สงครามอิรัก–อิหร่าน
สงครามอิรัก–อิหร่าน

สงครามอิรัก–อิหร่าน

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง อะบุล ฮาซัน บานีซาดร์
(ประธานาธิบดีอิหร่าน)PeshmergaNational Defense BattalionsPeople's Mujahedin of Iran40,000–42,875 เชลยสงคราม[32][33]
11,000–16,000 พลเรือนตาย[22][23]
เศรษฐกิจเสียหายมูลค่า US$627 พันล้าน[24][34]70,000 เชลยสงคราม[25][36]
เศรษฐกิจเสียหายมูลค่า $561 พันล้าน[24][34]สงครามอิรัก–อิหร่าน (อังกฤษ: Iran–Iraq War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท)สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรักแม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบ ๆ ครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม[41] เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003[42][43]สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด"[44][45][46] และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็ล่วงเลยไปถึงวันที่ 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว

สงครามอิรัก–อิหร่าน

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่22 กันยายน ค.ศ. 1980 – 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988
(7 years, 10 months, 4 weeks and 1 day)
สถานที่ชายแดนอิหร่าน-อิรัก
ผลลัพธ์เอาชนะกันไม่ได้
  • อิรักไม่สามารถผนวกดินแดนทางตะวันออกของแม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบ และไม่สามารถหนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดฆูเซสถานของอิหร่านได้อีกต่อไป
  • อิหร่านไม่สามารถโค่นซัดดัม ฮุสเซนลงได้ และไม่สามารถทำลายแสนยานุภาพทางทหารของอิรักได้
  • ทั้งสองฝ่ายยอมรับมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิงโดยทันที
  • อิรักเป็นหนี้มหาศาลกว่า 130 พันล้านดอลลาร์ต่อชาติพันธมิตรอาหรับ
สถานที่ ชายแดนอิหร่าน-อิรัก
ผลลัพธ์ เอาชนะกันไม่ได้
  • อิรักไม่สามารถผนวกดินแดนทางตะวันออกของแม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบ และไม่สามารถหนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดฆูเซสถานของอิหร่านได้อีกต่อไป
  • อิหร่านไม่สามารถโค่นซัดดัม ฮุสเซนลงได้ และไม่สามารถทำลายแสนยานุภาพทางทหารของอิรักได้
  • ทั้งสองฝ่ายยอมรับมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิงโดยทันที
  • อิรักเป็นหนี้มหาศาลกว่า 130 พันล้านดอลลาร์ต่อชาติพันธมิตรอาหรับ
วันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1980 – 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988
(7 years, 10 months, 4 weeks and 1 day)

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามอ่าว สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามอิรัก–อิหร่าน http://www.aljazeera.com/indepth/opinion/2011/02/2... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/325644/K... http://www.ft.com/cms/s/0/52add2c4-30b4-11e1-9436-... http://www.iranchamber.com/history/articles/arming... http://www.iranchamber.com/history/iran_iraq_war/i... http://www.kentimmerman.com/tdl.htm http://www.majalla.com/eng/2012/03/article55230108 http://www.nytimes.com/2003/03/14/world/threats-an... http://www.parstimes.com/history/national_security... http://www.sptimes.com/2007/06/25/Worldandnation/I...