บทแห่งศรัทธา ของ ศาสนาอิสลาม

พระเป็นเจ้า

หลักมูลที่สุดของศาสนาอิสลาม คือ เอกเทวนิยมอย่างเคร่งครัด เรียก เตาฮีต (อาหรับ: توحيد‎) พระเป็นเจ้าพรรณนาในบทที่ 112 ของคัมภีร์อัลกุรอานว่า "จงกล่าวเถิด "พระองค์คืออัลลอฮฺ พระผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺนั้นทรงอิสระ พระองค์ไม่ทรงประสูติบุตร และไม่ทรงถูกประสูติ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์"" (112:1-4) มุสลิมและยิวบอกเลิกหลักตรีเอกานุภาพของคริสต์ศาสนิกชนและเทวภาวะของพระเยซู โดยเปรียบเทียบกับพหุเทวนิยม ในศาสนาอิสลาม พระเป็นเจ้าอยู่เกินความเข้าใจซึ้งใด ๆ และมุสลิมไม่คาดหวังเห็นพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้าถูกพรรณาและอ้างถึงในหลายพระนามหรือลักษณะเฉพาะบางอย่าง ที่พบบ่อยที่สุดคือ อัร-เราะห์มาน (Al-Rahmān) หมายถึง "พระผู้ทรงเมตตา" และอัล-ราฮีม (Al-Rahīm) หมายถึง "พระผู้ทรงปรานี"

มุสลิมเชื่อว่าการสรรสร้างทุกสิ่งในเอกภาพถูกทำให้มีโดยพระโองการบริบูรณ์ของพระเป็นเจ้า "จงเป็น แล้วมันก็เป็นขึ้นมา" และความมุ่งหมายของการดำรงอยู่คือเพื่อบูชาพระเป็นเจ้า มองว่าพระองค์เป็นพระเป็นเจ้าเฉพาะบุคคลซึ่งทรงสนองเมื่อใดก็ตามที่บุคคลต้องการหรือเป็นทุกข์เรียกหาพระองค์ ไม่มีคนกลาง เช่น นักบวช เพื่อติดต่อพระเป็นเจ้าซึ่งว่า "เรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นโลหิตชีวิตของเขาเสียอีก" มีกล่าวถึงธรรมชาติส่วนกลับในหะดีษกุดซีย์ "เราเป็นอย่างที่ผู้รับใช้ของเราคิด (คาด) ว่าเราเป็น"

อัลลอฮฺเป็นคำไม่มีพหูพจน์หรือเพศที่มุสลิมและคริสต์ศานิกชนและยิวที่พูดภาษาอารบิกอ้างถึงพระเป็นเจ้า ส่วน "อิเลาะห์" (อาหรับ: إله‎‎) เป็นคำที่ใช้กับเทวดาหรือเทพเจ้าโดยรวม

เทวทูต

ดูบทความหลักที่: มลาอิกะฮ์

ความเชื่อในเทวทูตเป็นหลักมูลต่อศรัทธาศาสนาอิสลาม คำภาษาอารบิกสำหรับทูตสวรรค์ (อาหรับ: ملك‎) หมายถึง "ทูต" เหมือนคำเดียวกันในภาษาฮีบรู (malakh) และกรีก (angelos) ตามคัมภีร์อัลกุรอาน เทวทูตไม่มีเจตจำนงเสรี ฉะนั้นจึงบูชาและเชื่อฟังพระเป็นเจ้าโดยทำตามอย่างสมบูรณ์ กิจของเทวทูตมีการสื่อสารวิวรณ์จากพระเป็นเจ้า การเฉลิมพระเกียรติพระเป็นเจ้า การบันทึกทุกกิริยาของบุคคล และการเอาวิญญาณของบุคคลเมื่อถึงกาลมรณะ มุสลิมเชื่อว่าเทวทูตทำจากแสง พรรณนาว่าเทวทูตเป็น "ทูต มีปีก สองหรือสามหรือสี่ (คู่) [อัลลอฮฺ]ทรงเพิ่มในการสร้างตามที่พระองค์ทรงประสงค์..."