สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

 จักรวรรดิอังกฤษ
ฝรั่งเศส
 จักรวรรดิรัสเซีย (1914–17)
 จักรวรรดิญี่ปุ่น
 ราชอาณาจักรอิตาลี (1915–18)
 สหรัฐ (1917–18)
เซอร์เบีย
มอนเตเนโกร
โรมาเนีย (1916–18)
เบลเยียม
สยาม (1917–18)
จีน (1917–18)
กรีซ (1917–18)
โปรตุเกส (1916–18)
...และอื่น ๆ จักรวรรดิเยอรมัน
 จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
 จักรวรรดิออตโตมัน
บัลแกเรีย (1915-18)
...และอื่น ๆ 12,000,000 คน
8,841,541 คน[2][3]
8,660,000 คน[4]
5,615,140 คน
4,743,826 คน
1,234,000 คน
800,000 คน
707,343 คน
380,000 คน
250,000 คน
รวม : 42,959,850 คน 13,250,000 คน
7,800,000 คน
2,998,321 คน
1,200,000 คน
รวม : 25,248,321 คนบทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน ค.ศ. 1939 เป็นสงครามใหญ่ที่มีศูนย์กลางในยุโรประหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึง 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ทุกประเทศมหาอำนาจของโลกเกี่ยวพันในสงคราม[5] ซึ่งแบ่งออกเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (มีศูนย์กลางอยู่ที่ไตรภาคี ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (มีศูนย์กลางอยู่ที่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมันและบัลแกเรีย)[6] พันธมิตรทั้งสองมีการจัดระเบียบใหม่ และขยายตัวเมื่อมีชาติเข้าสู่สงครามมากขึ้น ท้ายสุด มีทหารกว่า 70 ล้านนาย ซึ่งเป็นทหารยุโรปเสีย 60 ล้านนาย ถูกระดมเข้าสู่สงครามใหญ่ที่สุดสงครามหนึ่งในประวัติศาสตร์นี้[7][8] สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยังนับว่าเป็นความขัดแย้งวงกว้างภายในทวีปยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามนโปเลียน[9] ทหารผู้เข้าร่วมรบเสียชีวิตเกิน 9 ล้านนาย สาเหตุหลักเพราะความร้ายแรงของพลังทำลายของอาวุธที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยไม่มีพัฒนาการในการคุ้มครองหรือความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ที่สอดคล้องกัน สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์อันดับที่หก[10] สงครามนี้เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน และกรุยทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายอย่าง เช่น การปฏิวัติในชาติที่เข้าร่วมรบ[11]สาเหตุระยะยาวของสงครามรวมถึงนโยบายต่างประเทศแบบจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย อย่างจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี ส่วนการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยกัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมยูโกสลาฟ เป็นชนวนเหตุใกล้ชิดของสงคราม ออสเตรีย-ฮังการีจึงยื่นคำขาดฮับสบูร์กต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย[12][13] พันธมิตรทั้งหลายซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อหลายทศวรรษก่อนถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มหาอำนาจทั้งหลายจึงอยู่ในภาวะสงคราม และความขัดแย้งลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วผ่านอาณานิคมต่าง ๆวันที่ 28 กรกฎาคม ความขัดแย้งเปิดฉากขึ้นเมื่อออสเตรีย-ฮังการีรุกรานเซอร์เบีย[14][15] ตามด้วยการรุกรานเบลเยียม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสของเยอรมนี และการโจมตีเยอรมนีของรัสเซีย หลังการบุกโจมตีกรุงปารีสของเยอรมนีถูกหยุด แนวรบด้านตะวันตกก็เป็นการรบแห่งการสูญเสียที่อยู่กับที่ด้วยแนวสนามเพลาะซึ่งเปลี่ยนแปลงน้อยมากกระทั่ง ค.ศ. 1917 ในทางตะวันออก กองทัพรัสเซียสามารถเอาชนะกองทัพออสเตรีย-ฮังการี แต่ถูกกองทัพเยอรมันบีบให้ถอยกลับจากปรัสเซียตะวันออกและโปแลนด์ แนวรบใหม่ ๆ เปิดขึ้นเมื่อจักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่สงครามใน ค.ศ. 1914 อิตาลีและบัลแกเรียใน ค.ศ. 1915 และโรมาเนียใน ค.ศ. 1916 จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายใน ค.ศ. 1917 และรัสเซียถอนตัวจากสงครามหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน หลังการรุกตามแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมนีใน ค.ศ. 1918 กองทัพสหรัฐเข้าร่วมสงครามและกองทัพสัมพันธมิตรสามารถผลักดันกองทัพเยอรมันกลับไปหลังได้รับชัยชนะติดต่อกันหลายครั้ง เยอรมนี ซึ่งประสบปัญหากับนักปฏิวัติถึงขณะนี้ ได้ตกลงหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ วันสงบศึก และชัยชนะตกเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อสงครามยุติ รัฐจักรวรรดิใหญ่สี่รัฐ อันได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน, ออสเตรีย-ฮังการี, รัสเซีย และออตโตมัน พ่ายแพ้ทั้งทางการเมืองและทางทหารและได้สิ้นสภาพไป เยอรมนีและรัสเซียสูญเสียดินแดนไปมหาศาล ส่วนอีกสองรัฐที่เหลือนั้นล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง แผนที่ยุโรปกลางได้ถูกเขียนใหม่โดยมีประเทศขนาดเล็กเกิดใหม่หลายประเทศ[16] สันนิบาตชาติถูกก่อตั้งขึ้นด้วยหวังว่าจะป้องกันความขัดแย้งเช่นนี้มิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ลัทธิชาตินิยมยุโรปเกิดขึ้นหลังสงครามและการล่มสลายของจักรวรรดิทั้งหลาย ผลสะท้อนจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและปัญหากับสนธิสัญญาแวร์ซาย ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นปัจจัยซึ่งนำไปสู่การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง[17]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

