สงครามกลางเมืองจีน
สงครามกลางเมืองจีน

สงครามกลางเมืองจีน

Tsou Hong Da
Bai Chongxi
เฉิน เฉิง
Li Zongren
Yan Xishan
He Yingqin1945–1949: เสียชีวิต ~1-3 ล้านคน[6]สงครามกลางเมืองจีน (ค.ศ. 1927-1950) เป็นสงครามกลางเมือง สู้รบกันระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง พรรคปกครองสาธารณรัฐจีน ฝ่ายหนึ่ง กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกฝ่ายหนึ่ง[7] เพื่อแย่งชิงการควบคุมประเทศจีน ซึ่งลงเอยด้วยการแตกออกเป็นสองประเทศ คือ สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน กับสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ สงครามเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1927 ท่ามกลางการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ (Northern Expedition)[8] และสิ้นสุดลงเมื่อยุทธการสำคัญที่ดำเนินอยู่จบลงใน ค.ศ. 1949-1950 อย่างไรก็ดี มีการถกเถียงกันว่า สงครามได้หยุดลงอย่างเป็นทางการแล้วหรือยัง[9] ความขัดแย้งยังดำเนินต่อในรูปของการขู่ใช้กำลังทหารและการกดดันทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสถานะทางการเมืองของไต้หวัน ความตึงเครียดที่ดำเนินต่อมานั้นถูกเรียกว่าเป็น ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ สงครามกลางเมืองจีนเป็นสงครามใหญ่ที่สุดอันดับสามที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ รองจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองสงครามนี้เป็นสัญลักษณ์ของความแตกแยกทางอุดมการณ์ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งชาตินิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน สามปีสุดท้ายของสงคราม (ค.ศ. 1947-1949) เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ สงครามปลดปล่อย หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สงครามปฏิวัติภายในที่สาม (第三次國内革命戰爭) ในไต้หวัน สงครามยังรู้จักกันในชื่อ สงครามต่อต้านการก่อการกำเริบต่อคอมมิวนิสต์ (戡亂戰爭) ก่อน ค.ศ. 1991 หรือโดยทั่วไปคือ สงครามกลางเมืองชาตินิยม-คอมมิวนิสต์ (國共內戰) สำหรับทั้งสองฝ่ายสงครามกลางเมืองดำเนินไปเป็นพัก ๆ กระทั่งสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองนำพาให้ทั้งสองพรรคร่วมกันจัดตั้งแนวร่วมที่สอง การทัพของญี่ปุ่นพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1945 เป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามกลางเมืองเต็มขั้นของจีนดำเนินต่อมาใน ค.ศ. 1946 หลังจากสี่ปี ค.ศ. 1950 ได้มีการยุติความเป็นปรปักษ์ทางทหารสำคัญ โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ควบคุมจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมทั้งไห่หนาน ส่วนย่อยของมณฑลกวางตุ้งขณะนั้น กระทั่ง ค.ศ. 1988) และเขตอำนาจของสาธารณรัฐจีนซึ่งถูกจำกัดเฉพาะเกาะไต้หวัน เผิงหู หมู่เกาะจินเหมิน หมู่เกาะหมาจู่และหมู่เกาะห่างไกลอีกมาก มีการสังเกตว่า ขบวนการสัตยาบันหยานอัน (Yan'an Rectification Movement) ซึ่งก่อร่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นใหม่ การหยุดยิงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1946 ที่ทูตพิเศษของสหรัฐอเมริกา จอร์จ มาร์แชลล์ เรียกร้องนั้น ขัดขวางความพยายามของจีนในการเอาชนะคอมมิวนิสต์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่ทวีความเลวร้ายในพื้นที่ซึ่งฝ่ายชาตินิยมควบคุมอยู่ การที่กองทัพโซเวียตส่งมอบปืนใหญ่ที่ยึดได้จากกองทัพคันโตให้แก่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (ตามคำอธิบายเพิ่มเติมในข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 505) และการให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายชาตินิยมที่ขัดแย้งกันของอเมริกา ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสู่ความพินาศของสาธารณรัฐจีนบนจีนแผ่นดินใหญ่ในเวลาไม่ถึง 5 ปีจวบจนทุกวันนี้ เนื่องจากไม่มีการลงนามการสงบศึกหรือสนธิสัญญาสันติภาพ สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงยังอ้างสิทธิ์เหนือไต้หวันเป็นอาณาเขตส่วนหนึ่งของตน และยังขู่ใช้กำลังทหารต่อไต้หวัน ฝ่ายสาธารณรัฐจีนเองก็มีการอ้างสิทธิ์เหนือจีนแผ่นดินใหญ่ และทั้งสองยังต่อสู้กันเหนือในการรับรองทางการทูต สงครามด้วยอาวุธได้เปลี่ยนไปเป็นสงครามน้ำลาย ทุกวันนี้ สงครามเกิดขึ้นในแนวรบการเมืองและเศรษฐกิจในรูปของความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ สาธารณรัฐประชาชนจีนขู่ว่าจะใช้กำลังทหารรุกรานหากประกาศเอกราชไต้หวันอย่างเป็นทางการ โดยเปลี่ยนชื่อและได้รับการรับรองจากนานาชาติเป็นสาธารณรัฐไต้หวัน ทว่า รัฐทั้งสองที่แยกกันโดยพฤตินัยบนสองฟากของช่องแคบไต้หวันมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกัน[10]

สงครามกลางเมืองจีน

สถานะ
  • ไม่มีการลงนามการสงบศึกหรือสนธิสัญญาสันติภาพ[3][4]
  • ชัยชนะทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในจีนแผ่นดินใหญ่
  • สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นบนจีนแผ่นดินใหญ่
  • รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายไปยังกรุงไทเป
วันที่สถานที่สถานะ
วันที่12 เมษายน 1927 – กันยายน 1937[1]
31 มีนาคม 1946 – 1 พฤษภาคม 1950[2]
สถานที่จีน
สถานะ
  • ไม่มีการลงนามการสงบศึกหรือสนธิสัญญาสันติภาพ[3][4]
  • ชัยชนะทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในจีนแผ่นดินใหญ่
  • สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นบนจีนแผ่นดินใหญ่
  • รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายไปยังกรุงไทเป
สถานที่ จีน
วันที่ 12 เมษายน 1927 – กันยายน 1937[1]
31 มีนาคม 1946 – 1 พฤษภาคม 1950[2]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด