พฤติกรรม ของ สิงโต

สิงโตใช้เวลาส่วนมากไปกับการพักผ่อนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน[48] แม้ว่าสิงโตจะสามารถกระตือรือร้นได้ทุกช่วงเวลา แต่โดยทั่วไปแล้วมันจะกระตือรือร้นและมีชีวิตชีวามากที่สุดตอนพลบค่ำกับช่วงเข้าสังคม แต่งขน และขับถ่าย เมื่อต้องล่าเหยื่อสิงโตจะกระตือรือร้นเป็นพักๆ ไปตลอดทั้งคืนจวบจนกระทั่งรุ่งเช้า โดยเฉลี่ยแล้ว สิงโตจะใช้เวลาเดิน 2 ชั่วโมงและกิน 50 นาทีต่อวัน[49]

การรวมฝูง

สิงโตเป็นสัตว์จำพวกแมวที่อยู่เป็นสังคมมากกว่าแมวป่าชนิดอื่นๆ ที่มักอยู่อย่างโดดเดี่ยว สิงโตเป็นสัตว์นักล่าที่มีสังคมสองรูปแบบ รูปแบบแรกเป็นการรวมตัวกันที่เรียกว่า "ฝูง (prides)"[50] ปกติฝูงหนึ่งจะประกอบไปด้วยสิงโตตัวเมียห้าถึงหกตัว ลูกสิงโต และสิงโตตัวผู้หนึ่งถึงสองตัว ซึ่งเป็นคู่ของนางสิงห์ (แม้ว่า จะมีการพบฝูงขนาดใหญ่ที่มีจำนวนสิงโตถึง 30 ตัว) ตัวผู้ในฝูงจะมีไม่เกินสองตัว แต่อาจเพิ่มจำนวนถึง 4 ตัวและลดจำนวนลงเมื่อเวลาผ่านไป ลูกสิงโตตัวผู้จะถูกขับออกจากฝูงเมื่อโตเต็มที่

นางสิงห์สองตัวและสิงโตตัวผู้หนึ่งตัวในตอนเหนือของเซเรนเกติ

พฤติกรรมการรวมกลุ่มทางสังคมแบบที่สองเรียกว่า "พวกเร่ร่อน (nomads)" มีขอบเขตการหากินกว้างและย้ายถิ่นฐานเป็นระยะๆ อาจเป็นสิงโตโทนหรือคู่สิงโต[50] คู่สิงโตนั้นบ่อยครั้งเป็นสิงโตตัวผู้ที่ถูกขับไล่ออกจากฝูงที่มันเกิดฝูงเดียวกัน สิงโตอาจเปลี่ยนวิถีชีวิตจากพวกร่อนเร่อาจจะกลายเป็นผู้อยู่อาศัยในฝูงและอาจเป็นในทางกลับกัน สิงโตตัวผู้จะมีวิถีชีวิตแบบดังกล่าวแต่สิงโตตัวผู้บางตัวจะไม่เคยรวมฝูงเลยตลอดชีวิต สิงโตตัวเมียที่กลายเป็นพวกเร่ร่อนจะเข้าร่วมฝูงใหม่ยากมากเพราะตัวเมียในฝูงใหม่จะพยายามกีดกันไม่ให้ตัวเมียที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเข้าร่วมฝูงของครอบครัว

