การประชุม ของ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การประชุมสุดยอดอาเซียน

ดูบทความหลักที่: การประชุมสุดยอดอาเซียน
ป้ายประกาศในกรุงจาการ์ตาต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 18

ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งหัวหน้ารัฐบาลแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี[37] อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน[37] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[38]

การประชุมอาเซียนอย่างเป็นทางการมีกำหนดการสามวัน ดังนี้

  • ผู้นำของรัฐสมาชิกจะจัดการประชุมภายใน
  • ผู้นำของรัฐสมาชิกจะหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมกลุ่มอาเซียน
  • การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดอาเซียน
  • การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียน-เซอร์" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการ
ครั้งที่วันที่ประเทศสถานที่จัดการประชุม
123-24 กุมภาพันธ์ 2519 อินโดนีเซียบาหลี
24-5 สิงหาคม 2520 มาเลเซียกัวลาลัมเปอร์
314-15 ธันวาคม 2530 ฟิลิปปินส์มะนิลา
427-29 มกราคม 2535 สิงคโปร์สิงคโปร์
514-15 ธันวาคม 2538 ไทยกรุงเทพมหานคร
615-16 ธันวาคม 2541 เวียดนามฮานอย
75-6 พฤศจิกายน 2544 บรูไนบันดาร์เซอรีเบอกาวัน
84-5 พฤศจิกายน 2545 กัมพูชาพนมเปญ
97-8 ตุลาคม 2546 อินโดนีเซียบาหลี
1029-30 พฤศจิกายน 2547 ลาวเวียงจันทน์
1112-14 ธันวาคม 2548 มาเลเซียกัวลาลัมเปอร์
1211-14 มกราคม 25501 ฟิลิปปินส์2เซบู
1318-22 พฤศจิกายน 2550 สิงคโปร์สิงคโปร์
14327 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ไทยชะอำ, หัวหิน
10–11 เมษายน 2552พัทยา
1523-25 ตุลาคม 2552ชะอำ, หัวหิน
168-9 เมษายน 2553 เวียดนามฮานอย
1728-31 ตุลาคม 2553
187-8 พฤษภาคม 2554 อินโดนีเซีย4จาการ์ตา
1914-19 พฤศจิกายน 2554บาหลี
203-4 เมษายน 2555 กัมพูชาพนมเปญ
2117–20 พฤศจิกายน 2555
2224–25 เมษายน 2556 บรูไนบันดาร์เซอรีเบอกาวัน
239–10 ตุลาคม 2556
2410–11 พฤษภาคม 2557 พม่ากรุงเนปยีดอ
2510–12 พฤศจิกายน 2557
2626‒27 เมษายน 2558 มาเลเซียกัวลาลัมเปอร์, เกาะลังกาวี
2718–22 พฤศจิกายน 2558กัวลาลัมเปอร์
286–8 กันยายน 2559 ลาวเวียงจันทน์
29
3026-27 เมษายน 2560 ฟิลิปปินส์ปาไซ
3110-14 พฤศจิกายน 2560
3225-28 เมษายน 2561 สิงคโปร์สิงคโปร์
3311–15 พฤศจิกายน 2561
3420–23 มิถุนายน 2562[39] ไทยกรุงเทพมหานคร
3531 ตุลาคม–4 พฤศจิกายน 2562[40]กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี[41][42]
362563 เวียดนามยังไม่ได้กำหนด
37
1 การประชุมเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 10-14 ธันวาคม เนื่องจากภัยไต้ฝุ่น.
2 พม่าไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเนื่องจากความกดดันอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป.
3 การประชุมถูกเลื่อนออกไปสองครั้งเนื่องจากการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล.
4 อินโดนีเซียเสนอแลกเปลี่ยนกับบรูไนอาจจะเป็นเจ้าภาพเอเปค (และอาจมีการประชุม G20) ในปี 2013.

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

ประเทศผู้เข้าร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก:
  อาเซียน
  อาเซียนบวกสาม
  สมาชิกเพิ่มเติม
  ผู้สังเกตการณ์

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเป็นการจัดการประชุมทั่วเอเชียซึ่งจัดขึ้นทุกปีโดยผู้นำเอเชียตะวันออก 16 ประเทศ หัวข้อการประชุมนั้นเกี่ยวกับการค้า พลังงานและความมั่นคง และการประชุมสุดยอดดังกล่าวยังมีบทบาทในการสร้างประชาคมภูมิภาค

ประเทศผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ชาติอาเซียน 10 ประเทศร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งมีประชากรรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 รัสเซียและสหรัฐอมริกาได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกเต็มตัวอย่างเป็นทางการ ประธานาธิบดีของทั้งสองประเทศเข้าร่วมการประชุมสุดยอดใน พ.ศ. 2554

การประชุมสุดยอดครั้งแรกจัดขึ้นในกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2548 และการประชุมครั้งต่อ ๆ มาถูกจัดขึ้นหลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนประจำปี

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
ครั้งที่ ประเทศ สถานที่ วันที่ หมายเหตุ
1 มาเลเซียกัวลาลัมเปอร์14 ธันวาคม 2548รัสเซียได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม.
2 ฟิลิปปินส์มันดาเว15 มกราคม 2550ถูกเลื่อนมาจากวันที่ 13 ธันวาคม 2549.

มีการลงนามปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก

3 สิงคโปร์สิงคโปร์21 พฤศจิกายน 2550ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ พลังงานและสิ่งแวดล้อม[43]

ข้อตกลงว่าด้วยการก่อตั้งสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก

4 ไทยชะอำ, หัวหิน25 ตุลาคม 2552วันที่และสถานที่ประชุมมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง เดิมการประชุมสุดยอดถูกกำหนดไว้วันที่ 12 เมษายน 2552 ที่พัทยา แต่ถูกยกเลิกเมื่อผู้ประท้วงล้อมสถานที่ประชุม การประชุมถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนตุลาคม 2552 และย้ายจากภูเก็ต[44]มาเป็นชะอำและหัวหิน.[45]
5 เวียดนามฮานอย30 ตุลาคม 2553เชิญสหรัฐอเมริกาและรัสเซียเข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกในอนาคต[46]
6 อินโดนีเซียบาหลี19 พฤศจิกายน 2554สหรัฐอเมริกาและรัสเซียเข้าร่วมประชุม
7 กัมพูชาพนมเปญ20 พฤศจิกายน 2555
8 บรูไนบันดาร์เซอรีเบอกาวัน10 ตุลาคม 2556
9 พม่ากรุงเนปยีดอ13 พฤศจิกายน 2557
10 มาเลเซียกัวลาลัมเปอร์21–22 พฤศจิกายน 2558
11 ลาวเวียงจันทน์6–8 กันยายน 2559
12 ฟิลิปปินส์ปาไซ13–14 พฤศจิกายน 2560
13 สิงคโปร์สิงคโปร์14–15 พฤศจิกายน 2561
14 ไทยกรุงเทพมหานคร4 พฤศจิกายน 2562
15 เวียดนามยังไม่ได้กำหนด2563

การประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรี

การประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรีเป็นการประชุมระหว่างประเทศเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างชาติอาเซียน ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องในวาระครบรอบการก่อตั้งความสัมพันธ์ทางการทูต ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนจะเป็นผู้เชิญชวนผู้นำชาติอาเซียนเพื่อประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือในอนาคต

ที่ประชุมกลุ่มอาเซียน

ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนเป็นการประชุมหลายฝ่ายอย่างเป็นทางการในภาคพื้นแปซิฟิก ในเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ประชุมดังกล่าวประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 27 ประเทศ; ออสเตรเลีย บังกลาเทศ แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี รัสเซีย ติมอร์-เลสเต สหรัฐอเมริกา และศรีลังกา จุดประสงค์ของที่ประชุมเพื่อการปรึกษาหารือ นำเสนอความไว้วางใจและธำรงความสัมพันธ์ทางการทูตในกลุ่มสมาชิก ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2537[47][48]

การประชุมอื่น

นอกเหนือจากการประชุมที่กล่าวมาข้างต้น อาเซียนยังได้มีการจัดการประชุมอื่นขึ้นอีก[49] ประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนประจำปี[50] รวมไปถึงคณะกรรมการย่อย อย่างเช่น ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[51] การประชุมดังกล่าวมักจะมีหัวข้อการประชุมที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ความมั่นคงระหว่างประเทศ[49] สิ่งแวดล้อม[49][52] ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะเป็นรัฐมนตรีแทนที่จะเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลทั้งหมด

การประชุมอาเซียนบวกสาม

ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลักดันให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เกาหลีใต้ก็ได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ด้วยการผนึกสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนที่เรียกชื่อว่า "อาเซียนบวกสาม" (APT) แต่สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินหน้าจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน โดยกีดกันญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยความจงใจ แม้ว่าตามข้อตกลงในการจัดซื้อเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน จะมีแผนที่จะผนวกเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเข้ามาในภายหลังเพื่อเป็นอาเซียนบวกสาม แต่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาอันแน่นอน อันทำให้เขตการค้าเสรีอาเซียนบวกสาม

การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป

การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรปเป็นกระบวนการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ มีขึ้นครั้งแรกในปี 2538 เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกของสหภาพยุโรปและอาเซียน[53] โดยกลุ่มอาเซียนจะส่งเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมกับผู้แทนอีก 45 คน และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะผู้บริหารของมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือกันทางด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเอเชียกับยุโรป

การประชุมอาเซียน-รัสเซีย

เป็นการประชุมประจำปีระหว่างผู้นำของประเทศกลุ่มอาเซียนร่วมกับประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย

การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน

การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Navy Chiefs' Meeting หรือ ANCM) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยกองทัพเรือไทยเป็นเจ้าภาพ ใช้ชื่อว่า ASEAN Navy Interaction (ANI) หลังการประชุมครั้งที่ 3 ได้เว้นช่วงไประยะหนึ่ง จึงดำเนินการจัดการประชุมต่อในครั้งที่ 4 ที่อินโดนีเซีย และในการประชุมครั้งที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อการประชุมเป็น ASEAN Navy Chiefs' Meeting

ครั้งที่ (ปี พ.ศ.)เจ้าภาพหัวข้อการประชุม
1 (2544)ไทย
2 (2546)มาเลเซีย
3 (2548)สิงคโปร์
4 (2553)อินโดนีเซีย
5 (2554)เวียดนามASEAN Naval Cooperation for Peace and Sea Security
6 (2555)บรูไนFriendship at Sea for Regional Maritime Peace and Security
7 (2556)ฟิลิปปินส์Partnership for Peace and Prosperity
8 (2557)ไทยASEAN Underway: Navies After 2015

ใกล้เคียง

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมาคมกีฬาโรมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ สมาคมสร้างคุณค่า สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสหพันธ์กีฬานานาชาติ สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ http://www.dfat.gov.au/arf/ http://www.chinadaily.com.cn/china/2009-06/27/cont... http://geography.about.com/od/politicalgeography/a... http://www.asean-tourism.com/aboutasean/ http://www.aseannewsnetwork.com/ http://www.aseanports.com/ http://www.asian-aerocad.com/news/news.php?newsid=... http://aseansummit.bernama.com/ http://www.centreforaviation.com/aviation/index.ph... http://findarticles.com/p/articles/mi_m0WDP/is_200...