เชิงอรรถ ของ ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

  1. ศาสนาพุทธเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า (ประมาณ 563-483 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตามมุมมองของชาวตะวันตก)ส่วนการตั้งสาขาจิตวิทยาที่มองตนเอง โดยเป็นการประเมินกิจกรรมทางใจและพฤติกรรมของมนุษย์โดยใช้หลักฐาน มักจะเริ่มกำหนดโดยงานของ Wilhelm Wundt (16 สิงหาคม 2375 - 31 สิงหาคม 2463)
  2. แนวคิดว่า จิตเป็นลำดับสภาวะ เหมือนกับช่องฟิล์ม แม้ว่าจะไม่ขัดกับแนวคิดของจิตในคัมภีร์นิกายต่าง ๆ (แต่) เป็นเรื่องที่พบได้อย่างชัดแจ้งในคัมภีร์บาลีอภิธรรม[2]:29
  3. ศ. แดเนียล โกลแมนผู้กำลังสอนจิตวิทยาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเวลานั้น ได้บันทึกไว้ว่า "ไอเดียว่า ศาสนาพุทธจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาเป็นเรื่องเหลวไหลชัด ๆ สำหรับพวกเราโดยมากในสาขาในเวลานั้นแต่ทัศนคติเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคนซื่อ ๆ ของพวกเราไม่ได้เกี่ยวอะไรกับศาสนาพุทธมันเป็นข่าวเลยว่า ศาสนาพุทธ ที่คล้ายกับวัฒนธรรมประเพณีทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่มากมายของโลก มีทฤษฎีเกี่ยวกับจิตและการทำงานของมัน"[6]:72
  4. มหาวิทยาลัยนาโรปาได้เป็นที่ประชุมและสถาบันฝึกสอนสำหรับบุคคลต่าง ๆ ที่ได้ช่วยทำให้จิตวิทยาที่ใช้สาระจากศาสนาพุทธและคำสอนแนวพุทธที่เข้าใจเรื่องจิตวิทยาดี เป็นที่นิยมมากที่สุด บุคคลเช่น Jack Kornfield และ Joseph Goldstein
  5. หนังสือที่บันทึกการประชุมเหล่านี้รวมทั้ง Begley (2007),Davidson & Harrington (2002)[9],Goleman (1997)[10],Goleman (2004)[11],Harrington & Zajonc (2006)[12],Hayward & Varela (2001)[13],Houshmand et al. (1999)[14],Varela (1997)[15],และ Zajonc & Houshmand (2004)[16]
  6. ทั้ง Fromm (1960)[17]และ Ellis (1962)[19]อ้างว่างานนีมีอิทธิพล
  7. โดยเฉพาะก็คือ หมอยุงอ้างคำกล่าวว่า "เซนไม่ใช่ทั้งจิตวิทยาหรือปรัชญา"[18]:11แต่ก็ยังกล่าวว่า
    ขบวนการอย่างเดียวภายในวัฒนธรรมของเราซึ่งเข้าใจหรือควรจะเข้าใจเป็นบางส่วนในเรื่องแรงบันดาลใจเยี่ยงนี้ (คือ เพื่อการรู้แจ้ง) ก็คือ จิตบำบัดฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญว่าคำนำนี้เขียนโดยนักจิตบำบัดคนหนึ่ง ...(เพราะ) โดยพื้นฐานแล้ว จิตบำบัดเป็นความสัมพันธ์แบบโต้แย้งด้วยเหตุผลระหว่างแพทย์กับคนไข้ ...โดยมีจุดมุ่งหมายคือการเปลี่ยนแปลง[18]:25
  8. เพื่อที่จะสนับสนุนข้อความนี้ ดร. ฟรอมม์อ้างอิงคำนำของ นพ. ยุงในงานของซูซูกิ, Benoit (1955)[20], และ Sato (1958)[21]นอกจากนั้น ดร. ฟรอมม์ยังอ้างถึงนักจิตวิเคราะห์แคเร็น ฮอร์ไนผู้ "สนใจอย่างยิ่งยวดในศาสนาพุทธช่วงท้ายชีวิตของเธอ"
  9. งานที่เสนอบางงานอยู่ใน Fromm et al. (1960)[17]:viiความสนใจในพุทธศาสนาของ ดร.ฟรอมม์รวมพุทธหลายนิกาย ดังที่ปรากฏในคำนำของเขาในหนังสือปี 1986[22]
  10. เพื่ออ้างแหล่งที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการฝึกสติในศาสนาพุทธ ดร. ฟรอมม์ (2002) อ้างหนังสือของพระภิกษุญาณโปณิก (1996)[30]แล้วเขียนในหน้า 52-53 ไว้ว่า
    มีหลักคำสอน 2 อย่างที่ยอมรับได้สำหรับคนที่แม้ไม่ใช่คนพุทธเช่นตัวผมเอง แต่ก็ยังทำให้รู้สึกประทับใจอย่างลึกซึ้งในหลักคำสอนหลักแรกสุดที่ผมหมายถึงก็คือหลักว่า เป้าหมายในชีวิตก็เพื่อเอาชนะความโลภ ความโกรธ และความหลงในด้านนี้ ศาสนาพุทธไม่ได้ต่างจากหลักมาตรฐานทางจริยธรรมของคนยิวและคนคริสต์(แต่) แนวคิดศาสนาพุทธอีกอย่างที่สำคัญกว่าและต่างจากจารีตของคนยิวและคนคริสต์ ก็คือ การเรียกร้องให้มีความสำนึกอย่างเหมาะสมที่สุดต่อกระบวนการต่าง ๆ ทั้งภายในภายนอกตนเอง
  11. ในหนังสือปี 2005[33]ดร. คาแบต-ซินน์ได้เขียนไว้ว่า
    เพราะว่าผมปฏิบัติและสอนการฝึกสติ ผมมีประสบการณ์ซ้ำ ๆ ว่า คนบ่อยครั้งคาดคะเนว่าผมนับถือศาสนาพุทธและเมื่อถาม ผมปกติจะตอบว่า ผมไม่ได้นับถือ (แม้ว่าจะมีช่วงหนึ่งในชีวิตที่ผมคิดว่าเป็นคนพุทธ ได้ฝึกและยังฝึกสติ และเคารพรักอย่างยิ่งในทั้งพุทธสายต่าง ๆ และข้อปฏิบัติพุทธ)แต่ผมเป็นนักศึกษาการฝึกอบรมจิตแบบพุทธ และเป็นคนที่เอาใจใส่ ไม่ใช่เป็นเพราะว่าผมเป็นคนพุทธ แต่เพราะว่าผมพบว่าทั้งคำสอนและข้อปฏิบัติเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งอย่างยิ่งและประยุกต์ใช้ได้กับทุกคนทุกสถานการณ์ ทั้งเพื่อแสดงความจริงและเพื่อการรักษา
  12. ตาม ดร. คาแบต-ซินน์ (2005)[33]:431"มาร์ชา ไลน์แฮนเองเป็นนักปฏิบัติแบบเซนมายาวนาน และ DBT ก็รวมทั้งเจตนาและหลักเกี่ยวกับสติ และข้อปฏิบัติตามคำสอนอื่น ๆ เท่าที่จะเป็นไปได้"
  13. เกี่ยวกับประสิทธิผลที่มีหลักฐานเชิงประสบการณ์ของ DBT หนังสือของ ดร. ไลน์แฮนปี 1993b[36]:1 อ้างอิง Linehan et al.. (1991)[37]และ Linehan & Heard (1993)[38]ประสบการณ์ทางคลินิกแสดงว่า DBT มีประสิทธิผลต่อคนไข้ BPD และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ Axis II ในกลุ่ม B
  14. ในหนังสือปี 1991[47]:336-37เมื่อตอบปัญหาที่ยกโดย ดร. วัตส์ (1960)[48]เกี่ยวกับวิธีการทางจิตบำบัดที่ออกเชิงเหตุผลนิยมมากเกินไป ดร. เอลลิสได้เตือนให้พิจารณาการปฏิบัติเพื่อความเจริญทางจิตวิญญาณแบบคล้ายเซนโดยเฉพาะเขาได้ให้ข้อสังเกตว่า "บางทีจุดหมายหลัก" ของคนไข้ใน REBT "ก็คือการตกลงใจ/การสมาทาน การเสี่ยงทำ ความสุขในการมีชีวิตและประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ตราบเท่าที่มันไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความสุขชั่วคราวที่ทำลายตัวเองเหมือนแบบเด็ก ๆ...."และกล่าวเพิ่มว่า
    แม้แต่ความพยายามของพุทธศาสนิกชนชาวเซนเพื่อให้ได้ความรู้สึกแบบอุกฤษฏ์ หรือที่เรียกว่า ซาโตริ ก็ยังเข้ากับจุดหมายบางอย่างที่ผู้อุทิศทำตามการใช้ชีวิตแบบ rational-emotive อาจจะสืบหา ตราบเท่าที่ไม่ได้ใช้การรู้สึกเช่นนี้หนีจากการเผชิญหน้ากับความวิตกกังวลหรือความมุ่งร้ายขั้นมูลฐานของเขา
  15. ในตัวอย่างที่อ้างอิงจาก Ellis (1997) บุคคลพยายามเปลี่ยนความรู้สึกเป็นศัตรูด้วยความรู้สึกเป็นสุขที่มีกับบุคคลเดียวกัน(แต่ว่า) โดยทั่วไป ตามการเจริญเมตตาของชาวพุทธ บุคคลจะน้อมให้เกิดความรู้สึกเมตตาโดยคิดถึงบุคคลที่มีคุณ แล้วจึงใช้ความรู้สึกอบอุ่นที่ตัวเองน้อมให้เกิดขึ้นแผ่ซึมซาบเข้าไปแทนที่ประสบการณ์ความรู้สึกว่าเป็นศัตรูนอกจากนั้นแล้ว การเจริญเมตตาของชาวพุทธเป็นการแผ่ความรู้สึกไปยังสัตว์ทั้งปวง ไกลหรือใกล้ ดีหรือชั่ว เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา http://www.newcollege.utoronto.ca/academics/new-co... http://www.ahalmaas.com/PDF/culture_narcissism.pdf http://www.bhantekovida.com/inquiring/bhante-kovid... http://danbhai.com/rnpsa/winnicott_ego_distortion.... http://www.emotionalcompetency.com/papers/empathyd... http://gradworks.umi.com/31/87/3187903.html http://www.academia.edu/663726/Oliver_Kress_-_A_ne... http://www.naropa.edu/academics/gsp/grad/contempla... http://www.buddhanet.net/compassion.htm http://www.buddhanet.net/depth.htm