สนธิสัญญาแบร์น

สนธิสัญญาแบร์น (ฝรั่งเศส: Traité de Berne; อังกฤษ: Treaty of Bern) ซึ่งมีการลงนามเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1874 เป็นสนธิสัญญาซึ่งก่อตั้งสหภาพไปรษณีย์ทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพสากลไปรษณีย์นับตั้งแต่ ค.ศ. 1878 เนื่องจากมีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นสนธิสัญญาดังกล่าวมีการลงนามในกรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสนธิสัญญา เป็นผลมาจากการประชุมระหว่างประเทศซึ่งจัดขึ้นโดยรัฐบาลสวิสเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1874 ในการประชุมมีผู้แทนจาก 22 ประเทศเข้าร่วม แผนสำหรับการประชุมได้ถูกร่างขึ้นโดยเฮนริช ฟอน สเตฟาน เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ชาวเยอรมันจุดประสงค์ของสนธิสัญญาเพื่อประสานและวางระเบียบบริการไปรษณีย์ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนไปรษณีย์ระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรี ประเทศผู้ลงนามในสนธิสัญญา ณ ขณะนั้น ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เบลเยี่ยม เดนมาร์ก อียิปต์ สเปน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร กรีซ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย จักรวรรดิรัสเซีย เซอร์เบีย สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และจักรวรรดิออตโตมันวันที่ 9 ตุลาคมของทุกปีจะมีการจัดงานวันไปรษณีย์โลก เพื่อรำลึกถึงวันที่มีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)