ประวัติ ของ ศาสนาฮินดู

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสนาฮินดู

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศาสนาได้เสื่อมความนิยมลงระยะหนึ่งเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ จนมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ศังกราจารย์ได้ปฏิรูปศาสนาโดยแต่งคัมภีร์ปุราณะลดความสำคัญของศาสนาพุทธ และนำหลักปฏิบัติรวมทั้งหลักธรรมของศาสนาพุทธมหายานบางส่วนมาใช้และฟื้นฟูปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ให้เป็นศาสนาฮินดู โดยคำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ(เพี้ยนเป็นฮินดู) และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการเพิ่มเติมเทพเจ้าท้องถิ่นดั้งเดิมลงไป เนื่องจากเวลานั้นสังคมอินเดียไม่นับถือพระพรหมและแนวคิดพระเจ้าสร้างโลกอย่างมากเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันศาสนาพุทธกลับมีลักษณะเป็นกึ่งพหุเทวนิยม คือแม้ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก แต่ก็นิยมนับถือเทวดา ทำให้อินเดียในขณะนั้นเกิดมีเทพเจ้าท้องถิ่นมากมาย ทางตอนเหนือนับถือพระศิวะซึ่งเป็นเทพแห่งภูเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ชาวประมงและชาวนานับถือวิษณุซึ่งเป็นเทพที่ให้ฝนและพายุ ชาวป่านับถือพระนิรุทธ และตอนกลางนับถือพระพิฆเนตร คนอินเดียเวลานั้นเริ่มไม่นับถือพระพรหมของศาสนาพราหมณ์อันเป็นแนวคิดเอกเทวนิยมพระเจ้าองค์เดียวเป็นจำนวนมากขึ้น เพราะอิทธิพลของศาสนาพุทธที่เป็นอเทวนิยม(ไม่มีพระเจ้าสร้างโลก) แต่เมื่อต้องการรวมชาติ เมื่อครั้งขับไล่ราชวงศ์โมกุลของอิสลาม แต่ก็ไม่สามารถใช้ศาสนาพุทธได้ เพราะมุสลิมมองโกลที่เข้ามายึดครองและสั่งเข่นฆ่าพระสงฆ์คัมภีร์และวัดในพระพุทธศาสนาจนแทบสูญสิ้นไปจากอินเดีย จึงต้องมีศาสนาใหม่แทนพุทธและพราหมณ์เดิม จึงได้รวมเทพเจ้าแต่ละท้องถิ่นต่างๆมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับศาสนาพราหมณ์ โดยมีเทพเจ้าหลักสามองค์คือพรหม ศิวะ นาราย โดยการเพิ่มพระศิวะ และพระนารายที่คนในอินเดียตอนนั้นนับถือมากที่สุดเพิ่มเข้ามา ส่วนพระพรหมคนอินเดียไม่นิยมอีกเลยจนถึงปัจจุบัน โดยใช้แนวคิด พรหมผู้สร้าง นารายผู้รักษา ศิวะผู้ทำลาย หรือตรีมูรติ แล้วเรียกศาสนาของใหม่นี้ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศาสนาพราหมณ์จึงมีอีก ชื่อในศาสนาใหม่ว่า “ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้

ในภายหลังวรรณะพราหมณ์และวรรณกษัตริย์เกิดแย่งกันเป็นวรรณะอันดับหนึ่ง พระศิวะจึงเป็นตัวแทนของวรรณะพราหมณ์และพระนารายเป็นตัวแทนของวรรณะกษัตริย์ผ่านวรรณกรรมต่างๆ เกิดเป็นนิกายขึ้นมา ภายหลังเกิดแนวคิดศักติ(มีชายต้องมีหญิง)เหล่าเทพเจ้าจึงมีภรรยา พระสรรัสวดีคู่กับพระพรหม พระลักษมี(แม่โพสฬ)คู่กับพระนาราย พระอุมา(พระแม่กาลี)คู่กับพระศิวะ

พระพุทธศาสนาก็เกิดขึ้นท่ามกลางสังคมพราหมณ์ แม้แต่พระพุทธเจ้าและพุทธสาวกสมัยแรก ๆ ก็เคยนับถือศาสนาพราหมณ์หรือเคยเกี่ยวข้องกับวรรณะพราหมณ์มาก่อน และในนิทานชาดก และเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพุทธและพระพุทธเจ้า ก็มักจะมีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธและพราหมณ์ จึงมีอิทธิพลต่อกันและกัน

ในศาสนาพราหมณ์  คำว่า พราหมณ์ หมายถึง คนในวรรณะที่สูงที่สุดของสังคมอินเดีย มีหน้าที่สอนความรู้เกี่ยวกับพระเวทและทำหน้าที่ติดต่อเทพเจ้า ผู้ที่เป็นพราหมณ์เป็นโดยกำเนิด คือบุตรของพราหมณ์ก็จะมีสถานภาพเป็นพราหมณ์ด้วย

ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

” จนถึงปัจจุบันนี้

จึงมีอิทธิพลต่อกันและกัน


ใกล้เคียง

ศาสนาฮินดู ศาสนาฮินดูในประเทศไทย ศาสนาฮินดูแบบบาหลี ศาสนาฮินดูในประเทศมาเลเซีย ศาสนาฮินดูในประเทศเวียดนาม ศาสนาฮินดูกับกลุ่มแอลจีบีที ศาสนาฮินดูในประเทศญี่ปุ่น ศาสนาฮินดูในประเทศมัลดีฟส์