สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (อังกฤษ: Latvian Soviet Socialist Republic; ลัตเวีย: Latvijas Padomju Sociālistiskā Republika; รัสเซีย: Латви́йская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียตสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียถูกจัดตั้งเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2)[1] ในอาณาบริเวณที่ก่อนหน้านั้นเคยเป็นสาธารณรัฐลัตเวียซึ่งเป็นรัฐเอกราช แต่ถูกกองทัพโซเวียตเข้ายึดครองตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ตามถ้อยคำในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ)ด้วยผลจากคำประกาศของซัมเนอร์ เว็ลส์ (เจ้าหน้าที่การต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา) ในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 สหรัฐอเมริกาและประชาคมยุโรปจึงไม่ยอมรับว่าการผนวกลัตเวียเข้ากับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1940 เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย และการรับรองว่าลัตเวียเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบแห่งที่สิบห้าของสหภาพโซเวียตก็ถูกยับยั้งไว้เป็นเวลาห้าทศวรรษ[2] ในเวลาต่อมา ลัตเวียถูกเยอรมนีนาซีเข้ายึดครองในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ก่อนที่จะถูกสหภาพโซเวียตยึดกลับคืนในปี ค.ศ. 1944–1945 ถึงกระนั้น ลัตเวียก็ยังมีฐานะเป็นประเทศเอกราช "โดยนิตินัย" โดยบางประเทศยังคงยอมรับคณะทูตและกงสุลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในนามของอดีตรัฐบาลลัตเวียต่อไปอำนาจปกครองของสหภาพโซเวียตมาถึงจุดสิ้นสุดในช่วงการล่มสลายของสหภาพ รัฐสภาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียซึ่งได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นอิสระครั้งแรกได้อนุมัติคำประกาศ "ว่าด้วยการฟื้นฟูเอกราชของสาธารณรัฐลัตเวีย" เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 โดยกลับมาใช้ชื่อทางการของรัฐลัตเวียว่า สาธารณรัฐลัตเวีย[3] รวมทั้งนำแบบธงและเพลงชาติที่เคยถูกยกเลิกกลับมาใช้อีกครั้ง เอกราชของสาธารณรัฐลัตเวียได้รับการฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ในช่วงที่มีความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต และได้รับการรับรองอย่างสมบูรณ์จากสหภาพโซเวียตในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1991

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน