การปฏิรูป ของ สหประชาชาติ

ดูบทความหลักที่: การปฏิรูปสหประชาชาติ
สัญลักษณ์ที่ได้รับการเสนอให้เป็นสัญลักษณ์ของสมัชชารัฐสภาแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงถึงการเลือกตั้งผู้แทนของประเทศโดยพลเมืองของประเทศนั้น ๆ

นับตั้งแต่มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ก็ได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปองค์การหลายครั้ง แม้ว่าจะมีทิศทางการแก้ไขที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็ตาม บางฝ่ายต้องการให้องค์การสหประชาชาติมีบทบาทมากขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นในกิจการของโลก ขณะที่บางฝ่ายต้องการให้ลดบทบาทขององค์การเหลือเพียงการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเท่านั้น[48] นอกจากนี้ ยังมีการเรียกร้องให้เพิ่มสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติขึ้นอีก เพื่อที่จะให้มีหนทางที่แตกต่างในการเลือกตั้งเลขาธิการสหประชาชาติ และสมัชชารัฐสภาแห่งสหประชาชาติ

สหประชาชาติยังได้รับคำวิจารณ์ในด้านการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพและสิ้นเปลือง ระหว่างช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 สหรัฐอเมริกาปฏิเสธที่จะบริจาคเงินอุดหนุนให้แก่สหประชาชาติโดยอ้างว่าสหประชาชาติบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ และจะเริ่มบริจาคเงินอุดหนุนให้อีกครั้งภายหลังจากมีการประกาศปฏิรูปองค์การเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1994 สมัชชาใหญ่ได้มีมติให้มีการจัดตั้งสำนักงานบริการตรวจสอบภายในขึ้นเพื่อเป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพภายในองค์การ[49]

โครงการปฏิรูปอย่างเป็นทางการ เริ่มต้นขึ้นโดย โคฟี แอนนัน ในปี ค.ศ. 1997 การปฏิรูปอย่างกล่าวรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงตัวสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเดิมสะท้อนถึงมหาอำนาจของโลกภายหลังปี ค.ศ. 1945 เพื่อให้ระบบการทำงานโปร่งใสขึ้น มีเหตุมีผลและมีประสิทธิภาพ ทำให้องค์การสหประชาชาติมีรูปแบบเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และมีการกำหนดภาษีศุลกากรในประดิษฐกรรมอาวุธทั่วโลก

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 สหประชาชาติได้จัดการประชุมโลก การประชุมครั้งนี้เรียกว่า "การประชุมครั้งหนึ่งในโอกาสแห่งชั่วอายุคนเพื่อการตัดสินใจครั้งสำคัญในพื้นที่การพัฒนา ความมั่นคง สิทธิมนุษยชนและการปฏิรูปสหประชาชาติ"[50] โคฟี แอนนันได้เสนอให้ที่ประชุมได้ตกลง "ลดราคาครั้งใหญ่" ในการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองขององค์การต่อสันติภาพ ความมั่นคง สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา และปรับปรุงรูปแบบเพื่อรองรับเหตุการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผลของการประชุมได้ข้อสรุปเป็นการประนีประนอมของเหล่าผู้นำโลก[51] ซึ่งสรุปให้มีการก่อตั้งคณะกรรมการสร้างสันติภาพ เพื่อให้การช่วยเหลือประเทศที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและกองทุนประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการต่อสู้อย่างชัดเจนต่อการก่อการร้าย "ในทุกรูปแบบและการกระทำ" และข้อตกลงที่จะมอบทรัพยากรให้แก่สำนักงานบิรหารตรวจสอบภายในเพิ่มขึ้น ให้เงินสนับสนุนอีกพันล้านให้แก่เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ ยกเลิกคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติเนื่องจากทำภารกิจลุล่วงแล้ว และประชาคมโลกจะต้องมี "ความรับผิดชอบในการป้องกัน" ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลแห่งชาติที่จะคอยป้องกันพลเมืองของตนจากอาชญากรรมร้ายแรง

สำนักงานบริการตรวจสอบภายในได้มีการก่อตั้งขึ้นใหม่ด้วยขอบเขตและอำนาจที่ได้รับอย่างชัดเจน และจะได้รับทรัพยากรเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น สมัชชาใหญ่ยังได้รับอำนาจการตรวจสอบเพิ่มขึ้น มีการก่อตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการตรวจสอบอิสระ (IAAC) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006 คณะกรรมการชุดที่ห้าได้ออกมติร่างข้อเรียนปฏิบัติของคณะกรรมการดังกล่าว[52][53] สำนักงานหลักจรรยาได้ก่อตั้งขึ้นในปีเดียวกัน มีอำนาจรับผิดชอบในการบริหารการเปิดเผยทางการเงินและนโยบายการป้องกันผู้ให้ข้อมูล สำนักงานหลักจรรยาได้ดำเนินการร่วมกับ OIOS ในการวางแผนส่งเสริมนโยบายการป้องกันการฉ้อราษฎร์บังหลวง[54] สำนักเลขาธิการกำลังอยู่ระหว่างการทบทวนอำนาจที่ได้รับมอบของสหประชาชาติที่มีอายุมากกว่าห้าปี การทบทวนดังกล่าวมีขึ้นเพื่อกำจัดโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่าไม่จำเป็น โดยมีหัวข้อที่ต้องทบทวนกว่า 7,000 หัวข้อ และมีการโต้แย้งกันในเรื่องที่ว่าจะการกำหนดอำนาจที่ได้รับมอบขึ้นมาใหม่ จนถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการอยู่[55]

ใกล้เคียง

สหประชาชาติ สหประชาชาติจำลอง วันสหประชาชาติ สุประวัติ ปัทมสูต สีประจำวันในประเทศไทย สีประจำโรงเรียน สนประดิพัทธ์ สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์ สีประจำชาติ สุประวีณ์ มีประทัง

แหล่งที่มา

WikiPedia: สหประชาชาติ http://elearning.security-research.at/flash/un http://www.ag.gov.au/agd/WWW/unoilforfoodinquiry.n... http://www.eqrolc.ca/ http://foreignpolicy.com/story/cms.php?story_id=34 http://books.google.com/books?id=1e13PNeB4DIC&pg=P... http://hanskoechler.com/koechler-quo-vadis-UN.htm http://www.iht.com/articles/2006/05/08/news/abuse.... http://www.iht.com/articles/ap/2007/11/02/news/UN-... http://www.innercitypress.com/ http://www.nytimes.com/2006/02/26/opinion/26sun2.h...