สงครามเกาหลี
สงครามเกาหลี

สงครามเกาหลี

ระดับต่ำ: 27 กรกฎาคม 1953 – ปัจจุบัน* นามที่มี ข้างหน้า หมายถึง ผู้บัญชาการแห่งกองบัญชาการสหประชาชาติยอด: 972,214ยอด: 1,642,600
หมายเหตุ: แต่ละแหล่งข้อมูลระบุตัวเลขไว้ไม่ตรงกัน ยอดกำลังพลแปรผันระหว่างสงครามบทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งการรุกของเกาหลีเหนือ
Pokpoong · Chuncheon · Gorangpo · Kaesong-Munsan · Korea Strait · Ongjin · Uijeongbu · Suwon Airfield · การทัพทางอากาศ · อันดง · Chumonchin Chan · Osan · Pyongtaek · Chonan · Chochiwon · แทจ็อน · Sangju · Yongdong · Hwanggan · Hadong · Notch · วงรอบปูซานการตีโต้ตอบของกองบัญชาการสหประชาชาติ
แฮจู · อินชอน · กรุงโซลครั้งที่ 2 · เนิน 282 · 12 ตุลาคม 1950 · แกซอง  · วอนซาน  · Heungham  · ยงจู · ยองฮุง  · คุมชอน  · เปียงยาง  · Huicheon  · โชซาน การเข้าแทรกแซงของจีน
อนจง · อุนซาน · Pakchon · Ch'ongch'on River · Wawon · Chosin Reservoir · Task Force Faith · กรุงโซลครั้งที่ 3 · 1st and 2nd Wonju · Thunderbolt · Twin Tunnels · Roundup · Hoengsong · Chipyong-ni  · 3rd Wonju · Killer · Ripper · Courageous  · Tomahawk · Rugged and Dauntless · กรุงโซลครั้งที่ 5 (แม่น้ำอิมจิน · สะพานยุลตง · Gapyong) · Soyang Riverช่วงคุมเชิง
Bloody Ridge · แม่น้ำฮัน · Heartbreak Ridge · มาร์ยางซาน · Sunchon · Hill Eerie · เขื่อนซุยโฮ · Old Baldy · Hudson Harbor · ม้าขาว · เนินสามเหลี่ยม · Jackson Heights · The Hook · เนินพอร์คช็อป · Outpost Harry  · กุมซง · แม่น้ำซามิชอนช่วงหลังการหยุดยิง
ความขัดแย้งเขตปลอดทหาร · การตีโฉบฉวยทำเนียบน้ำเงิน · กรณีอีซี-121 · Major Henderson incident · Axe murder incident · เหตุระเบิดที่ย่างกุ้ง · KAL Flight 858 · Gangneung · Yosu · 1st Yeonpyeong · Amami-Ōshima · 2nd Yeonpyeong · Daecheong · ROKS Cheonan · 3rd Yeonpyeong · วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือสงครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ[23]ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950[24] ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลีสหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ[24] การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลีจากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951

สงครามเกาหลี

สาเหตุ เกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้
สถานะ ไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะ
สถานที่ คาบสมุทรเกาหลี
วันที่สถานที่สาเหตุสถานะดินแดนเปลื่ยน
วันที่เต็มขั้น: 25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953 (3 ปี 32 วัน)

ระดับต่ำ: 27 กรกฎาคม 1953 – ปัจจุบัน

สถานที่คาบสมุทรเกาหลี
สาเหตุเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้
สถานะไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะ
ดินแดน
เปลื่ยน
วันที่ เต็มขั้น: 25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953 (3 ปี 32 วัน)

ระดับต่ำ: 27 กรกฎาคม 1953 – ปัจจุบัน

ดินแดนเปลื่ยน

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามเกาหลี http://www.awm.gov.au/encyclopedia/korea/mia/ http://archives.cbc.ca/IDD-1-71-112/conflict_war/k... http://www.veterans.gc.ca/eng/collections/korea/di... http://www.china.org.cn/e-America/index.htm http://www.awesomestories.com/history/korean-war/w... http://www.britishpathe.com/workspace.php?id=32&di... http://gvsu.cdmhost.com/cdm4/results.php?CISOOP1=a... http://www.flickr.com/photos/imcomkorea/sets/72157... http://fornits.com/anonanon/articles/200103/200103... http://uk.share.geocities.com/wpkanniversary60/Kor...