สเตรโตคิวมูลัส
สเตรโตคิวมูลัส

สเตรโตคิวมูลัส

สเตรโตคิวมูลัส (อังกฤษ: stratocumulus) เป็นเมฆลักษณะทรงกลมขนาดใหญ่ มีสีขาวจนถึงสีเทา[1] ได้ชื่อมาจากภาษาละติน stratus แปลว่า เป็นชั้นและ cumulus แปลว่า เป็นกองสุมกัน[2] สเตรโตคิวมูลัสมีอักษรย่อคือ Sc และสัญลักษณ์ สเตรโตคิวมูลัสเป็นหนึ่งในเมฆระดับต่ำ ร่วมกับคิวมูโลนิมบัส คิวมูลัสและสเตรตัส โดยทั่วไปก่อตัวที่ชั้นโทรโพสเฟียร์ ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) เกิดจากการพาความร้อนเนื่องมาจากกระแสลมแปรปรวนที่ยกตัวสูงขึ้น แต่ไม่สามารถพัฒนาในแนวตั้งได้เพราะอากาศด้านบนแห้งและเสถียรกว่า[3] ลักษณะเป็นชั้นของสเตรโตคิวมูลัสเกิดจากการผันผวนของอากาศ ส่วนลักษณะเป็นกองเกิดจากการพาความร้อนที่เกิดขึ้น สเตรโตคิวมูลัสเป็นเมฆที่ช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ โดยสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ราว 2 ใน 3 ของแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบในทะเล[4] สเตรโตคิวมูลัสเป็นเมฆที่พบได้ในทุกสภาพอากาศและไม่ก่อให้เกิดฝนตก อย่างไรก็ตาม อาจก่อให้เกิดฝนละอองหรือหิมะตกปรอย ๆ[5]สเตรโตคิวมูลัสมีลักษณะคล้ายเมฆอัลโตคิวมูลัส แต่มีขนาดใหญ่กว่าและบางครั้งมีสีเข้มกว่า สเตรโตคิวมูลัสเป็นเมฆที่มักก่อให้เกิดปรากฏการณ์รังสีครีพัสคิวลาร์ ซึ่งเกิดจากแสงอาทิตย์ถูกเมฆบดบังทำให้เกิดเป็นลำแสงพุ่งผ่านช่องว่างของเมฆ[6][7] และโคโรนา หรือวงแหวนสีรุ้งที่เกิดจากแสงจันทร์ในเวลากลางคืน[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สเตรโตคิวมูลัส http://glossary.ametsoc.org/wiki/Stratocumulus https://www.collinsdictionary.com/dictionary/engli... https://cloudatlas.wmo.int/crepuscular-rays.html https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Strato... https://books.google.co.th/books?id=OKE_DAAAQBAJ https://books.google.co.th/books?id=n_RmCgAAQBAJ https://www.matichon.co.th/uncategorized/news_7190... https://www.weatheronline.co.uk/reports/wxfacts/St... https://www.metoffice.gov.uk/weather/learn-about/w...