สนธิสัญญาลิสบอน

สนธิสัญญาลิสบอน (อังกฤษ: Treaty of Lisbon) เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาสองฉบับที่เป็นรากฐานทางกฎหมายของสหภาพยุโรป (EU) อันได้แก่สนธิสัญญามาสทริชท์ (พ.ศ. 2536) และ สนธิสัญญาโรม (พ.ศ. 2501) สนธิสัญญาลิสบอนได้รับการลงนามโดยผู้แทนจาก 28 รัฐสมาชิกในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552สาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิการลงมติในคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป จากเดิมใช้ระบบแบ่งช่วงประชากรเพื่อกำหนดจำนวนเสียงลงคะแนน มาเป็นระบบคะแนนเสียงถ่วงน้ำหนักตามประชากรของแต่ละประเทศ การใช้ระบบใหม่นี้ทำให้บรรดาชาติที่มีประชากรเป็นอันดับต้นๆอย่าง เยอรมนี, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, สเปน ได้รับผลประโยชน์จากอำนาจลงคะแนนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ชาติที่มีประชากรน้อยสูญเสียอำนาจในการลงคะแนนบางส่วนไป สนธิสัญญาฉบับนี้ยังเปิดทางให้มีร่างกฎหมายสหภาพว่าด้วยสิทธิ ซึ่งบังคับใช้เป็นกฎบัตรสิทธิขั้นพื้นฐาน และยังระบุถึงสิทธิของรัฐสมาชิกที่จะออกจากการเป็นสมาชิกภาพไว้อย่างชัดแจ้ง

สนธิสัญญาลิสบอน

ภาคี สหภาพยุโรป
ผู้เก็บรักษา รัฐบาลอิตาลี
ประเภท แก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาฉบับเดิม
มีผลวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วันลงนาม 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ผู้ลงนาม 28 รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป
สถานที่ อารามเจโรนิมอส, ลิสบอน, ประเทศโปรตุเกส
ภาษา 23 ภาษาทางการในสหภาพยุโรป
ตราวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา