สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

เฉิน เฉิง
หยาน สีซาน
หลี่ จงเหริน
ซื่อ หยู
ไป้ ช่งฉี่
ตัน เอนโบ
เหมา เจ๋อตง
จู เต๋อ
เผิง เต๋อหวย
หลิน เปียว
โจเซฟ สติลเวลล์
แคลร์ ลี เชนนลต์
อัลเบิร์ต เวดเมเยอร์
วาซีลี ชุยคอฟ ฮิเดะกิ โทโจ
ฟุมิมะโระ โคะโนะเอะ
คังอิน โคะโตะฮิโตะ
มัตสึอิ อิวะเนะ
ฮะจิเมะ ซุงิยะมะ
ชุนโรกุ ฮะตะ
โทะชิโซะ นิชิโอะ
ยะสุจิ โอคามูระ
อุเมะซุ โยะชิจิโระ
จักรพรรดิปูยี
วาง จิงเว่ย
ทหารโซเวียต 227 นาย[5]สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (อังกฤษ: Second Sino-Japanese War ; จีน: 中国抗日战争 ; ญี่ปุ่น: 日中戦争) เป็นความขัดแย้งทางทหารที่เป็นการสู้รบหลักระหว่างสาธารณรัฐจีนและจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ถึงวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 จุดเริ่มด้วยเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโลในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างกองกำลังทหารจีนและญี่ปุ่นที่บานปลายจนต้องสู้รบกัน แหล่งข้อมูลบางแห่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนยุคปัจจุบันได้มีการถือจุดเริ่มต้นของสงครามคือญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรียในปี ค.ศ. 1931[6]จีนได้ต่อสู้รบกับญี่ปุ่นด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ภายหลังญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในปี ค.ศ. 1941 สงครามได้รวมไปถึงความขัดแย้งที่อื่น ๆ ในสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะที่เป็นเขตของแนวรบที่สำคัญที่ถูกเรียกว่า เขตสงครามจีน พม่า อินเดีย นักวิชาการบางคนได้ถือว่าจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองอย่างเต็มรูปแบบในปี ค.ศ. 1937 คือจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง[7][8] สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองเป็นสงครามขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียในศตวรรษที่ 20[9] มันได้มีการถือว่าเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนและทหารส่วนใหญ่ในสงครามแปซิฟิก กับระหว่างพลเรือนชาวจีนจำนวน 10 และ 25 ล้านคนและบุคลากรทหารชาวจีนและญี่ปุ่นที่กำลังใกล้ตายกว่า 4 ล้านนายจากความรุนแรงที่เกี่ยวข้องในสงคราม ความอดอยาก และสาเหตุอื่น ๆสงครามเป็นผลพวงจากนโยบายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่นที่มีมายาวนานหลายทศวรรษเพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองและทางทหารเพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงแหล่งแร่วัตถุดิบ อาหาร และแรงงาน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำมาซึ่งการเพิ่มความตึงเครียดให้กับการปกครองของญี่ปุ่น นักการเมืองฝ่ายซ้ายต้องการที่จะมีสิทธิในการออกเสียงการเลือกตั้งทั่วไปและสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้นสำหรับแรงงาน การเพิ่มผลผลิตสิ่งทอจากโรงทอผ้าจีนเป็นการส่งผลกระทบต่อการผลิตของญี่ปุ่น ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทำให้การส่งออกสินค้าชะลอตัวลงอย่างมาก เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ได้สนับสนุนแก่ฝ่ายทหารชาตินิยม ซึ่งท้ายที่สุดด้วยการก้าวขึ้นสู่อำนาจของกลุ่มทหารนิยมลัทธิฟาสซิสต์ กลุ่มนี้อยู่ภายใต้การนำโดยฮิเดกิ โทโจ คณะรัฐมนตรีของสมาคมให้ความช่วยเหลือการปกครองจักรวรรดิ (Imperial Rule Assistance Association) ภายใต้พระบรมราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ในปี ค.ศ. 1931 กรณีมุกเดนได้ช่วยจุดชนวนด้วยญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย ฝ่ายจีนต้องพบความปราชัยและญี่ปุ่นได้ก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นมาใหม่, หมั่นโจวกั๋ว นักประวัติศาสตร์หลายคนได้กล่าวอ้างว่า ปี ค.ศ. 1931 เป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม[10][11][12] มุมมองเหล่านี้ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 ถึง ค.ศ. 1937 จีนและญี่ปุ่นยังคงต่อสู้รบกันอย่างต่อเนื่องในการรบที่จำกัดวง ที่ถูกเรียกว่า "เหตุการณ์"ในช่วงแรก ญี่ปุ่นได้รับชัยชนะครั้งใหญ่, ได้เข้ายึดครองทั้งเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองหลวงของจีนคือนานกิงในปี ค.ศ. 1937 ภายหลังจากความล้มเหลวในการหยุดยั้งญี่ปุ่นในยุทธการที่อู่ฮั่น รัฐบาลกลางของจีนได้ย้ายไปยังฉงชิ่ง (จุงกิง) ในส่วนภายในของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1939 ภายหลังจากจีนได้รับชัยชนะในฉางชาและกวางสี และด้วยเส้นสายการสื่อสารของญี่ปุ่นที่ขยายลึกเข้าไปในส่วนภายในประเทศจีน สงครามได้ทำให้เกิดจนมุม ญี่ปุ่นยังไม่สามารถเอาชนะกองทัพคอมมิวนิสต์จีนได้ในส่านซี ซึ่งได้ดำเนินการทัพด้วยการก่อวินาศกรรมและรบแบบกองโจรเข้าปะทะกับผู้รุกราน ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ปกครองเมืองขนาดใหญ่ พวกเขามีกำลังพลไม่เพียงพอที่จะควบคุมชนบทอันกว้างใหญ่ของแผ่นดินจีนได้ ในช่วงเวลานั้น, กองกำลังคอมมิวนิสต์จีนได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับในภาคกลางของจีน ในขณะที่กองกำลังชาตินิยมจีนได้เปิดฉากการรุกขนาดใหญ่ในช่วงฤดูหนาวเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นได้โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ และวันต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่จีนโดยการขนส่งวัสดุผ่านทางอากาศเหนือเทือกเขาหิมาลัย หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้พ่ายแพ้ในพม่า เมื่อถนนเส้นสายพม่าถูกปิดกั้น ในปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นได้เปิดฉากปฏิบัติการอิชิโก คือการพิชิตเหอหนานและฉางชา อย่างไรก็ตาม, ด้วยความล้มเหลวครั้งนี้ได้นำไปสู่การยอมจำนนต่อกองทัพจีน ในปี ค.ศ. 1945 กองกำลังรบนอกประเทศจีนได้เริ่มต้นด้วยการเข้ารุกในพม่า และเชื่อมโยงกับถนนเลโด (Ledo Road) จากจีนถึงอินเดียได้สำเร็จ ในเวลาเดียวกัน, จีนได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับขนาดใหญ่ในจีนตอนใต้และยึดเหอหนานตะวันตกและกวางสีคืนแม้ว่าจะยังคงครอบครองส่วนหนึ่งของแผ่นดินจีนอยู่ ญี่ปุ่นได้ยอมจำนนในที่สุด เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังจากการทิ้งระเบิดปรมณูที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิและโซเวียตบุกครองแมนจูเรียที่ญี่ปุ่นปกครองอยู่ กองกำลังยึดครองของญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ (ยกเว้นแมนจูเรีย) ได้ยอมจำนนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1945 ภายหลังจากนั้นต่อมา, ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกลได้รวมตัวกัน เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1946 จากการประชุมที่กรุงไคโร เมื่อวันที่ 22-26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองได้ตัดสินใจที่จะหยุดยั้งและลงโทษต่อการรุกรานของญี่ปุ่น โดยการส่งคืนดินแดนทั้งหมดที่ญี่ปุ่นยึดครองไปจากจีน รวมถึงแมนจูเรีย เกาะไต้หวัน/ฟอร์โมซา และเกาะเปสกาโดเรส (เผิงหู) แก่จีน และขับไล่ญี่ปุ่นออกจากคาบสมุทรเกาหลี ประเทศจีนได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามและกลายเป็นหนึ่งในห้าสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[13][14][15]

