สงครามกลางเมืองรัสเซีย
สงครามกลางเมืองรัสเซีย

สงครามกลางเมืองรัสเซีย

Revolutionary Insurrectionary Army of Ukraine (1918–21)
Left SR (until March 1918)
Green armies (until 1919)สาธารณรัฐใหม่ที่ถูกผนวกกองทัพที่นิยมเยอรมนี เนสเตอร์ แม็กโน นีโคไล ยูเดนิชThe records are incomplete.[2]สงครามกลางเมืองรัสเซีย (รัสเซีย: Гражда́нская война́ в Росси́и, อักษรโรมัน: Grazhdanskaya voyna v Rossiyi)[1] เริ่มในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 เมื่อกลุ่มเชโกสโลวาเกีย (อดีตเชลยสงครามที่เดินทางทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียไปยังเมืองวลาดีวอสตอคและเป็นพวกลี้ภัย) เกิดการปะทะกับกองทหารโซเวียตที่บริเวณเทือกเขายูรัล และยังมีทีท่าว่าจะยึดขบวนรถไฟ การยึดครองนี้จะทำให้กองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ (หรือพวก "ขาว") สามารถจัดกองทัพต่อต้านบอลเชวิคในไซบีเรียตะวันตก กองกำลังฝ่ายขาวนี้ยังมีที่ตั้งมั่นอยู่ในเขตรัสเซียในยุโรป ซึ่งถูกกองทัพเยอรมันยึดครองในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 ระหว่างเริ่มการยึดครองนั้น ทหารของกองทัพอังกฤษได้เข้ามาตั้งมั่นที่เมืองอาร์คันเกลสค์ มูร์มันสค์ และทรานส์คอเคซัส เหมือนกับว่าจะช่วยฝ่ายรัสเซียขาว และกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศสก็เข้ามาตั้งที่ออเดสซา แต่ปรากฏว่าทั้งสองชาติไม่ได้ต้องการที่จะเข้ามาปล่อยฝ่ายขาวอย่างจริงจัง เพราะทั้งสองได้ถอนตัวออกไปหมดในตอนปลาย ค.ศ. 1919พวกบอลเชวิคถูกคุกคามจากรอบด้าน โดยในยูเครนนั้น จักรวรรดิ​เยอรมนีได้สนับสนุนรัฐบาลแยกดินแดนชาวยูเครน ส่วนทางใต้นายทหารพระเจ้าซาร์คือ นายพลอันตอน เดนีกิน (Anton Denikin) ได้จัดตั้งกองทัพอาสาสมัครมีกำลังสำคัญคือ ทหารคอสแซคขับไล่พวกแดงออกจากคอเคซัส ในอูรัลและไซบีเรีย นายพลสมัยพระเจ้าซาร์คือนายพลอะเลคซันดร์ คอลชัค (A.V. Kolchak) จัดตั้งกองทัพของตนขึ้นมาพร้อมกับประกาศตนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัสเซียในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 กองกำลังของทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเข้าโจมตีมอสโกใน ค.ศ. 1919 แต่กองทัพคอลชัคถูกกองทัพแดงขับไล่ไปไซบีเรียใน ค.ศ. 1920 กองทัพเดนีกินถูกทำลายใน ค.ศ. 1920 และเมื่อมีกองทัพของอดีตนายพลสมัยพระเจ้าซาร์อีกคนหนึ่งคือ นีโคไล ยูเดนิช ยกจากเอสโตเนียสู่เปโตรกราดในฤดูร้อน ค.ศ. 1919 ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้ เช่นเดียวกัน การคุกคามครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกเมื่อโปแลนด์ยกกองทัพบุกยูเครน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1920 กองทัพแดงขับไล่กองทัพโปแลนด์ถอยร่นไปถึงแม่น้ำวิสตูลา แต่ชาวโปแลนด์ผู้รักชาติสามารถร่วมมือกันรักษากรุงวอร์ซอไว้ได้ และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสงบศึกในเดือนตุลาคมความพ่ายแพ้ของฝ่ายขาวทุกด้าน ทำให้บอลเชวิคสามารถขยายอิทธิพลเข้าไปในทุกภูมิภาค แห่งสุดท้ายคือ วลาดีวอสตอค ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นภายหลังการยึดครองของญี่ปุ่น ค.ศ. 1918 ได้ถอนตัวออกไปใน ค.ศ. 1922ชัยชนะของบอลเชวิคเกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย เช่น การที่เลออน ทรอตสกี (Leon Trotsky) สามารถระดมกำลังทหารของซาร์นิโคลัสที่2จัดเป็นกองทัพแดงที่แข็งแกร่ง การควบคุมเขตอุตสาหกรรมสำคัญทางภาคกลาง และความสามารถในการส่งกำลังจากออกมอสโกไปยังที่ที่ต้องการได้เป็นรัศมีที่กว้าง

สงครามกลางเมืองรัสเซีย

สาเหตุ การปฏิวัติเดือนตุลาคม
สถานที่ จักรวรรดิรัสเซีย, มองโกเลีย, ตูวา, เปอร์เซีย
ผลลัพธ์
วันที่ 7 พฤศจิกายน (25 ตุลาคม) ค.ศ. 1917 – ตุลาคม ค.ศ. 1923[1]
วันที่สถานที่สาเหตุผลลัพธ์
วันที่7 พฤศจิกายน (25 ตุลาคม) ค.ศ. 1917 – ตุลาคม ค.ศ. 1923[1]
สถานที่จักรวรรดิรัสเซีย, มองโกเลีย, ตูวา, เปอร์เซีย
สาเหตุการปฏิวัติเดือนตุลาคม
ผลลัพธ์

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด