สภานิติบัญญัติแห่งชาติ_(ประเทศไทย)_พ.ศ._2557
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ_(ประเทศไทย)_พ.ศ._2557

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ_(ประเทศไทย)_พ.ศ._2557

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 (31 กรกฎาคม 2557 – 21 พฤษภาคม 2562[ต้องการอ้างอิง]) จัดตั้งขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลังรัฐประหาร และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา มีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 250 คน[3]โดยมีหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้เสนอชื่อ ซึ่งในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกจำนวน 200 คน ลาออกรวม 12 ราย และได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติม 31 คน หลังจากนั้นมี สมาชิกเสียชีวิต 2 ราย คงเหลือ 217 ราย วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีการแต่งตั้งเพิ่ม 33 ราย จนครบ 250 ราย วันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เสียชีวิต คงเหลือสมาชิก 249 รายวันที่ 8 สิงหาคม 2557 สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการลงมติเลือกประธานและรองประธาน ผลปรากฏว่าศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธาน สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธานคนที่ 1 และ พีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานคนที่ 2[4]สื่อต่างประเทศวิจารณ์สภานี้ว่าเป็นสภาตรายาง เพราะมีสมาชิกที่เป็นทหารจำนวนมาก[5] ด้านภายในประเทศสภานิติบัญญัติถูกวิจารณ์เรื่องการเพิ่มอำนาจให้กับพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม[6] รวมทั้งอำนาจให้พระมหากษัตริย์ให้ทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และเลขานุการในคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย[7]สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ยังนับเป็นสภาแรกที่ออกพระราชบัญญัติมากถึง 450 ฉบับ[8] พระราชกำหนด 16 ฉบับ (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) เฉพาะที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่นับรวมการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อีก 4 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 470 ฉบับ (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)สนช.ชุดนี้ยังมีมติในการแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย สภานิติบัญญัติแห่งชาติประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ก่อนจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากมีการเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ_(ประเทศไทย)_พ.ศ._2557

ประเภท ระบบสภาเดี่ยว
ระบบการเลือกตั้ง แต่งตั้ง
เลขาธิการ นัฑ ผาสุข[1]
รองประธานคนที่ 2 พีระศักดิ์ พอจิต
รองประธานคนที่ 1 สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
สมาชิก 250[2]
กลุ่มการเมืองใน
ประธาน พรเพชร วิชิตชลชัย

ใกล้เคียง

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) สภานิติบัญญัติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2516 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2534 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2515 สภานิติบัญญัติฮ่องกง สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ_(ประเทศไทย)_พ.ศ._2557 http://www.womenofchina.cn/womenofchina/html1/news... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bbc.com/news/world-asia-pacific-1372345... http://true-th.listedcompany.com/board/Kosol.html http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/politic/425641 http://www.reuters.com/article/2014/09/25/us-thail... http://news.sanook.com/1645193/%E0%B8%94%E0%B9%88%... http://www.niigata-u.ac.jp/index_e.html