สถานีโทรทัศน์ในฮ่องกง

ในอดีตเกาะฮ่องกง ช่วงภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ มีสถานีที่ให้ความบันเทิงหลายที่แต่ทางด้านสถานีโทรทัศน์หลัก ๆ ที่แข่งขันทางด้านเรตติ้งความนิยม มี สามแห่ง ที่สำคัญเอทีวี หรือเรียกอีกชื่อว่า สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย (จีน: 亞洲電視 ชื่อบริษัท 亞洲電視有限公司 ชื่อย่อ 亞視; อังกฤษ: Asia Television ชื่อบริษัท Asia Television Digital Media Limited ชื่อย่อ ATV) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในฮ่องกงแบบเพย์ทีวี (Pay TV) และเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาจีนแห่งแรกในเขตกวางตุ้งของโลกอีกด้วย ก่อตั้งและแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในฮ่องกงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ในนาม สถานีวิทยุกระจายเสียง "ลี่เต๋อ" (Li's Voice) ด้วยการก่อตั้งสถานีวิทยุจำกัดเชิงพาณิชย์ในฮ่องกง แห่งแรกขึ้นมา ต่อมาได้ทำการเปิดตัวบริการโทรทัศน์ เป็น สถานีวิทยุและโทรทัศน์ (Li's Voice TV) ในภายหลังเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์หลัก ใช้ชื่อเป็น อาร์ทีวี และ เอทีวี Asia Television ตามลำดับ เปิดหน้าแรกประวัติศาสตร์ฮ่องกงทีวีอย่างเป็นทางการ สถานีโทรทัศน์ทีวีบี เป็นสถานีฟรีทีวีแห่งแรกในฮ่องกง และเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินแห่งที่สองในฮ่องกง เปิดสถานีครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โดยบริษัทได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 มีเซอร์ รัน รัน ชอว์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานจาก 2523 ถึง 2554 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งทั้งนี้สถานีโทรทัศน์ทีวีบีร่วมกับบริษัทอังกฤษและบริษัทจีนจำนวนหนึ่งในฮ่องกงได้จัดตั้งสมาคมเพื่อจัดตั้งภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ( TV Broadcasting Co., Ltd. )นับตั้งแต่นั้น ในทุก ๆ ปี ทางทีวีบีจะนับวันนี้เป็นวันฉลองครบรอบประจำปีมาจนถึงปัจจุบันซึ่งในแต่ละปีนั้นก็จะมีงานกืจกรรมให้ดาราในค่ายมาร่วมโชว์การแสดงต่าง ๆ ให้ผู้ชมทางบ้านได้ดูละครเรื่อง "สวรรค์จำพราก" (Dream of Love 1967) 21 ตอนจบ เป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกที่ผลิตขึ้นโดยช่องทีวีบี ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (ระยะเวลาออนแอร์ในปี พ.ศ. 2510-2511) โดยผู้อำนวยการสร้าง คือ "จงจิงฮุ่ย" ได้ออกอากาศโดยสร้างแบบอย่างให้กับละครโทรทัศน์กวางตุ้ง จนกลายมาเป็นความนิยมของกระแสหลักในรายการทีวีฮ่องกง ความสำเร็จของช่อง ทีวีบี ทำให้ทางด้าน เอทีวี ได้ทำการเปลี่ยนระบบการแพร่ภาพจาก เพล์ทีวี มาเป็น ฟรีทีวี เพื่อเข้าแข่งขันแย่งเรตติ้งยอดผู้ชมหลังจากนั้นช่อง เจียซื่อ (Jiayi TV) เข้าร่วมเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2518 เปิดสถานการณ์ "สามคู่แข่ง" ในตลาดฟรีทีวี อย่างดุเดือด แต่อย่างไรก็ตาม เจียซื่อ ใช้เวลาไม่ถึง 3 ปีก่อนล้มละลายในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 หลังจาก เจียซื่อ ล้มละลาย ปรากฏการณ์สงครามจอแก้วสองช่องได้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 40 ปี ระหว่างช่อง ทีวีบี และ เอทีวี เรียกว่า "สงครามการดู" สำหรับในฮ่องกง เอทีวี ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นรองช่อง ทีวีบี มาโดยตลอด ยิ่งในช่วงยุค 80 เรตติ้งยิ่งลดลงกว่าตอนชื่อเดิม "อาร์ทีวี"ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "การดูเฉื่อย" ขึ้นมาและสถานการณ์ของช่องทีวีบี ที่สามารถครอบงำสื่อแทบทั้งสิ้น ทั้งเรื่องเรตติ้งและความดังของนักแสดงในสังกัดทีวีบี (แทบจะผูกขาดกันเลย) ที่เหนือกว่าช่อง เอทีวีต่อมาไปนี้คือการแข่งขันทางวงการจอแก้วในเกาะฮ่องกงทั้งต่างค่ายและในค่ายเดียวกัน โดยแยกตามในแต่ละยุค แต่ละทศวรรษ [1][2][3][4][5][6][7][8]

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีกรุงเทพ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถานีโทรทัศน์ในฮ่องกง http://big5.china.com.cn/culture/txt/2007-09/27/co... http://eladies.sina.com.cn/movie/movie/1999-8-11/6... http://www.bbc.com/zhongwen/trad/china/2016/04/160... http://hkmdb.com/db/people/view.mhtml?id=2157&disp... http://yule.sohu.com/00/93/article213029300.shtml http://pdf.sznews.com/hkcd/2000/0411/newsfile/n14-... http://www.am730.com.hk/column-264440 http://www.rthk.org.hk/broadcast75/topic03a.htm http://www.rthk.org.hk/broadcast75/topic03c.htm http://life.sinchew.com.my/node/19990?tid=64