พื้นที่ที่ฝูงสิงโตอาศัยอยู่เรียกว่า "อาณาเขตของฝูง (pride area)" ขณะที่พวกเร่ร่อนเรียกว่า "ขอบเขต (range)"[50] ตัวผู้ในฝูงมักจะอยู่ในบริเวณชายขอบอาณาเขต ลาดตระเวนไปในอาณาเขตของตน พฤติกรรมทางสังคมที่ปรากฏขึ้นมากกว่าแมวชนิดใดที่พัฒนาขึ้นในนางสิงห์นั้นยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันว่าเพราะเหตุใด ความประสบความสำเร็จในการล่าสัตว์ที่เพิ่มขึ้นเป็นเหตุผลที่เห็นได้ชัดจากพฤติกรรมทางสังคมดังกล่าว แต่การตรวจสอบยังน้อยเกินไปที่จะยืนยันได้ สมาชิกของฝูงมีแนวโน้มที่จะได้รับบทบาทเดียวกันคือนักล่า แต่อย่างไรก็ตาม บางตัวจะได้รับบทบาทเลี้ยงดูลูก ซึ่งอาจถูกปล่อยทิ้งไว้ตามลำพังเป็นเวลานาน สุขภาพของนักล่าเป็นสิ่งแรกที่สำคัญต่อการอยู่รอดของฝูง พวกมันมักเป็นพวกแรกที่ลงมือกินเหยื่อ ณ สถานที่ที่มันล้มเหยื่อได้ ประโยชน์อื่นๆที่ได้รับจากการรวมฝูง ประกอบด้วย การเลือกสรรเชิงเครือญาติ (Kin selection) (แบ่งปันอาหารกับสิงโตที่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดดีกว่าคนแปลกหน้า), ปกป้องลูกสิงโต, ดูแลอาณาเขต, และประกันว่าจะปลอดภัยจากการบาดเจ็บและความหิวในสิงโตรายตัว[16]

วีดิทัศน์ของสิงโตในป่า

นางสิงห์จะทำหน้าที่ล่าเหยื่อเพื่อเป็นอาหารของฝูงเสียส่วนใหญ่ เนื่องด้วยมีขนาดเล็กกว่า รวดเร็วกว่า และกระฉับกระเฉงกว่าตัวผู้ และไม่มีภาระจากขนแผงคอที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความร้อนสูงเกินไประหว่างกิจกรรม เหล่าตัวเมียจะประสานงานและทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อย่องตามเหยื่อและล้มเหยื่อจนประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวผู้อยู่ใกล้กับสถานที่ล่า ตัวผู้มีแนวโน้มที่จะเข้าครอบครองเหยื่อที่นางสิงห์ล่าได้ ตัวผู้จะแบ่งปันเหยื่อให้กับลูกสิงโตมากกว่าแบ่งให้กับตัวเมีย แต่เกิดขึ้นน้อยมากที่ตัวผู้จะแบ่งปันเหยื่อที่มันล่าได้เอง เหยื่อขนาดเล็กจะถูกกินในจุดที่ล่าได้ โดยแบ่งปันกันในหมู่นักล่า เมื่อล้มเหยื่อขนาดใหญ่ได้ สิงโตมักจะลากเหยื่อไปกินในอาณาเขตของฝูง แม้จะมีการแบ่งปันเหยื่อขนาดใหญ่[51] สมาชิกฝูงมักประพฤติตัวก้าวร้าวใส่สมาชิกตัวอื่น และแต่ละตัวจะพยายามกินอาหารให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

สิงโตทั้งสองเพศจะช่วยกันปกป้องฝูงจากผู้บุกรุก โดยมีสิงโตบางตัวเป็นผู้นำในการต่อต้านผู้บุกรุก ขณะที่ตัวอื่นล้าอยู่ข้างหลัง[52] แต่สิงโตมีแนวโน้มที่จะคงบทบาทเฉพาะในฝูง ดังนั้น สิงโตตัวที่ล้าหลังอาจมีหน้าที่อื่นในกลุ่ม[53] สมมติฐานคือมีรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการกลายเป็นจ่าฝูงของผู้ที่ขจัดผู้บุกรุกไปได้ และระดับของนางสิงห์ได้จะได้รับจากความรับผิดชอบขับไล่ผู้บุกรุกนั้น[54] สิงโตตัวผู้ในฝูงจะปกป้องความสัมพันธ์ของมันกับฝูงไว้จากสิงโตตัวผู้นอกฝูงที่พยายามเข้าแทนที่ความสัมพันธ์นั้น ตัวเมียถือว่าเป็นหน่วยทางสังคมที่มั่นคงในฝูง และไม่ยินยอมให้ตัวเมียนอกฝูงเข้าร่วมฝูง[55] การเปลี่ยนแปลงของสมาชิกจะเกิดจากการเกิดและตายของนางสิงห์เท่านั้น[56] แม้ว่า ตัวเมียบางตัวจะผละจากฝูงกลายเป็นพวกเร่ร่อน[57] ในทางกลับกัน ตัวผู้ที่ยังเด็กจะออกจากฝูงเมื่อโตเต็มที่ ประมาณอายุ 2–3 ปี[57]

