ่งทำให้เข้าใจสัจจะเหล่านั้นได้ในรูปแบบใหม่ ๆคำแปลทั่วไปของคำว่า สมุทัย และนิโรธ ก็คือ "เหตุ" และ "ความดับ"เมื่อบวกกับคำแปลของคำว่าทุกข์ จึงเกิดคำอธิบายเหตุของความทุกข์ และความประทับใจว่าทุกข์สามารถกำจัดได้อย่างสิ้นเชิงเบรเซียร์ได้เสนอคำแปลใหม่[23] ซึ่งตีความอริยสัจ 4 อีกแบบหนึ่ง คือ

  1. ทุกข์ คือ ชีวิตไม่เพอร์เฟกต์ เหมือนกับล้อที่ประกอบเข้ากับเพลาไม่ดี
  2. สมุทัย คือ ตัณหาเกิดขึ้นพร้อมกับการประสบทุกข์ เป็นความกระหาย ความไม่พอใจกับสิ่งที่เป็น และความต้องการว่า ชีวิตควรจะต่างจากที่มันเป็น เราถูกขังอยู่ในตัณหาเมื่อไม่เห็นความจริงตามที่เป็น คือว่าไม่เพอร์เฝ็กต์ และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  3. นิโรธ คือ เราสามารถจำกัดตัณหา (ว่าน่าจะเป็นต่างจากที่เป็น) และรู้ความจริงดังที่เป็น ดังนั้น "ความทุกข์จากความไม่เพอร์เฝ็กต์" ก็จะเกิดอย่างจำกัด
  4. มรรค คือ การจำกัดความทุกข์ที่เป็นไปได้โดยดำเนินตามมรรคมีองค์แปด

ในการแปลเช่นนี้ สมุทัยหมายถึงว่า ความยากลำบากที่เป็นปกติของชีวิต (คือทุกข์) จะเกิดพร้อมกับตัณหาหรือความปรารถนา (คือสมุทัย) ว่า ชีวิตควรจะต่างไปจากนี้ นิโรธ หมายถึงการจำกัดตัณหาที่เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถที่จะหนีได้หรือหมดไปได้ แต่สามารถจำกัดได้ ซึ่งให้อิสรภาพแก่เรา[23]

มารก์ เอ็ปสไตน์

นักจิตบำบัด นพ. มาร์ก เอ็ปสไตน์ สัมพันธ์อริยสัจ 4 กับ "โรคหลงตัวเองหลัก" (primary narcissism) ดังที่อธิบายโดย นพ. โดนัลด์ วินนิค็อตต์ ในทฤษฎีตนจริงตนปลอม (True self and false self)[24][25]สัจจะแรกเน้นความหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตที่จะเกิดความลบหลู่ต่อความภาคภูมิใจแบบหลงตัวเองสัจจะที่สองกล่าวถึงความกระหายดั้งเดิมที่ทำให้ความลบหลู่เป็นเรื่องเลี่ยงไม่ได้ส่วนสัจจะที่สามให้ความหวังของอิสรภาพโดยพัฒนาความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับตนที่สมจริง และสัจจะที่สี่บอกวิธีการทำให้สำเร็จเช่นนั้น[26][27]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา http://www.newcollege.utoronto.ca/academics/new-co... http://www.ahalmaas.com/PDF/culture_narcissism.pdf http://www.bhantekovida.com/inquiring/bhante-kovid... http://danbhai.com/rnpsa/winnicott_ego_distortion.... http://www.emotionalcompetency.com/papers/empathyd... http://gradworks.umi.com/31/87/3187903.html http://www.academia.edu/663726/Oliver_Kress_-_A_ne... http://www.naropa.edu/academics/gsp/grad/contempla... http://www.buddhanet.net/compassion.htm http://www.buddhanet.net/depth.htm