สงครามพระเจ้าอลองพญา
สงครามพระเจ้าอลองพญา

สงครามพระเจ้าอลองพญา

40,000 นาย[2][3] (รวมทหารม้า 3,000 นาย)[4]
กองหลัง:
พลปืนคาบศิลา 6,000 นาย ทหารม้า 500 นาย[5]ทหาร 27,000 นาย, ทหารม้า 1,300 นาย, ช้าง 200 เชือก[6]
สุพรรณบุรีและอยุธยา:
ทหาร 45,000 นาย, ทหารม้า 3,000 นาย, ช้าง 300 เชือก[6]สงครามพระเจ้าอลองพญา เป็นชื่อเรียกความขัดแย้งทางทหารครั้งแรกระหว่างอาณาจักรโกนบองแห่งพม่า กับอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง สงครามครั้งนี้เป็นการจุดชนวนการสงครามนานหลายศตวรรษระหว่างทั้งสองรัฐขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะกินเวลานานไปอีกหนึ่งศตวรรษข้างหน้า ฝ่ายพม่านั้นอยู่ที่ "ขอบแห่งชัยชนะ" แล้วเมื่อจำต้องถอนกำลังจากการล้อมอยุธยา เนื่องจากพระเจ้าอลองพญาถูกระเบิดปืนใหญ่สิ้นพระชนม์[6] พระองค์สวรรคตและทำให้สงครามครั้งนี้ยุติลงความต้องการครอบครองชายฝั่งตะนาวศรีและการค้าขายในแถบนี้เป็นชนวนเหตุของสงคราม[7][8] และการให้การสนับสนุนของอยุธยาต่อกบฏมอญแห่งอดีตราชอาณาจักรหงสาวดีฟื้นฟู[6][9] ราชวงศ์โกนบองที่เพิ่งจะสถาปนาขึ้นใหม่นั้นต้องการจะแผ่ขยายอำนาจเข้าควบคุมชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนอีกครั้ง (ปัจจุบันคือ รัฐมอญ) ซึ่งอยุธยาได้ให้การสนับสนุนแก่กบฏชาวมอญและจัดวางกำลังพลไว้ ฝ่ายอยุธยาปฏิเสธข้อเรียกร้องของพม่าที่จะส่งตัวผู้นำกบฏมอญหรือระงับการบุกรุกดินแดนซึ่งพม่ามองว่าเป็นดินแดนของตน[10]สงครามครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2302 เมื่อทหารพม่า 40,000 นาย ภายใต้การนำของพระเจ้าอลองพญา และพระราชบุตร เจ้าชายมังระ ยกพลรุกรานลงมาตามชายฝั่งตะนาวศรีจากเมาะตะมะ แผนยุทธการของพระองค์คือ เคลื่อนทัพหลบตำแหน่งที่มีการป้องกันอย่างแข็งแรงของอยุธยา ตามเส้นทางการรุกรานที่สั้นและเข้าถึงโดยตรงมากกว่า กองทัพรุกรานพิชิตการป้องกันของอยุธยาที่ค่อนข้างเบาบางตามแนวชายฝั่ง ข้ามเทือกเขาตะนาวศรีไปจนถึงอ่าวไทย จากนั้นวกขึ้นเหนือไปยังกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายอยุธยารู้สึกประหลาดใจกับการรุกรานดังกล่าว โดยรีบจัดทัพมาเผชิญกับพม่าทางใต้ของกรุง และจัดตั้งการป้องกันอย่างกล้าหาญระหว่างทางสู่กรุงศรีอยุธยา แต่กองทัพพม่าซึ่งกรำศึกกลับเอาชนะกองทัพฝ่ายป้องกันของอยุธยาซึ่งมีจำนวนเหนือกว่าได้ และเคลื่อนมาถึงชานกรุงเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2303 แต่เพียงห้าวันหลังจากการล้อมเริ่มต้นขึ้น พระมหากษัตริย์พม่ากลับทรงพระประชวรและมีการตัดสินใจยกทัพกลับ[6] ปฏิบัติการของทหารกองหลังอันมีประสิทธิภาพ ภายใต้การนำของแม่ทัพมังฆ้องนรธาทำให้การถอนกำลังเป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย[11]สงครามดังกล่าวไม่มีบทสรุปแน่ชัด ขณะที่พม่าสามารถแผ่อำนาจควบคุมเหนือชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนไปจนถึงทวาย แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดภัยคุกคามจากดินแดนรอบข้างได้ ซึ่งถือว่าไม่ค่อยสำคัญเท่าใดนัก ฝ่ายพม่าถูกบีบให้ตกลงกับกบฏชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการสนับสนุนจากอยุธยา เช่นเดียวกับในล้านนา ในอีกสี่ปีต่อมา พม่าจะยกทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้ง และนำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 ยุติประวัติศาสตร์นานสี่ศตวรรษของอยุธยา

สงครามพระเจ้าอลองพญา

วันที่สถานที่ผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่ธันวาคม พ.ศ. 2302 - พฤษภาคม พ.ศ. 2303
สถานที่ชายฝั่งตะนาวศรี, ชายฝั่งอ่าวไทย, สุพรรณบุรี, อยุธยา
ผลลัพธ์อยุธยาได้ชัยชนะ, กองทัพพม่าถอยทัพ
ดินแดน
เปลื่ยน
พม่าแผ่อำนาจปกครองชายฝั่งตะนาวศรีลงไปจนถึงทวายและมะริด [1]
สถานที่ ชายฝั่งตะนาวศรี, ชายฝั่งอ่าวไทย, สุพรรณบุรี, อยุธยา
ผลลัพธ์ อยุธยาได้ชัยชนะ, กองทัพพม่าถอยทัพ
ดินแดนเปลื่ยน พม่าแผ่อำนาจปกครองชายฝั่งตะนาวศรีลงไปจนถึงทวายและมะริด [1]
วันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2302 - พฤษภาคม พ.ศ. 2303

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามอ่าว สงครามครูเสด