การล่าและอาหาร

สิงโตกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มันกินสัตว์ได้แทบทุกชนิด เช่น กระต่าย ไก่ป่า จระเข้ ลิง เม่น กวาง ม้าลาย ควายป่า ละมั่ง เป็นต้น แม้แต่ซากสิงโตด้วยกันเองก็กิน ลูกสิงโตที่อ่อนแอจะถูกกินเพื่อให้ตัวที่แข็งแรงกว่าได้อยู่รอด

การแข่งขันกับนักล่าอื่น

การสืบพันธุ์และวงจรชีวิต

ฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอนมีได้ทุกเวลาตลอดปี ระยะของการเป็นสัดนาน 4-16 วัน ตัวเมียเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 3 ปี ตัวผู้ประมาณ 4-6 ปี เคยมีรายงานอายุ 2 ปี ก็ผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานราว 100 วันตกลูกครั้งละ 3-5 ตัว เคยมีรายงานได้ลูกถึง 7 ตัว ลูกอดนมเมื่ออายุ 3-6 เดือน อายุยืนประมาณ 30-60 ปี ลูกตัวที่อ่อนแออาจถูกทิ้งให้ตายหรือถูกกินในหมู่สิงโตด้วยกัน

สุขภาพ

ปัจจุบันคาดว่ามีสิงโตในทวีปแอฟริกาเหลืออยู่ประมาณ 30,000 ถึง 100,000 ตัว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแอฟริกาตอนใต้และตะวันออก สิงโตในแอฟริกาตะวันตกเหลืออยู่น้อยและลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ทั่วทั้งทวีป สิงโตที่อยู่นอกเขตคุ้มครองลดจำนวนลงเรื่อย ๆ

ประเทศที่ยังมีสิงโตอยู่ทั่วไปได้แก่ บอตสวานา สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เอธิโอเปีย เคนยา แทนซาเนีย ซาอีร์ และแซมเบีย สถานภาพในแองโกลา โมซับบิก ซูดาน และโซมาเลียยังไม่ทราบแน่ชัดเนื่องจากความไม่สงบในประเทศ คาดว่าในแองโกลายังมีสิงโตอยู่ทั่วไปแต่จำนวนน้อย ส่วนในโซมาเลียมีเป็นบางส่วนโดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ

ในนามิเบีย ประชากรสิงโตในอุทยานแห่งชาติอีโตชามีประมาณ 300 ตัว บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ 130-200 คาปรีวี 40-60 ตัว บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ 35-40 ตัว

ในซิมบับเว อุทยานแห่งชาติฮวางเก 500 ตัว อุทยานแห่งชาติโกนารีเซา 200 ตัว หุบเขาแซมบีซีและเซบังเวคอมเพล็กซ์ 300 ตัว

ในประเทศเบนิน บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูนตอนเหนือ ประเทศชาดตอนใต้ คองโกตอนใต้ ไอวอรีโคสต์ตอนเหนือ กานาตอนเหนือ กีนีตอนเหนือ กีนีบิสเชาตะวันออก มาลีตอนใต้ ไนจีเรียตอนเหนือ และอูกันดา คาดว่ามีสิงโตอยู่กระจัดกระจายและจำนวนน้อย ในประเทศบุรุนดี มลาวี ไนเจอร์ รวันดา เซเนกัล และแอฟริกาใต้ ประชากรส่วนใหญ่จำกัดอยู่ในป่าอนุรักษ์

ประเทศที่คาดว่าสิงโตสูญพันธุ์ไปแล้วหรือถือได้ว่าสูญพันธุ์ไปแล้วได้แก่ ประเทศจิบูตี กาบอง เลโซโท มอริเตเนีย สวาซิแลนด์ และโตโก

ความหนาแน่นของประชากรสิงโต (นับเฉพาะสิงโตตัวเต็มวัยและวัยรุ่นต่อ 100 ตารางกิโลเมตร) ต่างกันในแต่ละพื้นที่ ในพื้นที่ซาวูตี ในอุทยานแห่งชาติโชเบ ของบอตสวานามีความหนาแน่นต่ำประมาณ 0.17 ส่วนในอุทยานแห่งชาติคาราฮารีเกมสบ็อก อุทยานแห่งชาติอีโตชา มีประมาณ 1.5-2 ตัวต่อ 100 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่คุ้มครองของทางแอฟริกาตะวันออกและตอนใต้มีประมาณ 3-18 ตัว พื้นที่ ๆ ความหนาแน่นสูงที่สุดคือในป่าสงวนแห่งชาติมาไซมาราของเคนยา มีประชากร 30 ตัวต่อ 100 ตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของสิงโตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจำนวนของเหยื่อ พื้นที่หากินเฉลี่ย 26 ถึง 226 ตารางกิโลเมตรต่อฝูง เคยพบฝูงหนึ่งในอุทยานแห่งชาติอิโตชาที่มีพื้นที่หากินกว้างถึง 2,075 ตารางกิโลเมตร

สถานภาพของสิงโตเอเชียทุกพันธุ์อยู่ในระดับอันตราย ไซเตสจัดเอาไว้ในบัญชีที่ 1 ส่วนสิงโตแอฟริกาอยู่ในบัญชีหมายเลข 2 ส่วนสิงโตพันธุ์บาร์บารีและสิงโตเคปได้สูญพันธุ์ไปแล้ว

การสื่อสาร

การถูศีรษะและการเลียเป็นพฤติกรรมทางสังคมตามปกติในฝูงสิงโต

เมื่อพักผ่อน การขัดเกลาทางสังคมของสิงโตจะเกิดขึ้นผ่านพฤติกรรมต่างๆ และการเคลื่อนไหวของสัตว์ที่แสดงออกมีการพัฒนาเป็นอย่างมาก กริยาท่าทางการสัมผัสที่เป็นปกติสุขและพบได้มากที่สุดคือการถูศีรษะและการเลียเชิงสังคม[58] ซึ่งเปรียบได้กับการดูแลขนให้เรียบร้อยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[59] การถูศีรษะ ดุนด้วยจมูกเบาๆ ที่หน้าผาก หน้า และลำคอของสิงโตตัวอื่นดูเหมือนจะเป็นรูปแบบของการทักทาย[60] มักพบเห็นได้บ่อยครั้งหลังจากสิงโตแยกจากตัวอื่น หรือหลังการต่อสู้หรือหลังการเผชิญหน้า ตัวผู้มักถูกับตัวผู้ด้วยกันเอง ขณะที่ลูกสิงโตและสิงโตตัวเมียจะถูกับตัวเมีย[61] การเลียเชิงสังคมมักจะเกิดขึ้นหลังการถูศีรษะ โดยทั่วไปแล้วจะเกิดขึ้นควบคู่กัน และตัวที่ได้รับมักแสดงความพอใจออกมาอย่างชัดเจน ศีรษะและลำคอจะเป็นส่วนที่ได้รับการเลียมากที่สุด อาจเป็นผลมาจากการบริการสาธารณะ เพราะสิงโตไม่สามารถเลียพื้นที่เหล่านี้เองได้[62]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิงโต http://books.google.com.au/books?id=ecgil9AfV1QC&p... http://www.adelaide.edu.au/acad/publications/paper... http://www.beringia.com/research/lion.html http://www.etymonline.com/index.php?term=panther http://books.google.com/?id=O8SgPwAACAAJ http://www.junglephotos.com/africa/afanimals/mamma... http://news.nationalgeographic.com/news/2002/04/04... http://news.nationalgeographic.com/news/2002/06/06... http://news.nationalgeographic.com/news/2002/08/08... http://www.pawnation.com/2009/04/29/lion-tamer/