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

สาเหตุ เหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล
สถานที่ สาธารณรัฐจีน (สาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน), มองโกเลียนอก, พม่า
ผลลัพธ์
วันที่สถานที่สาเหตุผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่7 กรกฎาคม พ.ศ. 24802 กันยายน พ.ศ. 2488 มีการปะทะกันเล็กน้อยตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2474 (8 ปี 1 เดือน 3 สัปดาห์ และ 5 วัน)
สถานที่สาธารณรัฐจีน (สาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน), มองโกเลียนอก, พม่า
สาเหตุเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล
ผลลัพธ์
ดินแดน
เปลื่ยน
จีนได้รับดินแดนที่เสียไปจากการทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิกลับคืนจากญี่ปุ่น
ดินแดนเปลื่ยน จีนได้รับดินแดนที่เสียไปจากการทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิกลับคืนจากญี่ปุ่น
วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 24802 กันยายน พ.ศ. 2488 มีการปะทะกันเล็กน้อยตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2474 (8 ปี 1 เดือน 3 สัปดาห์ และ 5 วัน)

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามอ่าว สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง http://warmuseum.ca/cwm/newspapers/operations/chin... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,7... http://www.warbirdforum.com/avg.htm http://www.fas.harvard.edu/~asiactr/sino-japanese/... http://www.lib.utexas.edu/maps/ams/china/ http://www.lib.utexas.edu/maps/ams/manchuria/ http://www.geocities.jp/torikai007/japanchina/1937... http://map.huhai.net/ //doi.org/10.2307%2F132824 http://www.kangzhan.org/