ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (อังกฤษ: Centre for Resolution of Emergency Situation) หรือเรียกโดยย่อว่า ศอฉ. (อังกฤษ: CRES) เป็นหน่วยงานพิเศษของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553[1] ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อการควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยก่อนหน้านี้ได้ใช้ชื่อว่า ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ตามประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร คำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่ 103/2553 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2553 โดยให้ สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย อนึ่งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.)นั้นมีการจัดตั้งและยุบเป็นช่วงๆ รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดตั้งศอ.รส.ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2552[2]ถึง 1 กันยายน 2552 ซึ่งเป็นการจัดตั้งตามกฎหมาย พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภายหลังประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในพื้นที่เขตดุสิต ครั้งที่สองระหว่างวันที่ 18-22 กันยายน 2552[3]ครั้งที่สาม 15-25 ตุลาคม 2552[4]รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดตั้ง ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็น ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย และ พลตำรวจตรี ประวุฒิ ถาวรศิริ เป็นโฆษก ศอ.รส. พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย และ พล.ต.ต.พินิต มณีรัตน์ เป็นรองโฆษก ศอ.รส. เพื่อควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งชุมนุมประท้วงบริเวณศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำ[5]และ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตามประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 ศอ. รส. ได้ออกประกาศ 2 ฉบับเรื่องการห้ามปิดถนนและออกหมายเรียกแกนนำมารับทราบข้อกล่าวหา[6]และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ได้ออกประกาศห้ามเข้ากระทรวงศึกษาธิการเป็นฉบับที่ 3/2554เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม4จังหวัด โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป ศอฉ.จึงสิ้นสุดอำนาจหน้าที่ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไปด้วย และได้มีการสั่งการให้โอนย้ายงานที่ยังค้างคาอยู่ไปอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอยู่หลายฝ่าย ทั้งทหาร ตำรวจ และข้าราชการการเมือง รวมทั้งหน่วยงานพิเศษเช่นกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

วันก่อตั้ง 7 เมษายน พ.ศ. 2553
เขตอำนาจ เฉพาะท้องที่ในประเทศไทย ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
วันยุบเลิก 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ผู้บริหารหลัก ประวิตร วงษ์สุวรรณ, ผู้อำนวยการ
ประยุทธ์ จันทร์โอชา, หัวหน้าผู้รับผิดชอบสถานการณ์

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์การบินทหารบก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน http://www.ohbar.com.au/main/view-content.php?id_c... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.prachatai.com/journal/2010/05/29381 http://www.ryt9.com/s/nnd/1016660 http://news.sanook.com/611261-%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E... http://news.sanook.com/982830/ http://sport.sanook.com/927742/%E0%B8%99%E0%B8%9B%... http://thairecent.com/Crime/2010/677434/ http://ronakorn.wordpress.com/2010/04/26/%E0%B8%A8... http://www.youtube.com/watch?v=gDilc5PrrPI