วันที่สถานที่ผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 (การสงบศึก)
สถานที่ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง หมู่เกาะแปซิฟิก จีน และนอกชายฝั่งอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
ผลลัพธ์ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
  • ชัยของฝ่ายมหาอำนาจกลางในแนวรบด้านตะวันออกเป็นโมฆะเพราะปราชัยในแนวรบด้านตะวันตก
  • จักรวรรดิในยุโรปภาคพื้นทวีปทุกแห่งล่มสลาย (รวมทั้งเยอรมนี รัสเซีย ตุรกีและออสเตรีย-ฮังการี)
  • การปฏิวัติรัสเซียและสงครามกลางเมืองรัสเซีย และการสถาปนาสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา
  • ความไม่สงบและการปฏิบัติอย่างกว้างขวางทั่วทวีปยุโรปและเอเชีย
  • การก่อตั้งสันนิบาตชาติ
ดินแดน
เปลื่ยน
  • การสถาปนาประเทศใหม่ในทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง
  • การโอนอาณานิคมและดินแดนของเยอรมนี เขตของอดีตจักรวรรดิออตโตมัน เขตของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและสหภาพโซเวียตให้ประเทศอื่น
สถานที่ ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง หมู่เกาะแปซิฟิก จีน และนอกชายฝั่งอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
ผลลัพธ์ ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
  • ชัยของฝ่ายมหาอำนาจกลางในแนวรบด้านตะวันออกเป็นโมฆะเพราะปราชัยในแนวรบด้านตะวันตก
  • จักรวรรดิในยุโรปภาคพื้นทวีปทุกแห่งล่มสลาย (รวมทั้งเยอรมนี รัสเซีย ตุรกีและออสเตรีย-ฮังการี)
  • การปฏิวัติรัสเซียและสงครามกลางเมืองรัสเซีย และการสถาปนาสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา
  • ความไม่สงบและการปฏิบัติอย่างกว้างขวางทั่วทวีปยุโรปและเอเชีย
  • การก่อตั้งสันนิบาตชาติ
ดินแดนเปลื่ยน
  • การสถาปนาประเทศใหม่ในทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง
  • การโอนอาณานิคมและดินแดนของเยอรมนี เขตของอดีตจักรวรรดิออตโตมัน เขตของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและสหภาพโซเวียตให้ประเทศอื่น
วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 (การสงบศึก)

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง http://www.awm.gov.au/1918/battles/amiens.htm http://www.awm.gov.au/1918/battles/amiensmap.htm http://www.ww1westernfront.gov.au/vimy_ridge/index... http://www.censol.ca/research/greatwar/nicholson/i... http://www.journal.forces.gc.ca/vo8/no2/winegard-e... http://www.gov.ns.ca/legislature/hansard//comm/va/... http://www.aftermathww1.com/lostgen.asp http://cgsc.cdmhost.com/cdm4/item_viewer.php?CISOR... http://www.dawn.com/weekly/dmag/archive/050612/dma... http://www.economist.com/countries/Israel/profile....