การแบ่งเขตการปกครอง ของ สหภาพโซเวียต

สหภาพโซเวียตเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐซึ่งมีสมาชิกเป็นรัฐที่รวมกันเช่นยูเครน และ เบียโลรัสเซีย (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต) กับรัฐสหพันธรัฐเช่น รัสเซีย และทรานส์คอเคซัส (สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต)[24] ทั้งสี่เป็นสาธารณรัฐผู้ก่อตั้งซึ่งลงนามในสนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียตในเดือนธันวาคม 1922 ในปี 1924 ในช่วงการปักปันเขตในเอเชียกลาง อุซเบกิสถานและเติร์กเมนิสถานเกิดจากส่วนต่าง ๆ ของรัสเซีย เป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน และอีกสองแห่งคือ สาธารณรัฐบูฮาราน และ สาธารณรัฐโฮเรซม์ ในปี 1929 ทาจิกิสถานถูกแยกออกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ตามรัฐธรรมนูญปี 1936 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมโซเวียตทรานส์คอเคซัสถูกยุบลง ส่งผลให้สาธารณรัฐองค์ประกอบคือ อาร์เมเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสหภาพ ขณะที่คาซัคสถานและเคอร์กีเซียถูกแยกออกจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ส่งผลเป็นสถานะเดียวกัน[31] ในเดือนสิงหาคม 1940 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยรวมพื้นที่บางส่วนของเบสซาเรเบีย และ นอร์เทิร์นบูโควินา รัฐบอลติกทั้งสามคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต) ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศและถือว่ารัฐบอลติกอยู่ภายใต้การยึดครองที่ผิดกฎหมายตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 1940–1991 คาเรเลียถูกแยกออกจากรัสเซียในฐานะสาธารณรัฐสหภาพในเดือนมีนาคม 1940 และถูกรวมเข้ากับรัสเซียอีกครั้งในปี 1956 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 1956 ถึงเดือนกันยายน 1991 สหภาพโซเวียตมี 15 สาธารณรัฐที่เป็นส่วนหนึงของสาธารณรัฐสหภาพ[32] (ดูแผนที่ด้านล่าง)

สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต (1956–1991)
ธงสาธารณรัฐเมืองหลวงแผนที่สหภาพโซเวียต
1รัสเซียมอสโกสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต
2ยูเครนเคียฟ
3เบียโลรัสเซียมินสค์
4อุซเบกิสถานทาชเคนต์
5คาซัคสถานอัลมา-อะตา
6จอร์เจียทบิลีซี
7อาเซอร์ไบจานบากู
8ลิทัวเนียaวิลนีอุส
9มอลเดเวียคีชีเนา
10ลัตเวียaริกา
11เคอร์กีเซียฟรุนเซ
12ทาจิกิสถานดูชานเบ
13อาร์มีเนียเยเรวาน
14เติร์กเมเนียอาชกาบัต
15เอสโตเนียaทาลลินน์
^  การยึดครองรัฐบอลติก ในปี 1940 เป็นการอยู่ภายใต้การยึดครองที่ผิดกฎหมายตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940–1991 ในบางประเทศอย่าง สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, สหประชาชาติ และ ประชาคมยุโรป ยังถือว่ารัฐบอลติกทั้งสามมีเอกราชจนกระทั่งวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตจึงได้ยอมรับเอกราชของรัฐบอลติกทั้งสามในที่สุด[33][34][35][36][37][38][39][40]

อดีตเขตการปกครอง

แผนที่สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเมืองหลวงเข้าร่วมพื้นที่ (km²)
รวมเข้า/แยกออก
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัสทบิลิซี1922–19367005186100000000000186,100ได้แยกเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์เมเนีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน และ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชเปโตรซาวอดสค์1940–19567005172400000000000172,400รวมตัวกับ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

ใกล้เคียง

สหภาพโซเวียต สหภาพยุโรป สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป สหภาพ วงศ์ราษฎร์ สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ สหภาพดนตรี สหภาพแรงงาน สหภาพฟุตบอลแคริบเบียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สหภาพโซเวียต http://www.britannica.com/eb/article-9037405&gt http://books.google.com/books?id=f3ky9qBavl4C&dq http://www.historytoday.com/geoffrey-hosking/ruler... http://www.n-wisdom.com/map_volume/world_map/Weste... http://www.newcriterion.com/articles.cfm/The-Fifth... http://newsfromrussia.com/cis/2005/05/03/59549.htm... http://www.smithsonianmag.com/smart-news/soviet-ru... http://www.theodora.com/wfb/1990/rankings/gdp_mill... http://www.theodora.com/wfb/1991/rankings/gdp_per_... http://www.theodora.com/wfb1991/soviet_union/sovie...