สงครามกลางเมืองอเมริกา
สงครามกลางเมืองอเมริกา

สงครามกลางเมืองอเมริกา

วินฟีลด์ เอส. แฮนค็อค
จอร์จ บี. แม็คเคลแลน
วิลเลียม ที. เชอร์แมน
ยูลิสซิส เอส. แกรนท์
เดวิด จี. ฟารากัต
จอร์จ จี. มี้ด โรเบิร์ต อี. ลี
โจเซฟ อี. จอห์นสตัน
สโตนวอลล์ แจ็กสัน
สตีเฟน มัลเลอรี
พี. จี. ที. โบรีการ์ด
เจมส์ ลองสตรีทเสียชีวิตในที่คุมขังของสมาพันธรัฐอเมริกา ราว 25,000 นาย[3]
เสียชีวิตด้วยเหตุผลอื่น 224,097 นาย [2]
ได้รับบาดเจ็บ 281,881 นาย [2]
เสียชีวิตรวมแล้ว 364,511 นาย[2]เสียชีวิตในที่คุมขังของสหรัฐอเมริกา ราว 30,000 นาย[2]
เสียชีวิตด้วยเหตุผลอื่น 59,297 นาย[5][2]
รวมเสียชีวิตทั้งสิ้น 133,821 นาย[2]
ได้รับบาดเจ็บ 194,026 นาย[2]
บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสงครามกลางเมืองอเมริกา (อังกฤษ: American Civil War) เป็นสงครามกลางเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐระหว่างปี 1861 ถึง 1865 สืบเนื่องจากข้อโต้แย้งยืดเยื้อเกี่ยวกับการถือครองทาส ระหว่างฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสหภาพซึ่งประกาศความภักดีต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสมาพันธรัฐซึ่งสนับสนุนสิทธิของมลรัฐในการคงไว้ซึ่งสถาบันทาสอีกฝ่ายหนึ่งในบรรดา 34 รัฐของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 1861 เจ็ดรัฐทาสในภาคใต้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐเพื่อตั้งเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา หรือ "ฝ่ายใต้" สมาพันธรัฐเติบโตจนมี 11 รัฐทาส รัฐบาลสหรัฐไม่เคยรับรองทางการทูตซึ่งสมาพันธรัฐ เช่นเดียวกับประเทศอื่นทุกประเทศ (แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะให้สถานภาพคู่สงครามแก่สมาพันธรัฐ) ส่วนมลรัฐที่ยังภักดีต่อสหรัฐ (รวมทั้งรัฐชายแดนซึ่งทาสชอบด้วยกฎหมาย) เรียกว่า "สหภาพ" หรือ "ฝ่ายเหนือ"สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1861 เมื่อกองทัพสมาพันธรัฐโจมตีที่ตั้งทหารสหรัฐที่ฟอร์ตซัมเทอร์ในเซาท์แคโรไลนา ลินคอล์นตอบสนองโดยเรียกระดมพลอาสาสมัครจากแต่ละรัฐ เกิดกระแสความเป็นชาตินิยมในภาคเหนือขึ้นในช่วงข้ามคืน การเปิดฉากสงครามแบ่งแยกดินแดน กระตุ้นให้รัฐอีกสี่รัฐใกล้ชายแดน ได้แก่ เวอร์จิเนีย เทนเนสซี อาร์คันซอ และนอร์ทแคโรไลนา ประกาศแยกตัวเพิ่ม ฝ่ายสหภาพควบคุมพื้นที่รัฐชายแดนในช่วงต้นสงครามและเริ่มยุทธวิธีปิดล้อมทางทะเล การสู้รบส่อเค้ายืดเยื้อเมื่อทัพของสหภาพเพลี่ยงพล้ำในยุทธการที่บูลรัน การสู้รบในเขตสงครามตะวันออกเปิดฉากด้วยความได้เปรียบของฝ่ายสมาพันธรัฐ ซึ่งสามารถสกัดกั้นความพยายามของสหภาพในการยึดริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย เมืองหลวงของสมาพันธรัฐได้หลายครั้ง ทำให้ฝ่ายใต้ฮึกเหิม และตัดสินใจบุกขึ้นเหนือในปลายหน้าร้อนปี 1862 แต่หลังจากการทัพคาบสมุทร (Peninsula Campaign) สิ้นสุดลง ในเดือนกันยายน 1862 ฝ่ายสหภาพก็ตั้งตัวติด และสามารถหยุดการรุกคืบของสมาพันธรัฐได้ในยุทธการที่แอนตีทึม (Antietam) ซึ่งทำให้สหราชอาณาจักรเปลี่ยนใจไม่เข้าแทรกแซงในสงคราม[6] หลังจากชัยทางยุทธวิธีที่แอนตีทึมไม่กี่วัน ลินคอล์นก็ประกาศเลิกทาส และกลายเป็นจุดเปลี่ยนของสงคราม[7]ในปี 1863 การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สองของนายพลสมาพันธรัฐ โรเบิร์ต อี. ลี ยุติลงด้วยความปราชัยที่ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก ส่วนในแนวรบด้านตะวันตก ฝ่ายสหภาพเข้าควบคุมแม่น้ำมิสซิสซิปปีได้ หลังยุทธการที่ไชโลห์ (Shiloh) และการล้อมวิคสเบิร์ก (Vicksburg) ซึ่งเป็นผลให้สมาพันธรัฐถูกแบ่งออกตรงกลางและกองทัพถูกทำลายไปเป็นอันมาก ด้วยความสำเร็จในเขตสงครามตะวันตก ยูลิสซิส เอส. แกรนท์จึงได้รับอำนาจบังคับบัญชากองทัพทั้งหมดของฝ่ายสหภาพในปี 1864 แกรนท์เข้าจัดโครงสร้างกองทัพและยุทธวิธีการรบเพื่อให้กองทัพของวิลเลียม เทคุมเซห์ เชอร์แมน, ฟิลิป เชอริแดน, และแม่ทัพคนอื่น ๆ สามารถโจมตีสมาพันธรัฐจากทุกทิศทาง นอกจากนี้ยังเพิ่มความเข้มงวดในการปิดล้อมทางทะเล; แกรนท์นำการทัพภาคพื้นดินเพื่อเข้ายึดริชมอนด์ โดยพยายามตรึงลีเอาไว้ป้องกันเมืองหลวง แต่แล้วเปลี่ยนทางเดินทัพเพื่อไปปิดล้อมปีเตอร์สเบิร์ก และทำลายกองกำลังสมาพันธรัฐที่เหลือของลีเกือบทั้งหมด แกรนท์มอบอำนาจให้เชอร์แมนเข้ายึดแอตแลนตาและเคลื่อนทัพไปทะเลโดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายสาธารณูปโภคของสมาพันธรัฐ การสู้รบที่สำคัญครั้งสุดท้าย คือ การล้อมปีเตอร์สเบิร์ก กองทัพของลีตัดสินใจทิ้งปีเตอร์สเบิร์กในปลายเดือนมีนาคม 1865 และไม่สามารถฟื้นตัวอีก ส่งผลให้ลียอมจำนนต่อแกรนท์ที่อาคารศาลแอพโพแมตท็อกซ์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 1865 การสิ้นสุดของสงครามนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 14 ซึ่งรับรองสิทธิของพลเมืองที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคทั่วทั้งสหรัฐสงครามกลางเมืองอเมริกาเป็นสงครามอุตสาหกรรมที่แท้จริงครั้งแรก ๆ ของโลก มีการใช้ทางรถไฟ โทรเลข เรือกลไฟ และอาวุธซึ่งผลิตเป็นจำนวนมากอย่างกว้างขวาง แบบของสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งนายพลเชอร์แมนพัฒนาขึ้นในรัฐจอร์เจีย และการสงครามสนามเพลาะรอบปีเตอร์สเบิร์กเกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในทวีปยุโรป สงครามครั้งนี้ยังเป็นสงครามที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ ซึ่งส่งผลให้ทหารเสียชีวิตกว่า 620,000 นาย และพลเรือนเสียชีวิตไม่ทราบจำนวน นักประวัติศาสตร์ จอห์น ฮัดเดิลสตัน ประเมินยอดผู้เสียชีวิตว่า ชายรัฐฝ่ายเหนืออายุระหว่าง 20–45 ปีเสียชีวิตไป 10% และชายรัฐฝ่ายใต้อายุระหว่าง 18–40 ปีเสียชีวิตไป 30%[8] ชัยของฝ่ายเหนือหมายถึงจุดจบของสมาพันธรัฐและทาสในสหรัฐ และเสริมอำนาจแก่รัฐบาลกลาง ปัญหาทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและเชื้อชาติของสงครามมีอิทธิพลต่อยุคบูรณะ ซึ่งดำเนินไปจนถึงปี 1877

สงครามกลางเมืองอเมริกา

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่12 เมษายน 1861 – 9 เมษายน 1865 (ตามสนธิสัญญาสงบศึก)[1]
(ปะทะครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 1865)
สถานที่สหรัฐภาคใต้ สหรัฐภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สหรัฐภาคตะวันตก มหาสมุทรแอตแลนติก
ผลลัพธ์ฝ่ายสหภาพชนะ
  • ยุบสมาพันธรัฐ
  • สหรัฐธำรงบูรณภาพแห่งดินแดน
  • การเลิกทาส
  • การเริ่มต้นสมัยบูรณะ
สถานที่ สหรัฐภาคใต้ สหรัฐภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สหรัฐภาคตะวันตก มหาสมุทรแอตแลนติก
ผลลัพธ์ ฝ่ายสหภาพชนะ
  • ยุบสมาพันธรัฐ
  • สหรัฐธำรงบูรณภาพแห่งดินแดน
  • การเลิกทาส
  • การเริ่มต้นสมัยบูรณะ
วันที่ 12 เมษายน 1861 – 9 เมษายน 1865 (ตามสนธิสัญญาสงบศึก)[1]
(ปะทะครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 1865)

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามอ่าว สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามกลางเมืองอเมริกา http://www.civilwarhome.com/foxspref.html http://www.essentialcivilwarcurriculum.com/persona... http://www.history.com/topics/missouri-compromise http://www.history.com/topics/wilmot-proviso http://supreme.justia.com/us/41/539/index.html http://www.nytimes.com/1865/05/10/news/important-p... http://www.wiley.com/WileyCDA/WileyTitle/productCd... http://scholarship.kentlaw.iit.edu/cgi/viewcontent... http://mtw160-198.ippl.jhu.edu/journals/civil_war_... //muse.jhu.edu/journals/civil_war_history/v057/57....