สนธิสัญญาลาเตรัน

สนธิสัญญาลาเตรัน เป็นหนึ่งในกลุ่มสนธิสัญญาลาเตรัน ค.ศ. 1929 หรือข้อตกลงลาเตรัน ซึ่งเป็นความตกลงสามฉบับที่กระทำใน ค.ศ. 1929 ระหว่างราชอาณาจักรอิตาลีกับสันตะสำนัก ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1929 ยุติ "ปัญหาโรมัน" อิตาลีขณะนั้นอยู่ภายใต้รัฐบาลฟาสซิสต์ รัฐบาลอิตาลีชุดต่อมาทั้งหมดต่างถือสนธิสัญญานี้กลุ่มสนธิสัญญาลาเตรันประกอบด้วยเอกสารสามฉบับ ดังนี้การเจรจาเพื่อการชำระหนี้ของปัญหาโรมันเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1926 ระหว่างรัฐบาลอิตาลีกับสันตะสำนัก และเป็นผลให้เกิดความตกลงในข้อตกลงลาเตรันสามฉบับ ลงพระปรมาภิไธยโดย พระเจ้าวิกเตอร์ อิมมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี, ลงนามโดย เบนิโต มุสโสลินี นายกรัฐมนตรีอิตาลีและผู้นำ ("ดูเช") แห่งพรรคฟาสซิสต์แห่งชาติ และแทนสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 โดยปีเอโตร กัสปาร์รี เลขาธิการแห่งรัฐคาร์ดินัล เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929 ความตกลงนี้ลงนามในพระราชวังลาเตรัน จึงเป็นชื่อของสนธิสัญญาความตกลงนี้รวมสนธิสัญญาการเมืองซึ่งสถาปนารัฐนครวาติกันและรับรองเอกราชที่บริบูรณ์และเป็นอิสระแก่สันตะสำนัก สมเด็จพระสันตะปาปาถูกผูกมัดให้เป็นกลางในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและงดการไกล่เกลี่ยในข้อถกเถียงเว้นแต่ได้รับการร้องขอจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะตลอดไป ความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาลซึ่งระบุให้นิกายคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติอิตาลี ความตกลงการเงินได้รับการตอบรับว่าเป็นการชำระหนี้การอ้างสิทธิ์ทั้งหมดของสันตะสำนักต่ออิตาลีซึ่งเกิดจากการสูญเสียอำนาจทางโลกใน ค.ศ. 1870

สนธิสัญญาลาเตรัน

เงื่อนไข สนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรอิตาลีและนครรัฐวาติกัน
ประเภท สนธิสัญญาทวิภาคี
วันลงนาม 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929 (1929-02-11)
ผู้ลงนาม
  • อิตาลี
    นครรัฐวาติกัน
สถานที่ โรม, อิตาลี
วันร่าง การก่อตั้งรัฐสันตะปาปาในคาบสมุทรอิตาลี

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา