สมการของเดรก ของ สิ่งมีชีวิตนอกโลก

ดูบทความหลักที่: สมการของเดรก

ในปี 1961, มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ, นักดาราศาสตร์และนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ดร.แฟรงก์ เดรก (Dr. Frank Drake) ได้คิดค้นสมการของเดรกขึ้น สมการที่มีความขัดแย้งกันนี้เป็นผลการคูณแบบประมาณการเข้าด้วยกันของเทอมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • อัตราของการก่อตัวของดาวฤกษ์ที่มีสภาพเหมาะสม และเกิดขึ้นนานพอที่เกิดสภาพเหมาะสมที่จะพัฒนาไปสู่สิ่งมีชีวิตชั้นสูง
  • อัตราส่วนของดาวฤกษ์เหล่านั้นที่มีระบบดาวเคราะห์โคจรอยู่โดยรอบ
  • จำนวนของดาวเคราะห์ที่มีสภาพที่คล้ายโลกต่อระบบดาวเคราะห์ที่มีอยู่ทั้งหมด หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ จำนวนดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตที่น่าจะใช้อยู่อาศัยได้
  • อัตราส่วนของดาวเคราะห์ที่สามารถพัฒนาให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดขึ้นมาได้
  • อัตราส่วนของความเป็นไปได้ของดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีจนถึงขั้นสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้
  • "ช่วงอายุชีวิต" ของความเป็นไปได้ของอารยธรรมที่มีการติดต่อสื่อสารกันได้
N = R ∗ ⋅ f p ⋅ n e ⋅ f ℓ ⋅ f i ⋅ f c ⋅ L {\displaystyle N=R_{\ast }\cdot f_{p}\cdot n_{e}\cdot f_{\ell }\cdot f_{i}\cdot f_{c}\cdot L}

เมื่อ :

N = จำนวนของอารยธรรมที่มีอยู่ในกาแลคซีทางช้างเผือกที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารข้ามอวกาศระหว่างดาวนพเคราะห์ได้

และ

R* = อัตราเฉลี่ยของการก่อตัวของดาวฤกษ์ในกาแล็กซีของเราfp = สัดส่วนของดาวฤกษ์เหล่านั้นที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวารne = ค่าเฉลี่ยของจำนวนดาวเคราะห์ที่อาจจะสนับสนุนการมีอยู่ของชีวิตfl = สัดส่วนของดาวเคราะห์ตามความเป็นจริงที่สนับสนุนการมีอยู่ของชีวิตfi = สัดส่วนของดาวเคราะห์ที่มีชีวิตที่สามารถพัฒนากลายมาป็นสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดทรงภูมิปัญญา (มีอารยธรรม)fc = สัดส่วนของอารยธรรมที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสัญญาณที่ตรวจพบของการดำรงชีวิตอยู่ของพวกเขาส่งขึ้นไปสู่ยังห้วงอวกาศได้L = ความยาวนานของระยะเวลาที่นานพอที่อารยธรรมดังกล่าวจะสามารถถ่ายทอดสัญญาณที่ตรวจพบได้เข้ามาในอวกาศ

เดรกได้นำเสนอการประมาณการดังต่อไปนี้, แต่ตัวเลขทางด้านขวาของสมการคือการยอมรับกันว่าเป็นการคาดเดาและเปิดกว้างให้มีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวเลขกันได้:

10 , 000 = 5 ⋅ 0.5 ⋅ 2 ⋅ 1 ⋅ 0.2 ⋅ 1 ⋅ 10 , 000 {\displaystyle 10,000=5\cdot 0.5\cdot 2\cdot 1\cdot 0.2\cdot 1\cdot 10,000} [86]

สมการเดรกได้รับการพิสูจน์ความขัดแย้งเนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัยยังมีความไม่แน่นอนและขึ้นอยู่กับการคาดเดา, จึงยังไม่อนุญาตให้มีข้อสรุป

ใกล้เคียง

สิ่งมีชีวิตนอกโลก สิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตตัวแบบ สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น สิ่งมีชีวิตกินทั้งพืชและสัตว์ สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิ่งมีชีวิตนอกโลก http://www.amazon.com/dp/0387987010 http://antarcticaedu.com/bio2024.htm http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/pa... http://www.bbc.com/news/science-environment-314429... http://cosmovisions.com/Rheita.htm http://www.dailygalaxy.com/my_weblog/2012/06/did-t... http://dsc.discovery.com http://dsc.discovery.com/news/2006/08/08/marslife_... http://news.discovery.com/space/top-10-places-to-f... http://erenlai.com/index.php?option=com_content&vi...