สงครามในอัฟกานิสถาน_(พ.ศ._2544–ปัจจุบัน)
สงครามในอัฟกานิสถาน_(พ.ศ._2544–ปัจจุบัน)

สงครามในอัฟกานิสถาน_(พ.ศ._2544–ปัจจุบัน)

 อัฟกานิสถานการรุกราน พ.ศ. 2544: มุฮัมมัด โอมาร์ (เสียชีวิต, ไม่ได้ร่วมรบ) กองทัพแห่งชาติอัฟกัน: 170,500 (2554)[2]
ตำรวจแห่งชาติอัฟกัน: 135,500 (2554)[2]
รวม: 436,386 (2554) อัลกออิดะฮ์: 20,000[4][5]
ฯลฯรวม: 80,000–100,000 (2553)สงครามในอัฟกานิสถาน รหัสนามว่า ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน (ค.ศ. 2001–14) และปฏิบัติการฟรีดอมเซนติเนล (ค.ศ. 2015–ปัจจุบัน)[6][7] ภายหลังจากสหรัฐบุกครองอัพกานิสถาน[8] เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2001 เมื่อสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรได้ประสบความสำเร็จในการขับไล่กลุ่มตอลิบานจากอำนาจภายใต้คำสั่งเพื่อปฏิเสธอัลกออิดะฮ์ ซึ่งเป็นฐานทัพที่ปลอดของปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน[9][10] ตั้งแต่เป้าหมายเบื้องต้นได้เสร็จสมบูรณ์ พันธมิตรกว่า 40 ประเทศ(รวมทั้งสมาชิกเนโททั้งหมด) ก่อตั้งภารกิจด้านความมั่นคงในประเทศ สงครามนับตั้งแต่นั้นซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับทหารจากสหรัฐและรัฐบาลอัฟกานิสถานที่เป็นพันธมิตรเข้าต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายตอลิบาน[11] สงครามในอัฟกานิสถานเป็นสงครามที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐภายหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายนในปี ค.ศ. 2001 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้กล่าวโทษถึงอุซามะฮ์ บิน ลาดิน ซึ่งอาศัยหรือหลบซ่อนตัวอยู่ในอัฟกานิสถานและกลายเป็นที่ต้องการตัวมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 ประธานาธิบดีบุชได้เรียกร้องให้กลุ่มตอลิบานซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศโดยพฤตินัยให้ส่งตัวบิน ลาดินมา กลุ่มตอลิบานได้ปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดน นอกเสียจากว่าพวกเขาจะได้รับหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในเหตุกาณ์วินาศกรรมของบิน ลาดินซึ่งสหรัฐได้ปฏิเสธที่จะมอบให้[12] และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2001 ได้เปิดฉากปฏิบัติการเอ็นดูริง ฟรีดอมกับสหราชอาณาจักร[13] เพื่อแสดงเหตุผลอันสมควรในสงคราม รัฐบาลบุชได้กล่าวอ้างว่าอัฟกานิสถานมีเพียง"อำนาจอธิปไตยที่มีการเลือกสรร"เท่านั้น และการแทรกแซงดังกล่าวมีความจำเป็นเพราะกลุ่มตอลิบานได้คุกคามอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่น[14] หลังจากนั้นทั้งสองประเทศก็ได้เข้าร่วมโดยกองกำลังอื่นๆ รวมทั้งพันธมิตรฝ่ายเหนือ-อัฟกันฝ่ายค้านซึ่งต่อสู้รบกับกลุ่มตอลิบานในสงครามกลางเมืองที่กำลังดำเนินอยู่นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996[15][16] ในปี ค.ศ. 2001 กลุ่มตอลิบานและอัลกออิดะฮ์พันธมิตรส่วนใหญ่ได้ปราชัยในประเทศและในการประชุมที่บ็อน ผู้มีอำนาจชั่วคราวอัฟกันคนใหม่(ส่วนใหญ่มาจากพันธมิตรฝ่ายเหนือ) ได้เลือกนายฮามิด การ์ไซ มาเป็นผู้นำรัฐบาลชั่วคราวของอัฟกานิสถาน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งกองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติ (International Security Assistance Force, ISAF) เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองคนใหม่ในการรักษาความมั่นคงในคาบูล ซึ่งภายหลังปี ค.ศ. 2002 ลอยา จิร์กา(สมัชชาใหญ่) ได้กลายเป็นการบริหารปกครองเพื่อเปลี่ยนแปลงอัฟกัน มีการสร้างความพยายามทั่วทั้งประเทศขึ้นหลังจากสิ้นสุดระบอบการปกครองแบบเผด็จการของกลุ่มตอลิบาน[17][18][19] ในการเลือกตั้งที่ได้รับความนิยมในปี ค.ศ. 2004 การ์ไซได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้มีชื่อว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน[20] เนโทได้เข้ามามีส่วนร่วมในกองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003 และต่อมาในปีนั้นได้ถือว่าเป็นผู้นำของมัน ในขั้นตอนนี้ กองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติได้รวมทั้งกำลังทหารจาก 43 ประเทศกับสมาชิกเนโทเป็นกำลังหลัก[21] ส่วนหนึ่งของกองทัพสหรัฐในอัฟกานิสถานดำเนินการภายใต้กองบัญชาการเนโท ส่วนที่เหลือยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของกองบัญชาการสหรัฐภายหลังความปราชัยในการรุกรานครั้งแรก กลุ่มตอลิบานได้ถูกจัดระเบียบขึ้นใหม่โดยผู้นำที่ชื่อ มุฮัมมัด อุมัร และเปิดฉากการก่อกบฎต่อต้านรัฐบาลอัฟกานิสถานและกองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติ ในปี ค.ศ. 2003.[22][23]แม้ว่าจะมีกองกำลังที่น้อยและอาวุธไม่มากนัก ผู้ก่อการร้ายจากกลุ่มตอลิบาน(และมีพันธมิตรอย่าง Haqqani Network) และ Hezb-e-Islami Gulbuddin ในขอบเขตที่เล็กกว่าและกลุ่มอื่นๆ-ต่างพากันเข้าร่วมสงครามอสมมาตรด้วยการตีโฉบฉวยแบบกองโจรและซุ่มโจมตีในพื้นที่ชนบท การโจมตีแบบพลีชีพต่อเป้าหมายในเมือง และมีพวกเปลี่ยนข้าง (turncoat)ได้สังหารกองกำลังพันธมิตร กลุ่มตอลิบานได้ใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในรัฐบาลอัฟกานิสถานเพื่อยืนยันใหม่ในอิทธิพลพื้นที่ชนบททางตอนใต้และตะวันออกของอัฟกานิสถาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 กลุ่มตอลิบานได้รับชับชนะอย่างนัยสำคัญและแสดงความตั้งใจที่เพิ่มมากขึ้นด้วยการกระทำสังหารหมู่ต่อพลเรือน-กองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติได้ตอบโต้ด้วยการเพิ่มกำลังทหารเพื่อปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อ"เคลียร์และยึดที่มั่น"ในหมู่บ้าน[24][25] ความรุนแรงได้ทวีมากขึ้นจากปี ค.ศ. 2007 ถึง 2009[26] จำนวนทหารได้เริ่มเพิ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2009 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี ค.ศ. 2011 เมื่อกองกำลังทหารต่างชาติจำนวน 140,000 นายที่ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การควบคุมของกองบัญชาการกองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติและสหรัฐในอัฟกานิสถาน[27] มีจำนวนทหาร 100,000 นายที่มาจากสหรัฐ[28] เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ทหารหน่วยเนวีซีลสหรัฐได้ทำการสังหารอุซามะฮ์ บิน ลาดินใน Abbotabad, ปากีสถาน ผู้นำเนโทในปี ค.ศ. 2011 ได้กล่าวยกย่องกลยุทธ์ทางออกสำหรับการถอนกองกำลังของพวกเขาได้แล้ว[29] และต่อมาสหรัฐได้ประกาศว่าปฏิบัติการรบครั้งใหญ่จะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 โดยทิ้งกองกำลังที่เหลืออยู่ไว้ในประเทศ[30] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 กองทัพบริติชได้ส่งมอบฐานทัพแห่งสุดท้ายใน Helmand แก่กองทัพอัฟกานิสถานอย่างเป็นทางการ เป็นอันสิ้นสุดของปฏิบัติการรบในสงคราม[31] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2014 เนโทได้ยุติปฏิบัติการทางทหารของกองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติในอัฟกานิสถานอย่างเป็นทางการ หน่วยปฏิบัติการสนับสนุนอย่างแน่วแน่ (Resolute Support Mission)ภายใต้การนำโดยเนโทได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันเดียวกันในฐานะผู้สืบทอดต่อจากกองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติ[32][33]ในช่วงเริ่มแรกของการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของนายดอนัลด์ ทรัมป์ในต้นปี ค.ศ. 2017 มีทหารอเมริกันน้อยกว่า 9,000 นายในอัฟกานิสถาน[34] ในช่วงต้นฤดูร้อนปี ค.ศ. 2017 ระดับกองทหารได้เพิ่มขึ้นประมาณ 50% ไม่มีแผนอย่างเป็นทางการที่จะถอนกำลัง[35][36][37] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019 กลุ่มตอลิบานได้วางแผนที่จะเจรจากับสหรัฐเพื่อลดระดับกองทหารกลับไปยังจุดที่เคยอยู่เมื่อทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง[38] แต่ทรัมป์กลับยกเลิกการเจรจาหลังจากการโจมตีของกลุ่มตอลิบาน[39] กลุ่มตอลิบานยังคงเป็นกลุ่มเดียวที่ใหญ่ที่สุดที่ได้สู้รบกับกองทัพของรัฐบาลอัฟกานิสถานและกองกำลังต่างชาติ[40] เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 สหรัฐอเมริกาและกลุ่มตอลิบานได้ลงนามข้อตกลงสันติภาพแบบมีเงื่อนไขในโดฮา, กาตาร์[41] ซึ่งกำหนดให้กองทัพสหรัฐต้องถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถานภายในเวลา 14 เดือน ตราบเท่าที่กลุ่มตอลิบานจะให้ความร่วมมือในเงื่อนไขของข้อตกลงนี้[42]ประชาชนนับแสนกว่าคนถูกสังหารในสงคราม ซึ่งรวมทั้งทหารจากกองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติและช่างรับเหมาก่อสร้างพลเรือนมากกว่า 4,000 คน กองกำลังความมั่นคงแห่งชาติอัฟกันมากกว่า 62,000 นาย พลเรือนและกลุ่มตอลิบานอีกมากกว่า 31,000 คน[43]

สงครามในอัฟกานิสถาน_(พ.ศ._2544–ปัจจุบัน)

สถานะ
  • การบุกครองอัฟกานิสถานของสหรัฐ(ค.ศ. 2001)
  • การล้มล้างค่ายฝึกทหารของตอลิบานและอัลกออิดะฮ์(ค.ศ. 2001)
  • การล่มสลายของรัฐบาลตอลิบาน(ค.ศ. 2001)
  • การสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถานภายใต้การนำของรัฐบาลการ์ไซ
  • จุดเริ่มต้นการก่อการร้ายของตอลิบาน
  • การโจมตีโดรนในปากีสถาน
  • การตายของอุซามะฮ์ บิน ลาดินในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011
  • การตายของมุฮัมมัด อุมัรในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 และ Akhtar Mansour ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2016
  • การตายของ Baitullah Mehsud ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 Hakimullah Mehsud ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013, และ Fazlullah ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018
  • สองในสามกลุ่มผู้ปฏิบัติการของอัลกออิดะฮ์ได้ถูกสังหารหรือถูกจับกุมในปี ค.ศ. 2003
  • กองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติ(ISAF) ถูกยุบในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014
  • การเริ่มต้นภารกิจสนับสนุนแน่วแน่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014
  • การลงนามข้อตกลงสันติภาพแบบมีเงื่อนไขระหว่างสหรัฐและตอลิบาน เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020
วันที่สถานที่สถานะ
วันที่7 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน (700118000000000000018 ปี 7002356000000000000356 วัน)
สถานที่ประเทศอัฟกานิสถาน
สถานะ
  • การบุกครองอัฟกานิสถานของสหรัฐ(ค.ศ. 2001)
  • การล้มล้างค่ายฝึกทหารของตอลิบานและอัลกออิดะฮ์(ค.ศ. 2001)
  • การล่มสลายของรัฐบาลตอลิบาน(ค.ศ. 2001)
  • การสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถานภายใต้การนำของรัฐบาลการ์ไซ
  • จุดเริ่มต้นการก่อการร้ายของตอลิบาน
  • การโจมตีโดรนในปากีสถาน
  • การตายของอุซามะฮ์ บิน ลาดินในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011
  • การตายของมุฮัมมัด อุมัรในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 และ Akhtar Mansour ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2016
  • การตายของ Baitullah Mehsud ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 Hakimullah Mehsud ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013, และ Fazlullah ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018
  • สองในสามกลุ่มผู้ปฏิบัติการของอัลกออิดะฮ์ได้ถูกสังหารหรือถูกจับกุมในปี ค.ศ. 2003
  • กองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติ(ISAF) ถูกยุบในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014
  • การเริ่มต้นภารกิจสนับสนุนแน่วแน่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014
  • การลงนามข้อตกลงสันติภาพแบบมีเงื่อนไขระหว่างสหรัฐและตอลิบาน เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020
สถานที่ ประเทศอัฟกานิสถาน
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน (700118000000000000018 ปี 7002356000000000000356 วัน)

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามในอัฟกานิสถาน_(พ.ศ._2544–ปัจจุบัน) http://www.cleveland.com/nation/index.ssf/2009/12/... http://edition.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/central/... http://edition.cnn.com/2009/CRIME/07/30/robertson.... http://afghanistan.nationalpost.com/canada-in-afgh... http://news.scotsman.com/world/Karzai39s-Taleban-t... http://www.soufangroup.com/tsg-intelbrief-afghanis... http://content.time.com/time/nation/article/0,8599... http://www.tolonews.com/en/afghanistan/1591-aihrc-... http://www.diis.dk/files/media/documents/publicati... http://watson.brown.edu/costsofwar/files/cow/imce/...