สงครามอ่าว
สงครามอ่าว

สงครามอ่าว

 คูเวต
 สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร
 ซาอุดีอาระเบีย
 ฝรั่งเศส
 แคนาดา
 อียิปต์
 ซีเรีย
 กาตาร์
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช
คอลิน พอเวลล์
นอร์แมน ชวาร์ซคอพฟ์
คาลิด บิน สุลต่าน[3][4]
มาร์กาเรต แทตเชอร์
จอห์น เมเจอร์
ฟร็องซัว มีแตร็อง อาลี ฮัสซัน อัลมาจิด
อีสซัต อิบราฮิม อัลโดรี
หนีทัพหรือถูกจับเป็นเชลย 300,000 นาย[12]
การเสียยุทณภัณฑ์:
รถถังถูกทำลาย: 3,700[13]–4,000[9]
อากาศยานถูกทำลาย: 2,140[9]
ยานต่อสู้รถถังถูกทำลาย: 1,856[9]
เฮลิคอปเตอร์ถูกทำลาย: 7[9]
อากาศยานถูกทำลาย: 240[9]
เรือถูกจม: 19[13]
เรือเสียหาย: 6[13]
การเสียพลเรือนของอิรัก:
เสียชีวิตประมาณ 3,664 คน[16]
การเสียพลเรือนอื่น:
พลเรือนเสียชีวิต 300 คน บาดเจ็บมากกว่านี้[17]สงครามอ่าว (อังกฤษ: Gulf War) ชื่อรหัสทางทหารว่า ปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรักสงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก[18][19][20][lower-alpha 1] ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน[21] การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช วางกำลังสหรัฐเข้าสู่ซาอุดีอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทหารของกำลังผสมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ตามลำดับ ซาอุดีอาระเบียสมทบเงิน 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าสงคราม 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[22]สงครามนี้มีการริเริ่มการถ่ายทอดข่าวสดจากแนวหน้าของการสู้รบ หลัก ๆ โดยเครือข่ายซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ[23][24][25] สงครามนี้ยังได้ชื่อเล่นว่า สงครามวิดีโอเกม หลังการถ่ายทอดภาพรายวันจากกล้องบนเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทราย[26][27]ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล

สงครามอ่าว

สาเหตุ อิรักรุกรานและยึดครองคูเวต
สถานที่ อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล
ผลลัพธ์ กำลังผสมชนะอย่างขาดลอย
  • อิรักถอนกำลังจากคูเวต
  • ฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยของคูเวต
  • อิรักอยู่ในสภาพถูกบังคับ
  • กำลังพลสูญเสียอย่างหนักและการทำลายโครงสร้างพื้นฐานของอิรักและคูเวต
  • จัดตั้งเขตห้ามบินอิรัก
วันที่ 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534
(ปฏิบัติการพายุทะเลทรายสิ้นสุดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538[1])
วันที่สถานที่สาเหตุผลลัพธ์
วันที่2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534
(ปฏิบัติการพายุทะเลทรายสิ้นสุดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538[1])
สถานที่อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล
สาเหตุอิรักรุกรานและยึดครองคูเวต
ผลลัพธ์กำลังผสมชนะอย่างขาดลอย
  • อิรักถอนกำลังจากคูเวต
  • ฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยของคูเวต
  • อิรักอยู่ในสภาพถูกบังคับ
  • กำลังพลสูญเสียอย่างหนักและการทำลายโครงสร้างพื้นฐานของอิรักและคูเวต
  • จัดตั้งเขตห้ามบินอิรัก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามอ่าว http://afa.at/histomun/HISTOMUN2008-Paper-Kuwait.p... http://www.colegioweb.com.br/historia/guerra-do-go... http://www.iraquenewst55.jex.com.br/3+guerra+terro... http://www1.folha.uol.com.br/folha/livrariadafolha... http://www.uel.br/grupo-pesquisa/gepal/segundosimp... http://www.checkpoint-online.ch/CheckPoint/Histoir... http://www.wikileaks.ch/cable/1990/07/90BAGHDAD423... http://www.al-monitor.com/pulse/originals/2013/04/... http://www.apnewsarchive.com/1991/Soldier-Reported... http://www.britains-smallwars.com/gulf/Roll.html