สหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียต

สหภาพโซเวียต

สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; อังกฤษ: Union of Soviet Socialist Republics – USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี ค.ศ. 1922 ถึง 1991 รัฐบาลและเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตถูกรวมอยู่ในระดับสูง สหภาพโซเวียตเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวซึ่งปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์โดยมีกรุงมอสโกเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุด สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีสถานะที่เท่าเทียมกันในรัฐธรรมนูญเช่นกันกับสาธารณรัฐสหภาพ แต่ในความเป็นจริงเป็นเพียงการปกครองโดยพฤตินัย[6] สหภาพโซเวียตยังเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่นครเลนินกราด, เคียฟ, มินสค์, อัลมา-อะตา และ โนโวซีบีสค์ สหภาพโซเวียตยังเป็นหนึ่งในห้ารัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง[7], เป็นสมาชิกถาวรถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นสมาชิกขององค์การความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป และเป็นสมาชิกหลักของสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ และ สนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันสหภาพโซเวียตมีรากฐานจากการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปี 1917 เมื่อพรรคบอลเชวิค ภายใต้การนำของวลาดีมีร์ เลนิน โค้นล้มรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียที่ซึ่งได้เข้ามาแทนที่จักรพรรดินีโคไลที่ 2 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี 1922 สหภาพโซเวียตก่อตั้งขึ้นด้วยการรวมกันของ สาธารณรัฐรัสเซีย, ทรานส์คอเคซัส, ยูเครน และ เบียโลรัสเซีย หลังจากการอสัญกรรมของเลนิน ค.ศ. 1924 และการต่อสู้แย่งชิงอำนาจในระยะเวลาสั้น ๆ โจเซฟ สตาลินเถลิงอำนาจในกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 สตาลินปราบปรามฝ่ายค้านการเมืองต่อเขา ยึดมั่นอุดมการณ์ของรัฐกับลัทธิมากซ์–เลนิน (ซึ่งเขาสร้าง) และริเริ่มเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง ผลคือ ประเทศเข้าสู่สมัยการปรับให้เป็นอุตสาหกรรมและการทำให้เป็นระบบรวมอำนาจการผลิต (collectivisation) ทว่า สตาลินเกิดหวาดระแวงทางการเมือง และเริ่มการกวาดล้างใหญ่ ซึ่งต่อมาทางการส่งคนจำนวนมาก (ผู้นำทหาร สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ พลเมืองสามัญ) ไปค่ายกูลักหรือตัดสินประหารชีวิตเมื่อเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสปฏิเสธพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตต่อนาซีเยอรมนี สหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกับเยอรมนี ซึ่งชะลอการเผชิญหน้าระหว่างสองประเทศ แต่ถูกฉีกใน ค.ศ. 1941 เมื่อนาซีบุกครอง เปิดฉากเขตสงครามใหญ่สุดและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ กำลังพลสูญเสียของโซเวียตในสงครามคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดของสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พลิกกลับมาได้เปรียบเหนือฝ่ายอักษะในยุทธการอันดุเดือดอย่างสตาลินกราด สุดท้ายกำลังโซเวียตยกผ่านยุโรปตะวันออกและยึดกรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1945 ทำให้ฝ่ายเยอรมันสูญเสียกำลังพลไปเป็นส่วนใหญ่ ดินแดนยึดครองของโซเวียตที่พิชิตจากกำลังอักษะในยุโรปกลางและตะวันออกกลายเป็นรัฐบริวารของกลุ่มตะวันออก ความแตกต่างทางอุดมการณ์และการเมืองกับกลุ่มตะวันตกซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำนำไปสู่การตั้งสนธิสัญญาทางเศรษฐกิจและทางทหารจนลงเอยด้วยสงครามเย็นอันยืดเยื้อหลังสตาลินถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1953 เกิดสมัยการปรับให้เสรี (liberalization) ทางสังคมและเศรษฐกิจสายกลางภายใต้รัฐบาลนีกีตา ครุชชอฟ จากนั้น สหภาพโซเวียตริเริ่มความสำเร็จทางเทคโนโลยีสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งรวมการปล่อยดาวเทียมดวงแรกและเที่ยวบินอวกาศของมนุษย์เที่ยวแรกของโลก นำไปสู่การแข่งขันด้านอวกาศ (Space Race) วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ค.ศ. 1962 เป็นสมัยความตึงเครียดสุดขีดระหว่างสองอภิมหาอำนาจ ถือว่าใกล้ต่อการเผชิญหน้านิวเคลียร์ระหว่างทั้งสองที่สุด ในคริสต์ทศวรรษ 1970 เกิดการผ่อนคลายความสัมพันธ์ แต่กลับมาตึงเครียดอีกครั้งเมื่อสหภาพโซเวียตเริ่มให้ความช่วยเหลือทางทหารในอัฟกานิสถานด้วยคำขอของรัฐบาลสังคมนิยมใหม่ใน ค.ศ. 1979 การทัพนั้นผลาญทรัพยากรธรรมชาติและลากยาวโดยไร้ผลลัพธ์ทางการเมืองที่มีความหมายใด ๆในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้นำโซเวียตคนสุดท้าย มีฮาอิล กอร์บาชอฟ มุ่งปฏิรูปสหภาพและขับเคลื่อนประเทศในทิศทางสังคมประชาธิปไตยแบบนอร์ดิก เริ่มใช้นโยบายกลัสนอสต์และเปเรสตรอยคาในความพยายามยุติสมัยเศรษฐกิจชะงักและปรับการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย ทว่าผลที่ได้นำไปสู่ขบวนการชาตินิยมและพยายามแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตอย่างเข้มข้น ทางการกลางริเริ่มการลงประชามติซึ่งถูกสาธารณรัฐบอลติก อาร์มีเนีย จอร์เจีย และมอลโดวาคว่ำบาตร ซึ่งพลเมืองที่ลงมติส่วนใหญ่ออกเสียงเห็นชอบการรักษาสหภาพเป็นสหพันธรัฐทำใหม่ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 สายแข็ง (hardliner) พยายามรัฐประหารต่อกอร์บาชอฟ โดยเจตนาย้อนนโยบายของเขาแตรัฐประหารล้มเหลว ประธานาธิบดีรัสเซีย บอริส เยลต์ซิน มีบทบาทเด่นในการทำให้ผู้ก่อรัฐประหารยอมจำนน ส่งผลให้มีการห้ามพรรคคอมมิวนิสต์ ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟลาออกและสาธารณรัฐองค์ประกอบที่เหลือสิบสองสาธารณรัฐกำเนิดขึ้นจากการยุบสหภาพโซเวียตเป็นรัฐเอกราชหลังโซเวียต สหพันธรัฐรัสเซีย สืบสิทธิและข้อผูกพันของสหภาพโซเวียตและได้รับการยอมรับเป็นนิติบุคคลต่อ[8][9]

ใกล้เคียง

สหภาพโซเวียต สหภาพยุโรป สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป สหภาพ วงศ์ราษฎร์ สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ สหภาพดนตรี สหภาพแรงงาน สหภาพฟุตบอลแคริบเบียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สหภาพโซเวียต http://www.britannica.com/eb/article-9037405&gt http://books.google.com/books?id=f3ky9qBavl4C&dq http://www.historytoday.com/geoffrey-hosking/ruler... http://www.n-wisdom.com/map_volume/world_map/Weste... http://www.newcriterion.com/articles.cfm/The-Fifth... http://newsfromrussia.com/cis/2005/05/03/59549.htm... http://www.smithsonianmag.com/smart-news/soviet-ru... http://www.theodora.com/wfb/1990/rankings/gdp_mill... http://www.theodora.com/wfb/1991/rankings/gdp_per_... http://www.theodora.com/wfb1991/soviet_union/sovie...