สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์
สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์

สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์

b. ^ มีการเลิกใช้ภาษาเขียนของนอร์เวย์ (บูกมอล) ตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเปลี่ยนไปใช้ภาษาเดนมาร์กแทน ซึ่งภาษาเขียนของเดนมาร์กนี้ยังคงถูกใช้ต่อไป แม้กระทั่งในช่วงการรวมเป็นสหภาพกับสวีเดน แต่ถูกดัดแปลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาในปี ค.ศ. 1885 สภาสตอร์ทติงยอมรับภาษานือนอสก์ (ภาษานอร์เวย์ใหม่) เป็นภาษาราชการเทียบเท่ากับภาษาเดนมาร์ก
c. ^ ค.ศ. 1820: 2,585,000 คนในสวีเดน และ 970,000 คนในนอร์เวย์[1]
ค.ศ. 1905: 5,260,000 คนในสวีเดน และ 2,300,000 คนในนอร์เวย์[2]
d. ^ แต่เดิมสภาริกสดากของสวีเดนคือรัฐสภาที่ประกอบไปด้วยสี่ฐานันดร จนกระทั่ง ค.ศ. 1866 มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบสองสภา ส่วนสภาสตอร์ทติงของนอร์เวย์ใช้ระบบสภาเดี่ยวมาแต่เดิม ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ในสภาทำหน้าที่เลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ หรือ สหภาพสวีเดน–นอร์เวย์ หรือ สวีเดน–นอร์เวย์ (สวีเดน: Svensk-norska unionen; นอร์เวย์: Den svensk-norske union) คือรัฐร่วมประมุขระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เบอร์นาดอตต์ ระหว่างปี ค.ศ. 1814 ถึง ค.ศ. 1905[3] ก่อนที่สวีเดนจะยอมรับการออกจากสหภาพของนอร์เวย์[4] รัฐทั้งสองมีรัฐธรรมนูญและอธิปไตยทั้งสามเป็นของตนเองซึ่งรวมถึงกองทัพ ศาสนจักร และการคลัง ส่วนพระมหากษัตริย์ประทับในกรุงสต็อกโฮล์ม ทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งเอกอัคราชทูตประจำประเทศในต่างแดน ในส่วนของนอร์เวย์มีผู้สำเร็จราชการแทนทำหน้าที่บริหาราชการ ในสวีเดนจนถึง ค.ศ. 1829 และในนอร์เวย์จนถึง ค.ศ. 1856 โดยยกเลิกตำแหน่งรักษาการเมื่อปี ค.ศ. 1873 นโยบายต่างประเทศเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศจนถึง ค.ศ. 1905 ภายหลังการล่มสลายของสหราชอาณาจักรนอร์เวย์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเดนมาร์ก, แต่เดนมาร์ก-นอร์เวย์เป็นพันธมิตรร่วมกับจักรวรรดินโปเลียน โดยมีสาเหตุจากการที่สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์และจักรวรรดิรัสเซียเข้าร่วมสงครามหลังจากที่สวีเดนเข้าครอบครองฟินแลนด์ ค.ศ. 1809 ในปี ค.ศ. 1814 นอร์เวย์ขอแยกตัวออกจากเดนมาร์กภายใต้สนธิสัญญาคีล ส่งผลให้นอร์เวย์เป็นอิสรภาพ โดยมีการเรียกประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อิดโวลส์ภายหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งนอรเวย์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1814, พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 (เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริค) ทรงได้รับเลือกตั้งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์ ระหว่างสงครามสวีเดน-นอร์เวย์ (ค.ศ. 1814) และ การประชุมใหญ่แห่งมอสส์ เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริคทรงสละราชสมบัติภายหลังการเรียกประชุมรัฐสภา, Storting, โดยให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่ และ การเข้าเป็นสหภาพร่วมกับสวีเดน. พระเจ้าคาร์ลที่ 13 ทรงลงพระปรมาภิทัยร่างรัฐธรรมนูญของสหภาพเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน. วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 รัฐสภาประกาศว่ากษัตริย์แห่งสวีเดนไม่ได้เป็นกษัตริย์ของนอร์เวย์อีกต่อไป ทำให้การล่มสลายของสหราชอาณาจักรมีผลนับแต่นั้น ปฏิกิริยาตอบกลับในสวีเดนรุนแรงและสงครามระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนใกล้จะเริ่มขึ้น เนื่องมากจากการลงประชามติทั้งสองครั้งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน จึงเป็นตัวกำหนดให้สหภาพกับสวีเดนล่มสลายและชาติใหม่ของนอร์เวย์เป็นการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข มีผลในวันที่ 26 ตุลาคม ภายหลังจากการรับรองผลการออกเสียงประชามติให้ฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ขึ้นอีกครั้ง เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กทรงได้รับเลือกตั้งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ใหม่ และ ทำพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 18 พฤศจิกายน ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7

ใกล้เคียง

สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ สหราชอาณาจักรในโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2020 สหราชอาณาจักรในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 สหราชอาณาจักรในโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 สหราชอาณาจักรในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2016 สหราชอาณาจักรในโอลิมปิก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ http://www.ssb.no/sosiale-forhold-og-kriminalitet/... http://www.tacitus.nu/historisk-atlas/befolkning/s... http://www.worldstatesmen.org/Norway.htm http://www.worldstatesmen.org/Sweden.html http://books.google.co.uk/books?id=bpIBAAAAYAAJ&pg... https://www.duo.uio.no/bitstream/handle/10852/3626... https://archive.org/stream/encyclopaediabri19chisr... https://archive.org/stream/encyclopaediabri26chisr...