สถานีย่อย:เภสัชกรรม


"เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าไปจัดการการศึกษาวิชาแพทย์ และ วิชาผดุงครรภ์และพยาบาล ได้สักหน่อย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถก็ทรงมีพระดำริว่า ตามกรมกองทหารบกมีแพทย์ประจำหน่วยพยาบาลอยู่แล้ว และยังจะได้เพิ่มเติมไปอีกเรื่อยๆ แต่ทางเภสัชกรรมนั้น ยังไม่มีผู้ใดได้เรียนและได้รับการอบรมไปประจำตามที่จำหน่ายยาเลย ควรตั้งโรงเรียนปรุงยาขึ้นอีกแขนงหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นด้วย จึงได้จัดตั้งโรงเรียนปรุงยาขึ้น สอนวิชารากฐานร่วมกันไปกับกับนักเรียนแพทย์ แล้วไปแยกกัน ทางฝ่ายแพทย์ปรุงยาก็ไปเรียนเภสัชศาสตร์ และฝึกหัดทางเภสัชกรรม..."— สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระบิดาแห่งเภสัชกรรมไทยeditยินดีต้อนรับสู่สารานุกรมเภสัชกรรม ประตูสู่บทความทางเภสัชกรรมและยารอบตัวเราเภสัชกรรม เป็นวิชาชีพทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย คิดค้น ปรุง จำหน่าย และบริหารจัดการยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาทางเวชกรรม โดยจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ รวมถึงการให้องค์ความรู้ในการใช้ยาแก่ประชาชน จึงต้องใช้ทักษะการปฏิบัติการทางเคมี และความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ควบคู่กัน เพื่อบำบัดโรคให้กับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพเภสัชกรรมถือเป็นวิชาชีพเก่าแก่ มีการพัฒนาการควบคู่กับการวิวัฒนาการของมนุษย์ในแต่และยุคสมัยมาโดยตลอด นับแต่ครั้งมนุษย์สั่งสมความรู้การบริบาลตนเองเบื้องต้น จนกระทั่งจดจำ และบันทึกเป็นตำรายาในเวลาต่อมา แต่เดิม เภสัชกรรมถือเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์ ต่อมาได้มีการแยกความรู้ทางการแพทย์ออกเป็นหลายสาขา อาทิ เภสัชกรรม ทันตกรรม เวชกรรม พยาบาล สหเวชศาสตร์ เป็นต้น โดยการศึกษาทางเภสัชกรรมก็ยังแบ่งออกอีกหลายสาขา ตามความหลากหลายของอาชีพ และการฝึกความชำนาญเฉพาะด้านสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระนามเดิม พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ - ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔) พระราชโอรสองค์ที่ ๕๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์กโดยทรงพระประสงค์ที่จะศึกษาวิชาแพทย์ แต่ในระยะแรกทรงศึกษาวิชากฎหมาย ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงทรงเปลี่ยนไปเรียนวิชาการศึกษา และยังทรงเข้าเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์บางอย่างเป็นส่วนพระองค์กับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นด้วย หลังจากสำเร็จการศึกษาเดินทางกลับประเทศไทย และต่อมาได้สมรสกับ หม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชาร์นแบร์เกอร์) (Elisabeth Scharnberger) สตรีชาวเยอรมัน ณ ที่ทำการอำเภอเวสตมินสเตอร กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ทรงเป็นต้นราชสกุล รังสิต ทรงมีโอรส 2 พระองค์และธิดา 1 พระองค์ โดยพระองค์ได้ทรงจัดตั้งวิชาแพทย์ปรุงยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัย ตามที่กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงปรารภเกี่ยวกับการขาดแคลนแพทย์ปรุงยาในกองทัพ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2476 กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงได้รับการเชิดชูเฉลิมพระเกียรติ์เป็น พระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ที่วังถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2494 ด้วยพระโรคหืดและโรคพระหทัยวาย เป็นราชโอรสองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระชนม์ยืนที่สุด ด้วยพระชนมายุ 66 ปี 4 เดือน อ่านต่อ...นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้ ในสารานุกรมเภสัชกรรม อย่าลังเล!ดูเพิ่มเติมได้ ที่หน้าโครงการวิกิเภสัชกรรมในสถานีย่อยเภสัชกรรมมีหน้าบริหารโครงการวิกิเพื่อบริหารบทความทางเภสัชกรรมและเภสัชศาสตร์โดยเฉพาะ คุณสามารถศึกษานโยบายโครงการ แนวทางการเขียนบทความ และช่วยเหลือ เข้าร่วมกับเราได้ที่โครงการวิกิเภสัชกรรม
เภสัชศาสตร์ เภสัชวิทยา วิชาชีพทางด้านสาธารณสุข คณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีกรุงเทพ สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่