เครื่องฉายดาว ของ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

เครื่องฉายดาว ZEISS Mark IV

1.เครื่องฉายดาว ZEISS Mark IV (มาร์ค โฟร์)

ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ม.ล.ปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสร้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และหอดูดาว ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ ตลอดจนเป็นแหล่งที่เยาวชนสามารถไปชุมนุมหาความรู้ได้ง่าย เยาวชนจะได้เรียนจากของจำลองเหมือนของจริงทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งและรวดเร็วกว่าการสอนด้วยปากเปล่าทั้งก่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความมีเหตุผลและความเพลิดเพลิน ด้วยกระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้กองอุปกรณ์การศึกษา กรมวิชาการเป็นเจ้าของในการก่อสร้างและดำเนินการต่อไป

คณะรัฐบาลได้อนุมัติให้ดำเนินการ ก่อสร้างเมื่อ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2504 โดยมีห้างบีกริม แอนโก กรุงเทพ จำกัด และตัวแทน บริษัท คาร์ลไซซ์ ในสหพันธรัฐเยอรมันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จนเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพเมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2507

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิด อาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและทอดพระเนตรการแสดงทางท้องฟ้า วันที่ 18 สิงหาคม 2507 ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดแสดงให้บริการแก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2507 เป็นต้นมา

ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการด้านเทคนิคว่า เครื่องฉายดาวระบบกลไกมอเตอร์และเลนส์ (Opto mechanical)

1. บริษัทผู้ผลิต Carl Zeiss Co., Ltd. ประเทศเยอรมนี

2. ชื่อรุ่น เครื่องฉายดาว ZEISS Mark IV (มาร์ค โฟร์)

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ใช้ไซซ์ส รุ่นที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยระบบเครื่องกล ระบบไฟฟ้า และระบบแสงที่ประณีตซับซ้อน สามารถแสดงภาพดวงดาวบนท้องฟ้าของประเทศใดก็ตาม ตามวันและเวลาที่ต้องการ โดยมีความสามารถฉายดาวฤกษ์ได้ 9,000 ดวง, ฉายดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ 5 ดวง เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวต่างๆ, ฉายภาพกลุ่มดาว ทางช้างเผือก กระจุกดาว ดาวหาง ดาวตก เมฆ แสงรุ่งอรุณ แสงสนธยา, แสดงการเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา เส้นศูนย์สูตร เส้นสุริยวิถี เส้นเมอริเดียน ระบบสุริยะ และโลกหมุนรอบตัวเอง

เครื่องฉายดาวระบบดิจิตอล

2.เครื่องฉายดาวระบบดิจิตอล

เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์การฉายดาวให้มีความทันสมัย สอดรับกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการศึกษา องค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จึงมอบหมายให้ บริษัท สยาม ทีซี เทคโนโลยี จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญในงานวิศวกรรมที่ครอบคลุมตั้งแต่ ที่เป็นผู้นำในงานบริการด้านการจัดหาสินค้า และเทคโนโลยีต่าง ๆ งานประกอบและติดตั้งหรือการบำรุงรักษาอุปกรณ์ รวมทั้งในงานวิศวกรรมวางระบบ โซลูชั่นต่าง ๆ ในเครือดิทโต้ กรุ๊ป และมีพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง บริษัท Evans and Sutherland (E&S) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลกด้านเทคโนโลยีเครื่องฉายดารระบบดิจิตอล เป็นผู้นำเครื่องฉายดาว จำนวน 1 ชุด เข้ามาใช้งานตามโครงการจัดซื้อ โดยเครื่องฉายดาวระบบดิจิตอล ที่นำมาใช้เพิ่มเติมนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

2.1 ส่วนของการฉาย

ใช้เครื่องฉายภาพ ยี่ห้อ คริสตี้ (Christie) ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศว่าเป็นเครื่อง Projector ที่ดีที่สุดอันดับต้นๆ ในปัจจุบัน คริสตี้ บ๊อกเซอร์ ได้รับการออกแบบเพื่อให้มีน้ำหนักเบาขึ้น พร้อมทั้งยังพัฒนาให้ มีความสว่างที่สูงยอดเยี่ยม คริสตี้ ซึ่งมีความละเอียด 4K ความสว่างต่อเครื่องสูงถึง 30,000 Lumens และได้รับการออกแบบให้เป็น Projector สำหรับการใช้งานในโรงละคร ท้องฟ้าจำลองขนาดใหญ่ รวมถึงยังสามารถรองรับการใช้งานแบบ Heavy Duty ได้เป็นอย่างดี และด้วยเลนส์ Fish eye ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ฉายภาพได้กว้างกว่า Projector ทั่วไป และด้วยการติดตั้งทาง E&S ทำการติดตั้ง Projector โดยให้เลนส์ไม่ให้โดนส่วนบนของเครื่องฉายดาวระบบกลไกมอเตอร์และเลนส์ ทำให้ลำแสงของเครื่องฉายดาวที่ฉายขึ้นไปบนจอโดมเลยจุดกึ่งกลางของจอโดม และส่วนล่างลำแสงที่ฉายออกไปจะไปสิ้นสุดที่ขอบโดมฉายดาว ซึ่งทำให้ทั้ง 2 Projector นั้นมีพื้นที่ซ้อนทับกันด้านบนกลางจอโดม (Blending Region) ซึ่งจะมีการใช้ Software Digistar

2.2 ส่วนของการควบคุม

Software โดยการพัฒนามาถึงรุ่นที่ 5 ที่ชื่อว่า Digistar5 เป็น Software ควบคุมการทำงานการฉายภาพบนจอโดม เพื่อให้ภาพจากสอง Projector เป็นภาพเดียวกัน คือการฉายภาพแบบเต็มโดม ซึ่งเทคโนโลยีของ Digistar5 มีระบบ Auto Blending และ Auto Alignment ที่ทำให้ Projector ฉายภาพเป็นภาพเดียวกันได้เสมือนการฉายด้วย Projector เครื่องเดียว

ทั้งนี้นอกจากการให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ดำเนินการปรับปรุงศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพรวมถึงการดำเนินการปรับปรุง ตกแต่งบรรยากาศภายในห้องฉายดาว ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ภายใต้แนวความคิด ในการใช้ Theme แสงแห่ง Aurora เพื่อสร้างความสดใส แปลกตา ให้กับห้องฉายดาวที่มีอายุกว่า 52 ปี แต่ยังความคงความทันสมัยให้แก่ผู้ศึกษาได้เพลิดเพลินและสนุกสนาน กับการศึกษาดวงดาวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นแล้ว ดิทโด้ ยังให้ความสำคัญและน่าสนใจมาก อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน รวมถึงผู้ที่สนใจด้านดาราศาสตร์ จังหวัดที่ห่างไกล ได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าถึงท้องฟ้าจำลองได้อย่างง่ายดาย ไม่ใช่แค่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมถึง

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์การบินทหารบก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้