สาขาของศิลปินแห่งชาติ ของ ศิลปินแห่งชาติ

มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกจำแนกศิลปินแห่งชาติออกเป็นสาขาศิลปะ 4 ด้านสาขาหลัก คือ[3]

สาขาทัศนศิลป์

หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติ หรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ และมีเอกลักษณ์โดดเด่น ดังต่อไปนี้

  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านจิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียน ภาพสี และภาพลายเส้น
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านประติมากรรม หมายถึง งานปั้น และแกะสลัก
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ หรือโลหะ ฯลฯ
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านภาพพิมพ์และสื่อผสม หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ซิลค์สกรีน
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่นำเสนอด้วยการสื่ออารณ์และความรู้สึก
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านภาพถ่ายศิลปะ หมายถึง ผลงานภาพถ่ายงานศิลปะชั้นดีเยี่ยม โดดเด่น ที่นำเสนอด้วยการทำให้ผู้ชมสะเทือนใจและอิ่มเอมกับความงามของภาพที่ปรากฏในภาพแต่ละชุด
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านสื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธี และเทคนิคต่าง ๆ อย่างอิสระ
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย) หมายถึง ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและรูปแบบทันสมัย[4]
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) หมายถึง ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและรูปแบบสะท้อนถึงประเพณี ต่าง ฯ ของไทย[5]
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านสถาปัตยกรรมไทย หมายถึง ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและรูปแบบสะท้อนถึงประเพณี ต่าง ฯ ของไทย[6]
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านประณีตศิลป์ หมายถึง ผลงานศิลปะ อย่างประณีต สวยสดงดงาม[7]
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านประณีตศิลป์-แกะสลัก หมายถึง ผลงานศิลปะการแกะสลักเครื่องสดโดยการแกะสลักผัก ผลไม้ ใบตอง ดอกไม้สด อย่างประณีต สวยสดงดงาม
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านประณีตศิลป์-ศิลปะผ้าทอ หมายถึง ผลงานศิลปะการทอผ้า อย่างประณีต สวยสดงดงาม[8]
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านประณีตศิลป์-ศิลปะปูนปั้น หมายถึง ผลงานศิลปะการปั้นปูน อย่างประณีต สวยสดงดงาม[9]
  • ด้านสาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยด้านออกแบบอุตสาหกรรม หมายถึง ผลงานศิลปะผลงาน การออกแบบงานเครื่องปั้นดินเผา เทคนิคการเคลือบและการลงสีเฉพาะตัว อย่างประณีต สวยสดงดงาม[10]

สาขาศิลปะการแสดง

หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่ การดนตรี, นาฏศิลป์ และภาพยนตร์และละคร

  • ด้านศิลปะการแสดงสาขาดนตรี แบ่งออกเป็นสาขาดนตรีไทยและสาขาดนตรีสากล แบ่งออกเป็นสาขาย่อยดังนี้

- สาขาย่อยด้านนักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องดนตรี

- สาขาย่อยด้านนักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับ และ/หรือสามารถแหล่ทำนองต่าง ๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม)

- สาขาย่อยด้านนักประพันธ์เพลง ประพันธ์คำร้อง ทำนอง จังหวะ ทั้งทางร้อง และทางดนตรี

- สาขาย่อยด้านผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น

- สาขาย่อยด้านผู้ผลิตเครื่องดนตรี

- สาขาย่อยละครรำ อาทิ รำฟ้อน ระบำ รำเซิ้ง เช่น โนห์รา ชาตรี ระบำแขก ฯลฯ

- สาขาย่อยละครร้อง อาทิ โขน ลิเก ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เช่น หุ่นเชิด หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้อง หรือบท

- สาขาย่อยละครรำ (เพื่อการแสดง)

สาขาการแสดงภาพยนตร์ แบ่งออกเป็นสาขาย่อย คือ

- สาขาย่อยภาพยนตร์

- สาขาย่อยผู้สร้างภาพยนตร์

- สาขาย่อยผู้ประพันธ์คำร้อง - ผู้กำกับภาพยนตร์

- สาขาย่อยการแสดงภาพยนตร์ - นักแสดง

- สาขาย่อยนักพากษ์ - นักแสดง

สาขาการแสดงละคร

- สาขาย่อยละคร

- สาขาย่อยการแสดงละครเวที

- สาขาย่อยการแสดงละครเวทีพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ

- สาขาย่อยการแสดงละครเวที - นักแสดง

- สาขาย่อยการแสดงละครเวที - นักแสดงตลก

- สาขาย่อยการแสดงละครโทรทัศน์

- สาขาย่อยการแสดงละครโทรทัศน์ - นักแสดง

- สาขาย่อยการแสดงละครโทรทัศน์ - นักแสดงตลก

สาขาวรรณศิลป์

หมายถึง บทประพันธ์ที่ทำให้เกิดจินตนาการ เห็นเป็นภาพมโนคติ ภาพลักษณ์ ความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น บันเทิงคดีสำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ วรรณกรรมเยาวชน หนังสือเด็กที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง

สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม

หมายถึง งานออกแบบหรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย