ผลกระทบทางวัฒนธรรม ของ สิ่งมีชีวิตนอกโลก

แนวความคิดในยุคโบราณและยุคกลาง

ดูบทความหลักที่: ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจักรวาล
ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเหนือเมืองนูเรมเบิร์ก (Nuremberg) ในปี ค.ศ. 1561

ในสมัยยุคโบราณ, เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเชื่อกันว่าจักรวาลนั้นประกอบด้วย "หลายโลก" ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาด ไม่ใช่รูปแบบของสิ่งมีชีวิตแบบมนุษย์อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ แต่ "โลก" ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวกับตำนาน (mythological) ที่เล่าขานสืบต่อกันมาและยังไม่เป็นที่กระจ่างแจ้งต่อความเข้าใจของมนุษย์เราในยุคสมัยนั้น ที่ว่า จะมีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ หรือว่า ดวงอาทิตย์จะเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในท่ามกลางหมู่ดาวฤกษ์จำนวนนับไม่ถ้วนกันแน่ [87] ตัวอย่างได้แก่ ตำนานเรื่อง สิบสี่โลกา (fourteen Loka) ในวิชาจักรวาลวิทยาในศาสนาฮินดูหรือ เก้าโลกของเทพนิยายนอร์ซอันเก่าแก่ (Nine Worlds of Old Norse) ฯลฯ ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นมักจะปรากฏว่าเป็นโลกที่อาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิตในบริบทดังกล่าวหรือเป็นดังยานพาหนะ (รถม้าศึก (chariot) หรือเรือ ฯลฯ ) ที่เทพเจ้า (god) ขับเคลื่อน นิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นเรื่องของตำนานคนตัดไผ่ (The Tale of the Bamboo Cutter) (ศตวรรษที่ 10) เป็นตัวอย่างของเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์ที่ได้มาเยี่ยมชมโลก

มีความเชื่อของศาสนาพุทธและฮินดูเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดซ้ำรอบแล้วซ้ำรอบเล่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของชีวิตที่เรียกว่าสังสารวัฏ ได้นำไปสู่รายละเอียดของการมีอยู่ของโลกที่มีอยู่หลายโลก และการติดต่อสื่อสัมพันธ์กันระหว่างโลกที่มีอยู่ทั้งหลายเหล่านั้น (คำสันสกฤต สฺมปรก อ่านว่า "สัม-ปา-ระ-กะ" (sampark) (सम्पर्क) หมายถึง "การติดต่อ" (คำแปลในความหมายคำภาษาอังกฤษ คือ contact [88] [89]) ใน มหาสฺมปรก อ่านว่า "มะ-หา-สัม-ปา-ระ-กา" (Mahasamparka) (महासम्पर्क) = "การติดต่อที่ยิ่งใหญ่") ตามที่พระคัมภีร์พุทธและฮินดูได้จารึกไว้ว่า มีจักรวาลที่มีอยู่มากมายหลายจักรวาลเป็นจำนวนมาก

ในคัมภีร์ทัลมุด (Talmud states) ของชาวยิวซึ่งได้กล่าวไว้ถึงการที่มีโลกอื่นเป็นจำนวนอย่างน้อย 18,000 โลก ปรากฏอยู่, แต่ก็มีรายละเอียดเพิ่มเติมเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ กับธรรมชาติของโลกเหล่านั้น, ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางกายภาพหรือทางจิตวิญญาณ จากหลักฐานนี้, อย่างไรก็ตาม, ในงานแสดงนิทรรศการในศตวรรษที่ 18 ที่มีชื่อว่า "Sefer HaB'rit" = "ซีเฟอร์ แฮบเบอะเรต" ได้แสดงท่าทีให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกนั้นมีอยู่จริง ๆ, และซึ่งในบรรดามนุษย์ต่างดาวทั้งหมดนั้นบางส่วนบางจำพวกก็อาจจะมีความสติปัญญาเฉลียวฉลาดเป็นอย่างมาก มันจึงเป็นการช่วยเพิ่มเติมแนวความคิดที่ว่า มนุษย์ไม่ควรที่จะคาดหวังถึงสิ่งมีชีวิตจากโลกอื่นที่จะมีลักษณะคล้ายกับชีวิตบนโลกมากเกินไปกว่าสัตว์ทะเลที่มีลักษณะคล้ายกับสัตว์บก [90][91]

สอดคล้องกับที่กลุ่มมุสลิม Ahmadiyya ได้กล่าวอ้างอิงโดยตรงจากคัมภีร์อัลกุรอานที่ถูกนำเสนอโดย มีร์ซา ทาฮีร์ อาหมัด (Mirza Tahir Ahmad) เป็นข้อพิสูจน์ว่าชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นอาจมีอยู่ตามคัมภีร์อัลกุรอาน

ด้วยการปฏิวัติของโคเปอร์นิคัสและการปฏิวัติวิทยาศาสตร์, และต่อมา, ในช่วงระหว่างยุคเรืองปัญญา, แนวคิดพหุนิยมฝ่ายจักรวาลก็ได้กลายมาเป็นแนวความคิดหลัก, ที่ได้รับการสนับสนุนโดยชอบโดย เบอร์นาร์ด เลอ โบเวียร์ เดอ ฟานเทนเนลลี (Bernard le Bovier de Fontenelle) ในหนังสือผลงานของเขาที่เขียนขึ้นในปี 1686 ในชื่อเรื่องว่า Entretiens sur la pluralité des mondes [92]

ยุคใหม่ตอนต้น

มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการคิดริเริ่มโดยมีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นและการกล่าวโจมตีของ โคเปอร์นิคัส (Copernican) ต่อเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีที่กล่าวว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล เมื่อมันกลายเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าโลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในหมู่วัตถุท้องฟ้าที่มีอยู่เป็นจำนวนนับไม่ถ้วนในจักรวาล ทฤษฎีเกี่ยวกับชีวิตนอกโลกก็เริ่มที่จะกลายเป็นหัวข้อถกเถียงกันในชุมชนทางวิทยาศาสตร์ (scientific community) [93] ผู้ที่นำเสนอแนวความคิดดังกล่าวอันเป็นที่รู้จักกันดีในช่วงยุคสมัยใหม่ตอนต้นเป็นนักปรัชญาชาวอิตาเลียนชื่อ จอร์ดาโน บรูโน (Giordano Bruno), ผู้ซึ่งเป็นผู้ที่ได้โต้แย้งด้วยเหตุผลเอาไว้ในศตวรรษที่ 16 ที่ได้กล่าวเอาไว้ว่า ในจักรวาลหรือเอกภพอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ดวงดาวทุกดวงในจักรวาลหรือเอกภพจะต้องถูกห้อมล้อมรอบอยู่ด้วยระบบดาวเคราะห์ (planetary system) ที่มีอยู่โดยตัวของมันเอง บรูโน่ได้เขียนบันทึกพรรณนาเอาไว้ว่า ในโลกอื่น ๆ นั้น "มีคุณธรรมคุณงามความดีอยู่น้อยมาก หรือ มีลักษณะที่แตกต่างกันกับที่โลกของเรามีอยู่" และแตกต่างกับโลกของเราตรงที่โลกของเรานั้น "มีสัตว์และผู้คนอาศัยอยู่" [94]ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 นักดาราศาสตร์แห่งสาธารณรัฐเช็กชื่อ แอนตัน มาเรีย เชอร์รัส แห่ง ไรต้า (Anton Maria Schyrleus of Rheita) ได้รำพึงว่า "ถ้าดาวพฤหัสบดี ( ... ) มีผู้คนอาศัยอยู่ ( ... ) พวกเขาจะต้องมีขนาดร่างกายที่ใหญ่โตและสวยงามมากกว่าคนที่อาศัยอยู่บนโลกของเราในสัดส่วนที่มี [ลักษณะ ] ของคู่แฝดทรงกลมสองอันติดกัน" [95]

ศตวรรษที่ 19

ทางน้ำไหลสร้างโดยชาวดาวอังคาร, วาดโดย เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน

จากแนวความคิดของมนุษย์เราเกี่ยวกับชีวิตบนดาวอังคารที่ได้ทวีเพิ่มพูนมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และจากภาพของคลองส่งน้ำที่อยู่บนดาวอังคารที่ได้จากการสังเกตการณ์ที่ชัดเจนด้วยกล้องโทรทรรศน์เมื่อในเร็ว ๆ นี้, จะอย่างไรก็ตามแต่, มันก็ได้กลับกลายเป็นว่าเป็นเพียงแค่ภาพลวงตา (optical illusion) เราเท่านั้นเอง [96] อย่างไรก็ตามเรื่องนี้, ในปี 1895 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ (Percival Lowell) ได้ตีพิมพ์หนังสือของเขาในชื่อเรื่องว่า ดาวอังคาร (Mars), ตามด้วยเรื่อง ดาวอังคารและคลอง (Mars and its Canals) ในปี 1906 ซึ่งเสนอว่าคลองเป็นผลงานของอารยธรรมที่หายสาบสูญไปนานแล้ว [97] แนวความคิดเกี่ยวกับชีวิตบนดาวอังคารทำให้นักเขียนชาวอังกฤษที่ชื่อ เอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) เขียนนวนิยายเรื่อง เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส (The War of the Worlds) ในปีพ. ศ. 2440 (ค.ศ. 1897), ซึ่งบอกถึงการรุกรานของมนุษย์ต่างดาวจากดาวอังคารที่กำลังหนีจากความแห้งแล้งของดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่

การวิเคราะห์สเปกตรัม (Spectroscopic) ของชั้นบรรยากาศดาวอังคารเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี 1894, เมื่อนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ วิลเลียม วอลเลซ แคมพ์บอล (William Wallace Campbell) แสดงให้เห็นว่าไม่มีน้ำและออกซิเจนอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร

ศตวรรษที่ 20

สำหรับบทความหลักในหมวดหมู่นี้ ดูที่ การสำรวจอวกาศ
ข้อความอาเรซีโบ (Arecibo message) เป็นข้อความที่ถูกสร้างขึ้นด้วยระบบดิจิตอล (digital message) ที่ได้ถูกส่งไปยังกระจุกดาวทรงกลม เอ็ม13 (globular star cluster M13) และเป็นสัญลักษณ์ที่รู้จักกันดีของความพยายามของมนุษย์ในการที่จะติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาวให้จงได้

ข้อความอาเรซีโบ จากหอดูดาวอาเรซีโบ (Arecibo Observatory) เป็นข้อความในระบบดิจิตอลที่ถูกส่งไปยังกระจุกดาวทรงกลมเอ็ม 13 (globular star cluster M13) และเป็นสัญลักษณ์ที่รู้จักกันดีของความพยายามของมนุษย์เพื่อที่จะติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาวส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นไปที่การติดต่อกับวัตถุบินกำหนดเอกลักษณ์ไม่ได้ (unidentified flying object) หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น การพบเห็นยูเอฟโอ (UFO sightings) [98] โดยที่สามารถอธิบายแยกแยะได้โดยง่ายว่าเป็นปรากฏการณ์ของเครื่องบินที่สร้างขึ้นบนโลกตามที่รู้จักกันหรือว่าจะเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์หรือเรียกว่า เทห์ฟ้า (astronomical object) หรือเป็นแค่การหลอกลวง (hoax) กันแน่ [99] กระนั้น, ประชาชนบางส่วนก็เชื่อว่ายูเอฟโอแท้ที่จริงอาจเป็นต้นตอของสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว, และโดยแท้จริงแล้ว ก็เป็นแนวความคิดที่ได้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมร่วมสมัย (popular culture)

ความเป็นไปได้ที่จะมีชีวิตนอกโลกบนดวงจันทร์ถูกขัดขวางไม่ยอมรับในทศวรรษที่ 1960, และในช่วงทศวรรษที่ 1970 ก็เป็นที่ชัดเจนว่าส่วนใหญ่ของเทหวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะก็ไม่ได้เป็นที่พำนักพักพิงแก่ชีวิตที่ถูกพัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก, แม้ว่าคำถามของชีวิตแรกเริ่มบนเทหวัตถุในระบบสุริยะจะยังคงเปิดอยู่ก็ตาม

ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

จากความล้มเหลวจนถึงขณะนี้ของโครงการเซติ (SETI) ในการตรวจจับสัญญาณวิทยุจากสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาจากห้วงอวกาศ สิบปีให้หลังของความพยายามที่มีอย่างน้อยที่สุดด้วยความหวังอันริบหรี่ นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเริ่มมีมุมมองในแง่ดีมากขึ้นจากจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อในมนุษย์ต่างดาวยังคงถูกเล่าขานอยู่ในวิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience), ทฤษฎีสมคบคิด และแพร่หลายอยู่ในนิทานชาวบ้าน (popular folklore) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ในบริเวณที่เรียกว่า "แอเรีย 51" (Area 51) และในตำนานกล่าวขานถึงวีรบุรุษ มันได้กลายเป็นวัฒนธรรมสมัยนิยมเชิงอุปมาเปรียบเทียบที่ได้รับการปฏิบัติบำรุงดูแลอย่างจริงจังไม่น้อยหน้าไปกว่ารายการความบันเทิงที่เป็นที่นิยมในหมู่มหาชน

ในคำว่า "เซติ" ในการให้นิยามคำจำกัดความของแฟรงก์ เดรก ก็คือ "ทั้งหมดที่เราทราบแน่นอนได้ว่าท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้นจะไม่ได้เป็นแค่เพียงถังขยะสำหรับเครื่องส่งสัญญาณไมโครเวฟที่ทรงพลังอย่างแน่นอน" (นั่นก็คือ ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้น ด้วยสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่เราส่งออกไปหรือรับเข้ามาเหมือนกับถังขยะรอรับสิ่งปฏิกูลหรือของที่คนเขาทิ้งแล้วนั้น เราอาจจะได้เจอ "อะไรที่เจ๋ง ๆ" ในถังขยะใบเล็ก ๆ นี้อย่างแน่นอน) [100] เดรกตั้งข้อสังเกตว่ามันมีความเป็นไปได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าผลลัพธ์ทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงของมนุษย์โลกเราในความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาวนั้นจะต้องได้รับการดำเนินการในบางวิธีที่อยู่ในรูปแบบอื่นๆนอกเหนือไปจากการส่งคลื่นวิทยุออกไปในห้วงอวกาศนอกโลกอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่ดั้งเดิม

ในขณะเดียวกันข้อมูลที่ส่งกลับโดยยานสำรวจอวกาศและความก้าวหน้าครั้งสำคัญในวิธีการตรวจสอบที่ได้รับการยอมรับในทางวิทยาศาสตร์ที่จะเริ่มต้นการวิเคราะห์เกณฑ์เงื่อนไขที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้บนโลกอื่นๆและยืนยันว่ามีดาวเคราะห์ดวงอื่นๆเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีสิ่งมีชีวิตที่สามารถอาศัยอยู่ได้อีกมากมาย ถึงแม้ว่าเรื่องของมนุษย์ต่างดาวยังคงเปินปริศนา แต่แล้วเมื่อปี ค.ศ. 1977 สัญญาณว้าว! (Wow! signal) ได้ถูกตรวจพบโดยบังเอิญโดยโครงการเซติและก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงและคาดเดากันอยู่ถึงที่มาของมันจนถึงบัดนี้

ในปี ค.ศ. 2000 นักธรณีวิทยาชื่อ ปีเตอร์ วอร์ด (Peter Ward) และนักบรรพชีวินวิทยา (astrobiologist) ชื่อ โดนัลด์ บรานลี (Donald Brownlee) ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือที่มีชื่อเรื่องว่า "โลกที่เร้นลับ : ทำไมชีวิตที่มีความสลับซับซ้อนจึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาในจักรวาล" (Rare Earth: Why Complex Life is Uncommon in the Universe) [101] เนื้อหาภายในหนังสือนั้นพวกเขาได้สนทนาพูดคุยถึงสมมติฐานเกี่ยวกับโลกที่ค้นพบได้ยาก หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า โลกที่หายาก (Rare Earth) ซึ่งพวกเขาอ้างว่าชีวิตที่ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมบนดาวเคราะห์ที่คล้ายดาวเคราะห์โลกของเรานั้นเป็นของที่พบเจอได้ยากในจักรวาล ในขณะที่จุลินทรีย์ที่มีชีวิตนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดามากที่จะสามารถพบเจอได้ทั่วไป วอร์ดและ บรานลี ได้เปิดใจกว้างให้กับแนวความคิดที่ว่าวิวัฒนาการบนดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่ได้จำเป็นต้องอยู่บนคุณลักษณะพื้นฐานทางกายภาพและชีวภาพที่มีสภาพคล้ายโลกเสมอไป (เช่น ดีเอ็นเอ และ คาร์บอน)

นักฟิสิกส์ทฤษฎี สตีเฟน ฮอว์คิง ได้เตือนไว้ในปี 2010 ว่ามนุษย์ไม่ควรพยายามที่จะติดต่อกับรูปแบบของชีวิตต่างดาว เขาเตือนว่ามนุษย์ต่างดาวอาจจะมาปล้นสะดมโลกเพื่อช่วงชิงเอาทรัพยากรจากโลกไป "ถ้ามนุษย์ต่างดาวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพวกเราเข้า ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะปรากฏออกมาเหมือนกับที่ครั้งเมื่อโคลัมบัสที่ได้เดินทางมาค้นพบดินแดนใหม่ในทวีปอเมริกาซึ่งไม่ได้เป็นผลลัพธ์ที่ดีสำหรับชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเลย" เขากล่าว [102] นักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง คือ จาเร็ด ไดมอนด์ ก็ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่คล้าย ๆ กัน [103]

ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2011 ที่ทำเนียบขาว ได้ออกอาการตอบสนองอย่างเป็นทางการในข้ออุทธรณ์ทั้งสองที่ได้ขอให้ทางรัฐบาลสหรัฐฯได้มีมติที่จะรับทราบอย่างเป็นทางการว่ามนุษย์ต่างดาวเคยมาเยือนโลกและการเปิดเผยใด ๆ ที่จะพยายามระงับความมุ่งหมายของทางรัฐบาลกับการมีปฏิสัมพันธ์ของรัฐบาลกับมนุษย์ต่างดาว สอดคล้องกับการตอบสนองของ "รัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีพยานหลักฐานที่แสดงว่า ไม่มีชีวิตใด ๆ อยู่ภายนอกโลกของเรา, หรือว่ามีการปรากฏตัวของสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่ได้มีการติดต่อสัมพันธ์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิกของเผ่าพันธุ์มนุษย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น [104][105] นอกจากนี้จากผลสะท้อนจากการตอบสนองที่มีจากประชาชน คือ "ไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถืออันใดเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าหลักฐานใด ๆ จะถูกซ่อนเร้นไปจากสายตาของประชาชนไปได้"

ใกล้เคียง

สิ่งมีชีวิตนอกโลก สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ สิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น สิ่งมีชีวิตตัวแบบ สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตกินทั้งพืชและสัตว์ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิ่งมีชีวิตนอกโลก http://www.amazon.com/dp/0387987010 http://antarcticaedu.com/bio2024.htm http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/pa... http://www.bbc.com/news/science-environment-314429... http://cosmovisions.com/Rheita.htm http://www.dailygalaxy.com/my_weblog/2012/06/did-t... http://dsc.discovery.com http://dsc.discovery.com/news/2006/08/08/marslife_... http://news.discovery.com/space/top-10-places-to-f... http://erenlai.com/index.php?option=com_content&vi...