สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช[เชิงอรรถ 1] (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรีเดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อมา พ.ศ. 2310 เกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีกเจ็ดเดือนถัดมา[1] โดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี และรวบรวมแผ่นดินซึ่งมีขุนศึกก๊กต่าง ๆ ปกครองให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังทรงฟื้นฟูราชอาณาจักรในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทั้งส่งเสริมกิจการด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา ภายหลังรัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราชพระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อพระชนมพรรษา 48 พรรษา หลังถูกสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งเป็นพระสหายสำเร็จโทษ และสืบราชสมบัติต่อเป็นต้นราชวงศ์จักรีในปัจจุบัน รวมเวลาครองราชย์ 15 ปี พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 30 พระองค์[8] พระองค์ทรงเป็นวีรกษัตริย์ของชาติไทยที่ประชาชนรู้จักดีและเป็นที่เคารพสักการะมากที่สุดพระองค์หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสรณ์ของพระองค์มีประดิษฐานมากที่สุดและมักได้รับการกล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์มาก

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระราชบุตร 30 พระองค์
พระราชสมภพ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277[4][5]
สิน
ราชวงศ์ ราชวงศ์ธนบุรี
ฝังพระศพ วัดอินทารามวรวิหาร
ก่อนหน้า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
ครองราชย์ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325 (700114000000000000014 ปี 7002151000000000000151 วัน)
วัดประจำรัชกาล
วัดประจำรัชกาล
วัดอินทารามวรวิหาร[2]
พระราชมารดา กรมพระเทพามาตย์ (นกเอี้ยง)
พระราชบิดา หยง แซ่แต้ (鄭鏞)[3]
ราชาภิเษก 28 ธันวาคม พ.ศ. 2311
กรุงธนบุรี อาณาจักรธนบุรี
พระมเหสี กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์
สวรรคต 6 เมษายน พ.ศ. 2325 (48 พรรษา)
กรุงธนบุรี อาณาจักรธนบุรี
ถัดไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
มเหสี กรมหลวงบาทบริจา

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี http://www.changsipmu.com/thaiart_p05.html http://thkhon.multiply.com/photos/album/47/Ramakie... http://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&... http://www.prajan.com/webboard/view.php?id=4670&PH... http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sect... http://www.thaifolk.com/doc/wangderm.htm http://www.usmta.com/history-4.htm http://www.academia.edu/10918681/%E0%B8%88%E0%B8%B... http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25... http://www.oknation.net/blog/vana/2008/04/12/entry...