สงครามตัวแทน

สงครามตัวแทน (อังกฤษ: proxy war) เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐหรือตัวแสดงที่มิใช่รัฐสองฝ่ายซึ่งต่างฝ่ายต่างมิได้ประจัญบานโดยตรงกับอีกฝ่ายหนึ่ง แม้คำนี้ครอบคลุมการเผชิญหน้าด้วยอาวุธต่าง ๆ แต่บทนิยามแกนกลางของ "สงครามตัวแทน" ตั้งอยู่บนอำนาจสองฝ่ายใช้การต่อสู้ภายนอกเพื่อโจมตีผลประโยชน์หรือการถือครองดินแดนของอีกฝ่าย สงครามตัวแทนมักเกี่ยวข้องกับทั้งสองประเทศต่อสู้กับพันธมิตรของคู่แข่ง หรือสนับสนุนพันธมิตรของตนในการต่อสู้กับคู่แข่งสงครามตัวแทนพบมากเป็นพิเศษช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงสงครามเย็น และเป็นมุมมองนิยามความขัดแย้งทั่วโลกระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ส่วนมากได้รับการจูงใจจากความกลัวว่าความขัดแย้งโดยตรงระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียตจะส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างบางนิวเคลียร์ ทำให้สงครามตัวแทนเป็นวิธีแสดงออกซึ่งความเป็นปรปักษ์ที่ปลอดภัยกว่า[1] นอกจากนี้ยังมีเหตุผลประชิดกว่าสำหรับการถือกำเนิดของสงครามตัวแทนในเวทีโลก คือระหว่างช่วงปีหลัง ๆ สหภาพโซเวียตพบว่าการติดอาวุธหรือจัดตั้งภาคีปฏิปักษ์ต่อเนโทแทนการเผชิญหน้าโดยตรงมีราคาถูกกว่า[2] นอกจากนี้ การแพร่ขยายของสื่อโทรทัศน์และผลกระทบต่อการรับรู้ของสาธารณะทำให้สาธารชนสหรัฐรู้สึกไวต่อความเบื่อหน่ายสงครามเป็นพิเศษและกังขาการเสี่ยงชีวิตชาวอเมริกันนอกประเทศ[3] เหตุนี้นำสู่การปฏิบัติการติดอาวุธกำลังก่อการกำเริบ เช่น การส่งมอบยุทธภัณฑ์แก่มูจาฮีดีนระหว่างสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน[4]สงครามตัวแทนยังสามารถกำเนิดจากความขัดแย้งอิสระที่บานปลายเนื่องจากการแทรกแซงของประเทศภายนอก ตัวอย่างเช่น สงครามกลางเมืองสเปนเป็นสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายชาตินิยมปฏิวัตินิยมฟาสซิสต์ กับผู้สนับสนุนสาธารณรัฐสเปน เรียก สาธารณรัฐนิยม ทว่า สงครามได้กลายเป็นสงครามตัวแทนเมื่อนาซีเยอรมนีและพันธมิตรเริ่มสนับสนุนฝ่ายชาตินิยม ส่วนสหภาพโซเวียต เม็กซิโกและอาสาสมัครนานาชาติต่าง ๆ สนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐนิยม[5]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด