สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นายพลเอก[12] มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก[13] นายกองเอก[14] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว. และเป็นองค์ต้นราชสกุลดิศกุล[15] ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า "พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร หรือ เสด็จพระองค์ดิศ" ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหารและพลเรือน เช่น เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการทหารบก อธิบดีกรมศึกษาธิการ (ตำแหน่งเทียบเท่าเสนาบดี) องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร นายกราชบัณฑิตยสภา องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และอภิรัฐมนตรีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนอกจากนี้ ยังทรงพระปรีชาสามารถในด้านการศึกษา การปกครอง การต่างประเทศ การสาธารณสุข หลักรัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรม ทรงได้รับพระสมัญญานามเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย" และ "พระบิดาแห่งมัคคุเทศก์ไทย" ทรงเป็นองค์ผู้อำนวยการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ที่ประชุมใหญ่ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศถวายสดุดีให้พระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย[16] และวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็นวันดำรงราชานุภาพ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการถวายความรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย[17]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ราชวงศ์ จักรี
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[11]
พระบุตร 37 องค์
พระมารดา เจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว.
ลายพระอภิไธย
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
จังหวัดพระนคร ราชอาณาจักรสยาม
ถัดไป เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)
ประสูติ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405
กรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรสยาม
หม่อม(สะใภ้หลวง) หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา ท.จ.

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ http://www.supadisdiskul.com/familytree03.html http://www.trueplookpanya.com/blog/content/51031/-... http://www.lib.ru.ac.th/journal/damrong.html http://www.prince-damrong.moi.go.th/ http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?to... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/06... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/06... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/04... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/00...