ศาสนาในประเทศเกาหลีใต้
ศาสนาในประเทศเกาหลีใต้

ศาสนาในประเทศเกาหลีใต้

ศาสนาในประเทศเกาหลีใต้ จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากร พ.ศ. 2558 พบว่าประชากรส่วนใหญ่ระบุตัวตนว่าไม่นับถือศาสนาหรือนับถือลัทธิชินโดร้อยละ 56.9 ขณะที่ประชากรที่นับถือศาสนาส่วนใหญ่ระบุตัวตนว่านับถือศาสนาคริสต์ (แบ่งเป็นโปรเตสแตนต์ร้อยละ 19.7 และโรมันคาทอลิกร้อยละ 7.9) และนับถือศาสนาพุทธแบบเกาหลีร้อยละ 15.5 ที่เหลือร้อยละ 0.8 นับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น ลัทธิว็อนบุล ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิช็อนโด ลัทธิแทซ็อนจินรีโฮ ลัทธิแทจง ลัทธิชึงซัน และศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์[1]ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ส่งอิทธิพลยิ่งตั้งแต่ยุคก่อน ส่วนศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 และมีศาสนิกชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดขึ้นจากพลวัตทางสังคมของเกาหลีใต้ในศตวรรษที่ผ่านมา[2] ทว่าหลัง พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา พบว่ามีผู้นับถือศาสนาลดลง ศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมอย่างลัทธิชินโดได้รับความนิยมและผู้ที่นับถือลัทธิดังกล่าวถูกนับเป็นประชากรไม่มีศาสนา จากการสำรวจใน พ.ศ. 2555 พบว่ามีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาร้อยละ 15 ระบุว่าไม่เชื่อในพระเจ้า[3] และการสำรวจสำมะโนครัวประชากร พ.ศ. 2558 พบว่ากลุ่มเยาวชนอายุ 20 ปี ไม่นับถือศาสนามากถึงร้อยละ 65[4]ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ประชากรส่วนใหญ่เป็นคริสต์ศาสนิกชนและผู้ที่นับถือศาสนาพื้นเมือง (คือลัทธิชินโด) ซึ่งศาสนาหลังนี้ไม่เคยได้รับการยอมรับในฐานะวัฒนธรรมของชาติดังศาสนาพื้นบ้านจีนและลัทธิชินโตของญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ศาสนาคริสต์จึงใช้จุดอ่อนของลัทธิชินโดในการเผยแผ่ศาสนา[5] ประชากรยังประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษซึ่งเป็นคติลัทธิขงจื๊อ[2] ในอดีตลัทธิขงจื๊อเป็นทั้งศาสนาและปรัชญาการปกครอง จักรพรรดิและชนชั้นสูงจึงให้การอุปถัมภ์โอบอุ้มเป็นกรณีพิเศษ ขณะที่ศาสนาพุทธแบบเกาหลีเป็นศาสนาที่หยั่งรากและรุ่งโรจน์ในคาบสมุทรเกาหลีมานาน แต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 20 ศาสนาพุทธก็สูญไปจากสถาบันศาสนาของเกาหลีนานถึง 500 ปีเพราะถูกราชวงศ์โชซ็อนปราบปราม[2][6] ศาสนาคริสต์เข้าสู่คาบสมุทรเกาหลีตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 พวกเขาทำการก่อตั้งโรงเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบ ซอฮัก เพื่อสนับสนุนการเผยแผ่ศาสนา หลังการล่มสลายของราชวงศ์โชซ็อนช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาชาวเกาหลีส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาคริสต์ เพราะกษัตริย์และชนชั้นสูงมองว่าการปกครองแบบตะวันตกเป็นการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย และให้การยอมรับการเผยแผ่ศาสนาของมิชชันนารีทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์[7] ในยุคอาณานิคมญี่ปุ่นช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 การระบุตัวตนว่าเป็นคริสต์ศาสนิกชนและลัทธิชาตินิยมเกาหลีหนักข้อขึ้น[8] หลังรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามที่จะผสานลัทธิชินโดกับลัทธิชินโตเพื่อกลืนวัฒนธรรมเกาหลีหลังการแบ่งคาบสมุทรเกาหลีออกเป็นสองประเทศ รัฐทางเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ส่วนรัฐทางใต้ต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์ คริสต์ศาสนิกชนเกาหลีกว่าครึ่งจากเกาหลีเหนือ[9] อพยพลงเกาหลีใต้[10] ประมาณการผู้อพยพลงใต้นี้อาจมากกว่าหนึ่งล้านคน[11] หลังคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐบาลเกาหลีใต้มีนโยบายอุปถัมภ์ลัทธิชินโด ในเวลาเดียวกันศาสนาคริสต์มีความเข็มแข็งขึ้น และศาสนาพุทธได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง[12] นักวิชาการระบุว่าสำมะโนครัวเกาหลีใต้ไม่นับผู้ที่นับถือลัทธิชินโดในบัญชี และผู้ที่นับถือศาสนาพื้นเมืองมักถูกดูถูกดูแคลน[13] โดยสถิติที่รวบรวมโดย ARDA[14] ให้ข้อมูลว่าใน พ.ศ. 2553 ชาวเกาหลีใต้นับถือศาสนาพื้นเมืองร้อยละ 14.7 นับถือศาสนาเกิดใหม่ร้อยละ 14.2 และนับถือลัทธิขงจื๊อร้อยละ 10.9[15]มีผู้สังเกตการลดลงของผู้นับถือศาสนาพุทธและผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกในสำมะโนครัวประชากรเมื่อ พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2558 โดยการสำรวจใน พ.ศ. 2548 สำรวจจากประชากรทั้งหมดผ่านแผ่นพับแจกจ่ายไปยังทุก ๆ ครอบครัว ขณะที่การสำรวจสำมะโนครัวประชากร พ.ศ. 2558 ดำเนินการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ และมีประชากรถูกสำรวจอย่างจำกัดเพียงร้อยละ 20 จากประชากรทั้งหมดของเกาหลีใต้ ทำให้เกิดการถกเถียงกันจากการสำรวจนี้ เพราะประชากรที่อาศัยอยู่ชนบทซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธและโรมันคาทอลิกซึ่งไม่คุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ต การสำรวจนี้จึงเอื้อประโยชน์แก่ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรเตสแตนต์ซึ่งเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายกว่า ชุมชนพุทธและคริสตังต่างวิพากษ์วิจารณ์การสำรวจสำมะโนครัวประชากรใน พ.ศ. 2558 นี้[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาในประเทศเกาหลีใต้ http://news.chosun.com/site/data/html_dir/2016/12/... http://www.thearda.com/ http://www.thearda.com/internationalData/countries... http://www.wingia.com/web/files/news/14/file/14.pd... http://afe.easia.columbia.edu/tps/300ce_ko.htm#bud... http://image.kmib.co.kr/online_image/2016/1219/201... http://kostat.go.kr/portal/eng/pressReleases/8/7/i... http://kosis.kr/statHtml/statHtml.do?orgId=101&tbl... http://kosis.kr/statHtml/statHtml.do?orgId=101&tbl... http://kosis.kr/statHtml/statHtml.do?orgId=101&tbl...