ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ของ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[34] แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก[35] เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549[36] และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ใน พ.ศ. 2550 ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

ใกล้เคียง

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมาคมกีฬาโรมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ สมาคมสร้างคุณค่า สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย สมาคมสหพันธ์กีฬานานาชาติ สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ http://www.dfat.gov.au/arf/ http://www.chinadaily.com.cn/china/2009-06/27/cont... http://geography.about.com/od/politicalgeography/a... http://www.asean-tourism.com/aboutasean/ http://www.aseannewsnetwork.com/ http://www.aseanports.com/ http://www.asian-aerocad.com/news/news.php?newsid=... http://aseansummit.bernama.com/ http://www.centreforaviation.com/aviation/index.ph... http://findarticles.com/p/articles/mi_m0WDP/is_200...