สนธิสัญญาไทย-สหรัฐอเมริกา_พ.ศ._2463

สนธิสัญญาไทย-สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2463 เป็นข้อตกลงทวิภาคีฉบับแรกที่มีผลฟื้นฟูเอกราชทางการศาลและการศุลกากรของที่ไทยเคยสูญเสียไปก่อนหน้านั้น โดยสนธิสัญญาดังกล่าวมีเนื้อหายกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และให้สิทธิไทยในการกำหนดภาษีศุลกากรและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้เอง มีการลงนามเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2463 สนธิสัญญาดังกล่าวมีอายุ 10 ปีหลังการเจรจาสันติภาพที่พระราชวังแวร์ซายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐบาลสยามได้แต่งตั้งเอลดอน เจมส์ ชาวอเมริกัน เป็นผู้แทนเจรจากับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ได้รับการเสนอให้ติดต่อผ่านทางอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน เพื่อขอแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม (ดู สนธิสัญญาเบาว์ริง) ในด้านอัตราภาษีศุลกากรและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสนธิสัญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือหลังจากนั้น สยามได้มีการเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศอื่นตามลำดับ ได้แก่ ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2466) ฝรั่งเศส (พ.ศ. 2467) และอังกฤษ (พ.ศ. 2468) ตลอดจนอีก 7 ประเทศทวีปยุโรปภายใน พ.ศ. 2470สำหรับการเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้ฟรานซิส บี. แซร์ เป็นผู้แทนรัฐบาล มีอำนาจเจรจาต่อรองกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ เป็นผู้เจรจา โดยฝรั่งเศสขอสิทธิในการจัดตั้งศาลในสยามขึ้นพิจารณาคดีจนกว่าจะบังคับใช้ประมวลกฎหมายสมัยใหม่ และอังกฤษให้สยามเรียกเก็บภาษีศุลกากรฝ้าย เหล็ก และเหล็กกล้าในอัตราไม่เกินร้อละ 5 เป็นเวลา 10 ปี

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)